พรบ.สุขภาพแห่งชาติ : การจัดการระบบสุขภาพ


พรบ.สุขภาพแห่งชาติ: การจัดการระบบสุขภาพ


พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 บังคับใช้เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2550  เป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย ที่จัดทำด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากสังคมกว่า 4.7 ล้านคน ใช้ระยะเวลาถึง 8 ปี

ลักษณะที่สำคัญของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

   • มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช) นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

   • กรรมการมาจากการสรรหา จากตัวแทนจากทุกภาคส่วน

   • มีสำนักงานเลขาธิการ (สช)

   • ให้มีกลไกการจัดสมัชชาสุขภาพ ทุกระดับ

   • มติจากสมัชชาสุขภาพ เสนอเข้าสู่ คสช. สู่ ครม.

   • มีกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ จากนโยบายสาธารณะ

   • มีกลไกการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ปรับปรุงทุกห้าปี

   • เพิ่มสิทธิและหน้าที่ของประชาชนด้านสุขภาพ

   • ข้อมูลสุขภาพเป็นความลับ

   • บุคลากรสุขภาพต้องแจ้งข้อมูลให้ทราบ

   • สิทธิปฏิเสธการรักษา

   • สิทธิปฏิเสธไม่เข้าร่วมการทดลอง/วิจัย

พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 เป็นกฎหมายฉบับแรกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ในส่วนของการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ โครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต้องผ่านการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Environmental Health Impact Assessment หรือ EIA โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสิทธิ ที่ มาตรา 11 กำหนดให้บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมิน มีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของตนหรือของชุมชน

              พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติต้องการให้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในสังคม ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันพิจารณาถึงผลกระทบทางสุขภาพ ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วกับประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เนื่องมาจากการดำเนินนโยบายการพัฒนา หรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับการสร้างเสริมและคุ้มครองสุขภาพของทุกคนในสังคม การพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในพรบ.สุขภาพ พ.ศ.2550 จะมีสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสมัชชาสุขภาพในระดับต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน กลไกสำคัญภายใต้ พรบ.สุขภาพฯ คือ ‘สมัชชาสุขภาพ’ สมัชชาสุขภาพเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการมีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการ มติสมัชชาสุขภาพถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะถูกส่งต่อและผลักดันสู่การปฏิบัติผ่านช่องทาง กลไกของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งให้ภาคประชาชนร่วมดำเนินการ 

หมายเลขบันทึก: 514528เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท