ลำดับกษัตริย์ครองนครเชียงใหม่ตามคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์



ลำดับกษัตริย์ครองนครเชียงใหม่ตามคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์

๑. พระเจ้ามังราย

๒.พระเจ้าศรีคราม

๓.พระเจ้าแสนภู

๔.พ่อขุนน้ำท่วม

๕.พระเจ้าคำฟู

๖.พระเจ้าผายู

๗.พระเจ้ากือนา

๘.พระเจ้าแสนเมืองมา

๙.พระเจ้าสามฝั่งแกน

๑o.พระเจ้าพิลก

๑๑.พระยอดเชียงราย

๑๒.พระเมืองแก้ว

๑๓.พระเกษเกล้า

กษัตริย์ราชวงศ์มังรายครองนครเชียงใหม่เทียบระหว่างชินกาลมาลีปกรณ์กับพงศาวดารโยนก

                         (ช.คือ ชินกาลมาลีปกรณ์   ย.คือ พงศาวดารโยนก)

๑.พระเจ้ามังราย    มาจากเชียงรายชนะลำพูนสร้างเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘o๒-๑๘๖o

๒.พระเจ้าคราม  ครองได้๔เดือนกับไปโยนก  ครองได้๔เดือนกลับไปเชียงราย

๓.พระเจ้าแสนภู(ครั้งที่๑) พ.ศ.๑๘๖๑-๑๘๖๒

๔.เจ้าขุนเครือ(ในชินกาลมาลีปกรณ์ไม่กล่าวว่าครองเชียงใหม่)พ.ศ.พ.ศ.๑๘๖๒-๑๘๖๓

๕.พ่อท้าวน้ำท่วม   ไม่ทราบอายุ พ.ศ.๑๘๖๕-๑๘๖๗

๖.พระเจ้าแสนภู(ครั้งที่๒)พ.ศ.๑๘๖๗-๑๘๗o

๗.พระเจ้าคำฟูพ.ศ.๑๘๗๑-๑๘๘๑

๘.พระเจ้าผายูพ.ศ.๑๘๘๘-๑๙๑o

๙.พระเจ้ากือนา (ตื้อนา)พ.ศ.๑๙๑o-พ.ศ.๑๙๓๑

๑o.พระเจ้าแสนเมืองมา พ.ศ.๑๙๓๑-๑๙๔๓

๑๑.พระเจ้าสามฝั่งแกน  พ.ศ.๑๙๔๔-๑๙๘๕

๑๒.พระเจ้าพิลกพ.ศ.๑๙๘๕-๒o๓o

๑๓.พระเจ้ายอดมังราย พ.ศ.๒o๓o-๒o๓๘

๑๔.พระเมืองแก้วหริอ พระเจ้าติลกปนัดดาธิราช พ.ศ. ๒o๓๘-๒o๖๘

๑๕.พระเกษเกล้าหรือพระยาเกศเชษฐราชครั้งที่๑พ.ศ. ๒o๖๘-๒o๘๑

(จากหนังสือวรรณกรรมล้านนา โดย ศาสตราจารย์ดร.อุดม  รุ่งเรื่องศรี กรุงเทพ  สถาบันวิจัย(สกว.)๒๕๔๖  หน้า ๓)

ที่มาของหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงกาลของพระพุทธองค์โดยเรียบเรียงอย่างไว้เป็นระเบียบของพระผู้มีพระนามว่าพระศากยโคดมหรือพระพุทธที่เสด็จอุบัติในโลกพ.ศ.๘oตั้งใจเป็นพระพุทธเปล่งวาจา  การกระทำทุกอย่างเพื่อสะสมบารมีจนพระชาติสุดท้ายที่เสด็จอุบัติเกิดเป็นมนุษย์ตระกูลกษัตริย์ศากยวงศ์โคดมโคตร  ตรัสรู้สัพพัญญุตญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธ ในเรื่องการบำเพ็ญพุทธกิจตลอดจนกระทั่งเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ยังมีผู้นำพระธรรมวินัยมารวบรวมประมวลเป็นพระไตรปิกฎโดยบรรยายความตามลำดับที่เรียกว่าสังคายนา ชินกาลมาลีจึงแปลว่าระเบียบกาลเวลาของพระพุทธซึ่งเป็นเรื่องราวความเป็นไปของพระพุทธและพระธรรมวินัยหรือเรื่องของพระพุทธศาสนาแล้ว ยังทำให้ทราบประวัติเรื่องราวบุคคล สถานที่และเหตุการณ์บ้านเมืองในสมัยนั้นด้วยที่ว่าด้วยเรื่องพระธรรมวินัยและพระบรมธาตุว่าได้ผ่าน  บุคคล  สถานที่  เหตุการณ์ อย่างไรคัมภีร์พระธรรมเล่มนี้จึงเป็นประวัติศาสตร์บ้านเมืองที่สำคัญของล้านนาไทย ว่าด้วย  เมือง  เชียงแสน   เชียงราย  ลำพูน  เชียงใหม่   เป็นต้น

(จากหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์   ร.ต.ท. แสง  มนวิทูร  เปรียญ   แปล  กรมศิลปากร ๒๕o๑ หน้า๑๔)

หมายเลขบันทึก: 514512เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท