การใช้สื่อมวลชลด้านสุขภาพ(Health mass media)


                              การใช้สื่อมวลชลด้านสุขภาพ(Health mass media)

                                                                                                            บรรยาย : ผศ.ดร.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

                                                                   ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

                  สภาพสังคมยุคปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็นสังคมยุคสื่อสาร ซึ่งความเจริญก้าวหน้าหรือความอยู่รอดของสังคม ขึ้นอยู่กับคนในสังคมได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องทันเวลาและปรับตัวได้อย่างเหมาะสม สื่อมวลชน(mass media) จึงมีบทบาทสำคัญในการเสนอข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ตลอดจนชี้นำความคิดของคนในสังคมด้วยสื่อมวลชนแต่ละชนิดมีลักษณะ และคุณสมบัติที่แตกต่างเช่น ให้ความบันเทิง ให้การศึกษา การประชาสัมพันธ์และโฆษณา(Public Relation) โฆษณาสินค้า(Advertising) โฆษณาเผยแพร่(Publicity) เช่น การโฆษณาเผยแพร่ผลงานของรัฐบาล แจ้งความก้าวหน้าของงานที่กำลังทำอยู่ รวมไปถึงการเผยแพร่ความรู้ รวมถึงการโฆษณาชวนเชื่อ(Propaganda) ได้แก่ การเสนอข่าวสารในเชิง ชักชวน ปลุกระดม ชี้นำความคิด ซึ่งความคิดเห็นของสื่อมวลชน
อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์กรสื่อมวลชนกับรัฐบาล กลุ่มอำนาจ หรือกลุ่มผลประโยชน์ได้

                  แต่บทบาทสำคัญของสื่อมวลชนด้านสุขภาพ คือการเสนอข่าว การเสนอความคิดเห็น ที่มีผลกระทบต่อบุคคลและสังคม อย่างเช่น การสะท้อนปัญหาให้คนในสังคมตระหนักในรายการทีวี(เปิดปม) กรณีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยจำนวนมากและขึ้นทะเบียนถูกกฎหมาย 27,000 รายการ ซึ่งอาจมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก จนเห็นมิติความเชื่อมโยงของปัญหาพร้อมตั้งขอสังเกตว่า นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกับผู้ใช้และคนใกล้ชิดโดยตรงแล้ว ผู้บริโภคอีกหลายล้านคนที่บริโภคอาหารจากแหล่งดังกล่าว ต้องได้รับผลกระทบดังกล่าวจากสารเคมีตกค้างในอาหารได้อย่างชัดเจน ‘รายการโทรทัศน์’ ถือเป็นสื่อสาธารณะที่มีทั้งภาพเสียง และมีอิทธิพลเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกเพศ ทุกวัย การใช้สื่อมวลชนซึ่งมีฐานะเป็นองค์กรเผยแพร่ข่าวสารอยู่แล้ว เข้ามามีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นแทนประชาชนในเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อเสนอต่อสาธารณชนและรัฐบาล ในรูปของบทความ สารคดี บทวิเคราะห์วิจารณ์ มีจุดมุ่งหมายในเชิงสร้างสรรค์ โน้มน้าวจิตใจ ชี้นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ช่วยให้คนที่ไม่เคยรู้ หรือรู้อยู่แล้ว รู้สึกกระตุกความคิดและกลับมาคิดทบทวน แล้วร่วมมือการกันแก้ปัญหาต่อไป

                  อย่างไรก็ตาม การใช้สื่อมวลชน ต้องคำนึงกลยุทธ์ ช่องทาง งบประมาณ และกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งการใช้รายการทีวี อาจมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ดังนั้นหากต้องการให้สื่อส่งสารถึงมวลชนและส่งผลกระทบจำนวนมากแล้ว ควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งงบประมาณและนโยบายด้วย และกรณีการใช้สารเคมีกำจัดศรัตรูพืช เราอาจเลือกกลยุทธ์ใช้สื่อมวลชนอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก การใช้VCDเปิดในโรงเรียน ซึ่งราคาถูกและถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในจำนวนมหาศาลเช่นกัน หรือการใช้สื่อมวลชนเพื่อระดมเครือข่ายความร่วมมือด้านอื่นๆสนับสนุน เช่น ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน จนเกิดกระบวนการการศึกษานอกโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เป็นต้น

                                                                                                                                                  อลิสา/ สรุป

หมายเลขบันทึก: 514117เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2012 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ธันวาคม 2012 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท