การบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพ : ยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ


                การบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพ : ยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

                                                        ผู้บรรยาย : รศ.ดร.สมเดช พินิจสุนทร                                                

                                                        ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


                    ในยุคโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในทุกสาขาอาชีพ การติดต่อสื่อสารในทุก ๆ ด้านสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลาไม่จำกัดด้วยระยะทาง ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างปราศจากขอบเขต ดังนั้น ข้อมูลข่าวสารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ข้อมูลที่ดีต้องมีการจัดการข้อมูลได้รวดเร็ว ง่าย สะดวก โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

                    ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (Health Information System)มีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางนโยบายและยุทธศาสตร์ทางสุขภาพที่อาศัยหลักฐานแสดงปัญหาและแนวโน้มปัญหาในอนาคต รวมทั้งยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ การจัดสรรทรัพยากรทางสุขภาพ และการจัดการกับปัญหาสุขภาพเฉพาะต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบและวิธีการในการจัดการกับปัญหาและเพิ่มคุณภาพบริการให้ดีขึ้นได้ โดยมากได้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูล(data) ทั้งจากแหล่งปฐมภูมิและแหล่งทุติยภูมิ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะต้องนามาจัดระบบสารสนเทศ (Management Information System: MIS) ให้เป็นหมวดหมู่ที่ง่ายและสะดวกในการนำไปใช้ ตามลักษณะที่ดีของข้อมูลสารสนเทศ คือ ต้องมีความเที่ยงตรง ทันเวลาการใช้งาน และตรงตามความต้องการประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่

                    กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาในด้านของความครอบคลุมในการรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ มาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยปรับระบบให้ทันกับยุคโลกาภิวัฒน์ ข้อมูลสุขภาพที่รวบรวม ได้แก่ ข้อมูลสถานะสุขภาพ(Health status) ข้อมูลบริการสุขภาพ(Health services) ข้อมูลทรัพยากรสุขภาพ(Health resources) ข้อมูลตามนโยบายยุทธศาสตร์(Health strategy support) และข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการจัดเก็บในหลายระบบและหลายวิธี ปัจจุบันได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการจัดทำรายงาน โดยพัฒนาระบบการส่งรายงานเป็นระบบฐานข้อมูลจากสถานบริการเป็นรายบุคคล ทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่จำเป็นในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังประสบปัญหาบางประการ ที่ต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ได้แก่  การขาดกลไกและทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง ข้อมูลข่าวสารขาดคุณภาพ ไม่ครอบคลุม และซ้ำซ้อน การขาดระบบจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และขาดกลไกการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เป็นระบบ

                     กรบริหารจัดการระบบข้อมูลสุขภาพ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์พัฒนากลไกสนับสนุน ยุทธศาสตร์บูรณาการและพัฒนาระบบข้อมูล ยุทธศาสตร์กำหนดมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพข้อมูล ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบจัดการและเชื่อมโยงข้อมูล และยุทธศาสตร์พัฒนาระบบสื่อสารและกลไกการใช้ประโยชน์ โดยทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน และส่งผลต่อเป้าหมาย ก็คือ การมีข้อมูลที่มีคุณภาพ ตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์ โดยมีระบบจัดการข้อมูลแบบบูรณาการและมีประสิทธิภาพ

                                                                                                                                                    อลิสา/สรุป

อ่านเพิ่มเติม

- คณะทางานพัฒนาการจัดการความรู้ฯ หมวด 4 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข,
2553. “องค์ความรู้ เรื่อง การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสุขภาพ.

- http://www.tmi.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=152&Itemid=74

หมายเลขบันทึก: 514002เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2012 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ธันวาคม 2012 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท