EMS and referral management


                                               EMS and referral management

                                                                   บรรยาย : รศ.ดร.สมเดช พินิจสสุนทร                                       

                                                                   ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


               ในอดีตที่ผ่านมา การแพทย์ฉุกเฉินยังขาดระบบบริหารจัดการด้านบุคลากร อุปกรณ์ และเครื่องมือช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินต้องสูญเสียชีวิต อวัยวะ หรือเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะ รวมทั้งทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยรุนแรงขึ้นโดยไม่สมควร เพื่อลดและป้องกันความสูญเสียดังกล่าวประเทศไทยได้มีการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินโดยการประกาศใช้ พรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน เมื่อ 6 มี.ค.51 และมีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศ และรับผิดชอบการบริหารจัดการ ประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการ ทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพมาตรฐาน และได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น

                  การแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medicine) มีความหมาย ที่กว้างถึงการปฏิบัติการฉุกเฉิน การศึกษา การฝึกอบรม การค้นคว้า การวิจัย และการป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นฉุกเฉิน ที่เกี่ยวกับการประเมิน การจัดการ การบำบัดรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน นับตั้งแต่การรับรู้ถึงภาวการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน จนถึงการดาเนินการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการบาบัดรักษาให้พ้นภาวะฉุกเฉิน จำแนกเป็นการปฏิบัติการในชุมชน และการปฏิบัติการต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งนอกโรงพยาบาลและในโรงพยาบาล โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้ง 6 ขั้นตอน ได้แก่ การเจ็บป่วยฉุกเฉินและการพบเหตุ(Detection) การแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ(Reporting) การออกปฏิบัติการของชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน(Response) การรักษาพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ(On Scene care) การลำเลียงขนย้ายและให้การดูแลระหว่างนำส่ง(Care in transit) และการนำส่งสถานพยาบาล(Transfer to the definitive care) โดยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินสามรถแจ้งเหตุ 1669 จะไปติดที่ศูนย์สั่งการที่จังหวัดนั้น เจ้าหน้าที่ศูนย์สั่งการจะสอบถามผู้แจ้งถึงลักษณะเหตุที่เกิดความรุนแรงและสถานที่เกิดเหตุ เพื่อจะได้มีคำสั่งแจ้งไปยังชุดปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถเพียงพอ และใกล้จุดเกิดเหตุ เช่น รถพยาบาลระดับสูงสุด (Advance life support - ALS) มักจะเป็นรถของโรงพยาบาล รถพยาบาลระดับกลาง (Basic life support - BLS) หรือชุดปฏิบัติการระดับต่ำสุด (First responder - FR) ชุดหลังนี้มักจะเป็นอาสาสมัคร หรือมูลนิธิเพื่อการกุศลต่างๆ ซึ่งผ่านการอบรมแล้ว การช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุและกระบวนการนำส่งผู้ป่วยโดยไม่ถูกวิธีอาจเพิ่มความพิการหรือสูญเสียได้

                                                                                                                                                 อลิสา/สรุป

คำสำคัญ (Tags): #ems#referal system
หมายเลขบันทึก: 513999เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2012 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ธันวาคม 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท