การวางแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)


ผู้บรรยาย : ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์  ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  แผนกลยุทธ์เป็นแผนที่รวมทุกอย่างซึ่งสามารถรวมทิศทางการดำเนินในอนาคตได้ สามารถกำหนดการใช้ทรัพยากรขององค์การได้บรรลุตามภารกิจวัตถุประสงค์  และ จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้าน คือจะต้องคำนึงถึงทั้งสภาพการณ์ที่ต้องการให้เกิด ศักยภาพหรือขีดความสามารถขององค์กร และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม หากกล่าวอย่างสั้นๆ แผนกลยุทธ์คือ แผนที่ทำให้องค์การอยู่รอดในระยะยาว

กระบวนการการวางแผนยุทธศาสตร์  (Strategic Planning Processes) มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1) กำหนดวิสัยทัศน์  (Vision) 

  2) กำหนดภารกิจหลักหรือพันธกิจ  (Mission)

  3) กำหนดเป้าประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา  (Goal) 

  4) กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์หรือยุทธศาสตร์   (Strategy) 

  5) กำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางการพัฒนา


วิสัยทัศน์ (Vision)

  วิสัยทัศน์ (Vision) คือ  การมองภาพอนาคตของผู้นำและสมาชิกในองค์กร  และกำหนดจุดหมายปลายทางที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน แล้วมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการจุดหมายปลายทางที่ต้องการ จุดหมายปลายทางดังกล่าวต้องชัดเจน ท้าทาย มีพลังและมีความเป็นไปได้

  ความสำคัญของวิสัยทัศน์

  1. ช่วยกำหนดทิศทางที่จะดำเนินชีวิตหรือกิจกรรมองค์กร โดยมีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน

  2. ช่วยให้สมาชิกทุกคนรู้ว่า แต่ละคนมีความสำคัญต่อการมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทาง และรู้ว่าจะทำอะไร (What) ทำไมต้องทำ (Why) ทำอย่างไร (How) และทำเมื่อใด (When)

  3. ช่วยกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนมีความรู้สึกน่าสนใจ มีความผูกพัน มุ่งมั่นปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ท้าท้าย เกิดความหมายในชีวิตการทำงาน  มีการทำงานและมีชีวิตอยู่อย่างมีเป้าหมายด้วยความภูมิใจ และทุ่มเทเพื่อคุณภาพของผลงานที่ปฏิบัติ

  4. ช่วยกำหนดมาตรฐานของชีวิต องค์กร และสังคมที่แสดงถึงการมีชีวิตที่มีคุณภาพ องค์กรที่มีคุณภาพ และสังคมที่เจริญก้าวหน้ามีความเป็นเลิศในทุกด้าน 

วิสัยทัศน์ที่ดี มีลักษณะ ดังนี้

  1. เป็นข้อความที่เข้าใจง่าย แสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายและทิศทาง 

  2. มีความเป็นไปได้ในการบรรลุถึง ภายในระยะเวลาที่กำหนด   

  3. สร้างแรงบันดาลใจ ความกระตือรือล้น

  4. สอดคล้องกับขนมธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม

  5.วัดผลสำเร็จได้

  6. เป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง

  พันธกิจ หมายถึง พันธกิจเป็นกรอบในการดำเนินงานตามภารกิจขององค์กร และภารกิจ เพื่อนำไปสู่การพัฒนา         

หมายเลขบันทึก: 513861เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2012 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท