ระบบการเงินการคลังสุขภาพ


                            ระบบการเงินการคลังสุขภาพ (Health Care Financing)

                                                                                                             บรรยาย : ผศ.ดร.สุชาดา ภัยหลีกลี้

                                                                  ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


             ระบบการเงินการคลังสุขภาพ เป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งในระบบบริการสุขภาพ มีเป้าประสงค์หลักเพื่อให้เกิด ความเป็นธรรม”กล่าวคือ การแบกรับภาระค่าใช้จ่ายควรเป็นไปตามความสามารถในการจ่ายของประชาชน เพื่อไม่ให้มีครัวเรือนใดต้องล้มละลายจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และอำนวยการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นธรรม

            การมีหลักประกันสุขภาพของประชากรไทยในปี พ.ศ. 2544 ทำให้ประชาชนไทยทุกคนถูกครอบคลุมด้วยหลักประกัน ประเภทใดประเภทหนึ่งจาก 3 ระบบหลักคือ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล ข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติพบว่า ความเป็นธรรมทางการคลังสุขภาพของระบบสุขภาพไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เมื่อวัดโดยร้อยละของครัวเรือนในกลุ่มเศรษฐานะต่างๆที่มีรายจ่ายด้านสุขภาพมากกว่าร้อยละ 10 ของรายได้ขณะเดียวกันความยากจนจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาลของคนไทยได้ลดลงหลังมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสัดส่วนของครัวเรือนที่มีรายได้ตํ่ากว่าเส้นความยากจน(poverty line) ซึ่งเป็นผลมาจากการควักกระเป๋าจ่ายเงินเองในการรักษาพยาบาลลดลงจากร้อยละ 2.1 ในปี พ.ศ. 2543 ก่อนมีระบบหลักประกันสุขภาพ มาเหลือเพียงร้อยละ 0.5 ในปีพ.ศ.2549

            อย่างไรก็ตาม ระบบการคลังสุขภาพอาจมีปัญหาเนื่องจาก รูปแบบการเจ็บป่วยของประชาชนเปลี่ยนไป เป็นโรคเรื้อรัง และอุบัติเหตุ มีตัวอย่างผลงานวิจัยที่สะท้อนให้เห็นความสูญเสียภาครัฐจากค่ารักษาพยาบาล และต้นทุนทางอ้อมที่เกิดจากความเจ็บป่วยที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ การสูญเสียผลิตภาพ การฟ้องร้องคดี และอุบัติเหตุ รวมกันเป็นมูลค่ากว่า 2,300 บาท/ประชากร ซึ่งใกล้เคียงงบเหมาจ่ายรายหัวที่รัฐบาลอุดหนุนให้กับหน่วยบริการทุกโรครวมกัน ความสูยเสียดังกล่าวอาจมีผลกระทบกับการคลังสุขภาพในอนาคต ซึ่งตัวอย่างประเทศไทยมีข้อดีในการบริหารการเงินคือ มีการจัดสรรงบเพื่อดูแลประชาชนเพื่อป้องกันโรคอย่างชัดเจน และมีการจัดสรรงบเพื่อดูแลสุขภาพกว่าร้อย 6 ของ GDP ซึ่งสูงกว่าประเทศในแถบใกล้เคียง และประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศ แต่ในอนาคตอาจประสบปัญหาได้

            ดังนั้น ประสิทธิภาพในการจัดระบบการคลังที่พึงประสงค์ ควรมองมองในสามเรื่องคือ ทางเลือกในเรื่องระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ ทางเลือกในการจัดระบบการคลัง และทางเลือกระบบอภิบาล(governance)ของการคลังสุขภาพรูปแบบต่างๆ เช่น รูปแบบและอัตราการจ่ายให้สถานบริการ การจ่ายร่วมสมทบของผู้รับบริการ ทางเลือกในการระดมเงินสมทบเพิ่มเติม เพื่อลดการใช้บริการที่เกินความจำเป็น

                                                                                                                                            อลิสา/ สรุป

หมายเลขบันทึก: 513859เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2012 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ธันวาคม 2012 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท