ปรัชญาการทำงานที่ได้จากผึ้ง (1)


ปรัชญาที่ได้จาก"ผึ้ง" สามารถสกัดออกมาเป็นขุมความรู้ Knowledge Assets ได้มากมาย ถ้าเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง

       หลายวันก่อน (7 กันยายน 2548) ที่ถูกต้องเป็นเดือนก่อน ใน Blog "ชมรมคนรักผึ้ง" ซึ่งเป็น คล้าย diary สำหรับให้นิสิตปริญญาตรีที่เรียนวิชาการเลี้ยงผึ้ง ในมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีสมุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับบันทึกข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้มาจากการเรียน การสังเกต การอ่านหรืออะไรก็ได้ที่เกี่ยวเนื่องกับผึ้ง และมีบันทึกของครูหยุย ได้รัชข้อคิดเห็นจาก คุณปฐมพงศ์ ศุภเลิศ ซึ่งเขียนว่าดังนี้ครับ   ปรัชญาที่ได้จาก "ผึ้ง" สามารถสกัดออกมาเป็นขุมความรู้  Knowledge Assets ได้มากมาย ถ้าเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น หลัก "ความสมานฉันท์"  ผึ้งจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือกัน แบ่งงานกันทำ มีผู้นำ (นางพญา) ผู้ตาม/ลูกน้อง (ผึ้งงาน) และไม่เคยเห็นผึ้งทะเลาะเบาะแว้งกันให้เห็น

       ท่านผู้อ่านมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งต่อไปจึงจะพยายามเขียนบันทึกในเรื่องขุมความรู้ หรือ Knowledge assets  รวมทั้งข้อคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเลี้ยงผึ้งมาให้ได้ทราบกันต่อไป กรุณาติชมมากๆ นะครับจะได้เป็นกำลังใจต่อคนเขียนครับ แล้วสำหรับท่านที่บังเอิญผ่านเข้ามาอ่าน อย่าอ่านผ่านไปเฉยๆ ครับ ช่วยเขียนแสดงความคิดเห็นสัก 2-3 คำหรือ 1 ประโยคก็ยังดีเพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนครับ (ไม่ใช่ผมคนเดียวครับ ทุกคนที่ช่วยกันเขียนบล็อกครับ)

         ลองเอาหัวข้อ "ปรัชญาการทำงานที่ได้จากผึ้ง" มาว่าสักข้อหนึ่ง ในเรื่อง "การแบ่งหน้าที่กันทำงานสำหรับการทำงานให้เป็นทีม" นะครับ คือ ในเรื่องราวเกี่ยวกับชีววิทยาของผึ้ง ผึ้งนั้นแบ่งเป็นวรรณะได้ 3 วรรณะ คือ ผึ้งนางพญา (Queen), ผึ้งงาน (worker) และ ผึ้งตัวผู้ (Drone) ดังรูปข้างล่าง จากซ้ายไปขวาตามลำดับ คือ ผึ้งงาน ผึ้งตัวผู้ และผึ้งนางพญา

        ผึ้งนางพญา มีหน้าที่ บินไปผสมพันธุ์กับผึ้งตัวผู้, ควบคุมสังคมภายในรัง และการวางไข่

        ผึ้งตัวผู้ มีหน้าที่ กินอาหาร และคอยบินไปรอผึ้งนางพญาเพื่อผสมพันธุ์

        ผึ้งงาน มีหน้าที่ ทำงานทุกอย่างภายในรัง

        เรามาว่ากันเฉพาะเรื่องผึ้งงานนะครับ ผึ้งงานเขามีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน ซึ่งเรียกว่า "division of labour" โดยมีการกำหนดหรือมีการโปรแกรมไว้ในยีนตั้งแต่เกิด ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกลไกทางสรีรวิทยาภายในร่างกายของผึ้ง และจากการศึกษาของมนุษย์พบว่า การทำงานของผึ้งเป็นไปตามอายุขัยของผึ้งและความต้องการของรังดังนี้

 อายุเมื่อออกจาก

หลอดรวง (วัน)

 หน้าที่การทำงานของผึ้งงาน

(ผึ้งพันธุ์ : Apis mellifera )

 0-1

เดินไปเดินมาไม่ทำอะไร 

 1-3

ทำความสะอาดหลอดรวงตัวอ่อน

3-5

เลี้ยงน้องตัวหนอนอายุมากกว่า 3 วัน

5-15

เลี้ยงน้องตัวหนอนอายุ 1-3 วัน, ป้อนอาหารผึ้งนางพญา

12-18

สร้าง,ซ่อมแซมรวงรัง,ปิดหลอดรวงตัวอ่อน

12-18

ฝึกบิน

15-18

ผลัดกันป้องกันรังหรือเป็น Guard อยู่หน้ารัง

มากกว่า 18

ผึ้งหาอาหาร (น้ำหวาน, เกสร)

1-30

ทำหน้าที่เป็นผึ้งประจำรัง (House bee)

18-ตาย

ทำหน้าที่เป็นผึ้งสนาม (Field bee)

  60 วัน (ตาย)

โดยปกติผึ้งงานมีอายุยืนเฉลี่ย 60 วัน

      ตามตารางข้างต้น ผึ้งจะถูกกำหนดให้ทำงานตามตารางเป็นโปรแกรมมาตั้งแต่เกิดเลย ทุกตัวที่เป็นผึ้งงานต้องทำงาน เขาจะไม่เกี่ยงกัน ช่วยเหลือการทำงานกันเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างผึ้งตัวหนึ่งมีน้ำหวานหกรดใส่ ผึ้งอีกตัวก็จะมาช่วยดูดน้ำหวานออกทำความสะอาดให้

      ผึ้งสนามออกไปหาอาหาร พอกลับมามีไรดอกไม้ติดมาเต็มตัว ผึ้งในรังก็จะช่วยกันทำความสะอาดให้ (เท่าที่ทำได้)

       ผึ้งสนามออกไปหาน้ำหวาน (nectar) จากดอกไม้เก็บมาในกระเพาะเก็บน้ำหวาน พอมาถึงรังก็จะสำรอกออกมาส่งให้ผึ้งประจำบ้านนำไปเก็บไว้ในหลอดรวง (เซลล์) เป็นต้น

       ผึ้งงานทุกตัวต้องทำงาน หากทำงานไม่ได้ (พิการ) จะถูกนำไปทิ้งนอกรัง (ห้ามเอาเปรียบกัน) ผึ้งทุกตัวทำงานโดยไม่มีค่าแรง สิ่งที่ได้รับคือ กลิ่นตัวจากผึ้งนางพญา การได้อยู่และถูกยอมรับในสังคมผึ้ง และผึ้งคงมีความสุขอยู่กับการทำงานและการได้ช่วยเหลือผึ้งตัวอื่นครับ เมื่อเป็นอย่างนี้ ผึ้งไม่รับค่าแรง ดังนั้นคนที่เลี้ยงผึ้ง จึงถูกผึ้งเลี้ยงไปโดยปริยาย (เพราะผึ้งใช้เงินไม่เป็น)...ฮา !..

       ในเรื่องผู้นำ/ผู้ตาม หรือ เรื่องของผึ้งนางพญาและผึ้งงานเอาไว้เล่าต่อวันอื่นครับ......ดูกระแสความนิยมก่อนครับ.....

 

หมายเลขบันทึก: 5138เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2005 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ต้องการขายเหมาผึ้งมี 7 ลังแน่น ลังเปล่า8ลัง กระป๋องควัน

ขาตั้ง ค้อม ขายเหมา 5,000.บาท อยู่เชียงใหม่ครับ

สนใจโทร ปิยะ 09-1917102\ 4-0471131

การนำเสนอแนวปรัชญาน่าสนใจมากอ่านแล้วไม่เครียดแถมด้วยรอยยิ้มเล็กๆ ขอชมค่ะ

เห็นด้วยกับคำว่าผึ้งเป็นสัตว์สังคมที่มีความขยันและคอยช่วยเหลือกันค่ะ

คนเราควรมีความสามัคคีเหมือนผึ้งนะคะ

  • ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นใหม่ๆ ที่เข้ามาครับ

อือ ได้ยินมานานว่า ขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง เพิ่งรู้ว่ามันมีอะไรมากกว่าความขยันของผึ้ง มันยังคงมีเรื่องของหน้าที่ และความสามัคคีที่เราน่าจะศึกษาจากมันได้อีกนะคะ

 

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท