lhin
ณัชชารีย์ ไกรวัฒนภิรมย์

การจัดการความเครียดในวัยทำงาน


จากการอ่านงานวิจัยชิ้นหนึ่งในเรื่องของการจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน ความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานโดยได้ใช้หลักกการของ CBT หรือที่เรียกชื่อเต็มว่า  cognitive behavior therapy โดยหลักการนี้ได้ถูกนำมาใช้โดยมีโปรแกรมดังนี้ 

•Introduction to cognitive behavior therapy

•Psycho-education on stress

•Identification of dysfunctional thinking

•Modification of dysfunctional thinking

•Communication and stress

•Communication skills training

•Implementation of strategies at work

•Review of techniques

ซึ่งผลของโปรแกรมนั้นสามารถช่วยลดภาวะความเครียดจากการทำงานได้อย่างมีนัยสำคัญ มีค่าของการเพิ่มขึ้นในความสามารถของการจัดการภาวะความเครียดจากการทำงานได้ จากงานวิจัยสรุปความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้คือ หากเราให้ความรู้ที่ถูกต้องและรวดเร็วจะสามารถช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าบุคคลที่มีภาวะความตึงเครียดเรื้อรัง เหตุผลง่ายๆที่สาเหตุของการรับรู้ตนเองได้ก่อน จึงได้เปรียบ เนื่องจากว่ามนุษย์เราดำเนินชีวิตอย่างเป็นระบบ มีระเบียบและกฎเกณฑ์เป็นของตนเอง มีแบบแผนการดำเนินชีวิต ในบางคนก็แทบจะเป็น routine กันเลยทีเดียว ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตคือการปรับตัวต่อสถาณการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น และสิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือความสามารถในการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น หากว่าคุณรู้ว่าคุณกำลังมีความเครียด รับรู้ตนเองได้ดี สามารถหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาได้ คุณก็จะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข 

ใครๆก็ว่ากันว่า หากคุณมี social support ที่มากเท่าไรคุณก็ยิ่งเครียดน้อยเท่านั้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่า การที่คุณนำ social support มาใช้นั้น คุณใช้ได้อย่างเหมาะสมแล้วหรือยัง โดยปกติแล้วหลักการทั่วๆไปในการแก้ภาวะความเครียด มีอยู่ 2 รูปแบบใหญ่ๆ เรียกกันง่ายๆคือ แบบแรก การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้การเบี่ยงเบนทางอารมณ์ เป็นการแก้ภาวะความเครียดเฉพาะหน้าจริงๆ เช่น คุณจะต้องไปปาร์ตี้กับเพื่อน เพราะคุณเครียดจากการทำงาน คุณจะต้องไปเดินห้างสรรพสินค้า เนื่องจากคุณต้องการผ่อนคลาย วิธีเหล่านี้ช่วยคุณได้ ถือเป็นวิธีการจัดการความเครียดเหมือนกัน แต่.....มันอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด  ในวิธีแบบที่ 2 คือ คุณจะต้องจัดการกับปัญหาที่มันเกิดขึ้นจริงๆ เช่น เมื่อคุณรู้ว่าคุณกำลังจะสอบ...คุณก็ควร..."จัดตารางการอ่าหนังสือ"  เมื่อคุณรู้ว่างานคุณเยอะมากทำไม่ทัน....คุณก็ควร.... " จัดตารางการทำงาน"  เมื่อคุณรู้ว่าคุณมีความเครียดเกิดขึ้น....คุณก็ควร ....."จัดการความเครียด" พูดแบบนี้ใครๆก็ว่าง่ายเหลือเกิน แต่มันยากนักที่จะทำ เนื่องจากมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม เราอยู่ได้อย่างการอาศัยปัจจัยสิ่งต่างๆรอบตัวมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สภาพอากาศ ที่อยู่อาศัย ญาติพี่น้อง เพื่อนพ้อง เศรษฐกิจและสังคมในที่ทำงาน ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับเราทั้งสิ้น อีกทั้ง "ปัจจัยภายใน เช่น นิสัย ความสนใจ" ซึ่งเป็นเรื่องที่ปรับกันยากมากหากคุณไม่ได้ปรับทัศนคติของตนเอง หรือหากคุณไม่มีแรงจูงใจในการดำเนินชีวิต การเลี้ยงดูจากครอบครัวก็เป็นพื้นฐานหลักเช่นกัน แล้วคุณจะทำอย่างไรให้คุณไม่เครียด เพราะบางทีแค่อากาศร้อน เรายังเครียดกันเลย......

 อย่างแรก คุณต้องรู้จักหลักการหนึ่งที่ชื่อว่า cognitive behavior therapy หรือที่เค้าเรียกกันว่า เปลี่ยนความคิดก็เปลี่ยนพฤติกรรม แต่หากจะเปลี่ยนความคิดได้นั้นสิ่งที่สำคัญมากคือ "แรงจูงใจ หรือ Motivation" ในการดำเนินชีวิต หากคุณคิดว่าคุณเครียดเรื่องานอยู่ลองดูว่าเป็นเพราะงานไม่เหมาะกับคุณ หรือเพราะคุณกำลังหมดแรงในการทำงาน คุณลองหาแรงจูงใจให้กับชีวิต เช่น คุณทำงานเพื่ออะไร.......คุณอยากได้หรือสนใจอะไรเป็นพิเศษ........

อย่างที่สอง คุณจะต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับความเครียด ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดก็เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สามารถช่วยคุณได้

อย่างที่สามคุณจะต้องรู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับตัวคุณเอง หรือที่เรียกกันว่ารู้จักตัวเอง รู้จักความคิดของตนเอง เมื่อรู้จักแล้วอย่างต่อไปคือคุณก็จะต้องมีความสามารถในการจัดการกับมันได้ อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นมากมายเกี่ยวกับรูปแบบวิธีการจัดการและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการ ซึ่งคุณสามารถหาอ่านได้จาก ส่งเสริมสุขภาพจิต ในแนวทางของการจัดการตนเอง The self-management  http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/495512  และอีกวิธีหนึ่งที่น่านำไปลองประยุกต์ใช้คือ การจัดการเวลา การจัดตารางเวลา ทุกวันนี้คุณอาจมีรูปแบบชีวิตที่แน่นอนไปแล้วโดยไม่รู้ตัวก็ได้ หากคุณมีเวลาคิดทบทวนสักนิดว่า ในหนึ่งวันคุณทำอะไรไปบ้าง แบ่งเวลาได้สมสัดส่วนของ 24 ชม.แล้วหรือยัง หากคุณคิดว่าตนเองไม่แน่ใจ หรือคิดว่าต้องการความช่วยเหลือคุณสามารถขอคำปรึกษาจากนักกิจกรรมบำบัดได้คะ หากคุณสามารถจัดการตนเอง มีการวางแผนที่ดีตั้งแต่เนินๆ แน่อนว่าไม่ว่าอะไรที่เข้ามาคุณจะสามารถรับมือกับมันได้ ขอเป็นกำลังใจให้บุคคลที่อาจมีภาวะท้อแท้ในการทำงานต่อไปนะคะ ^_^ 


หมายเลขบันทึก: 512727เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท