วิจัยในชั้นเรียน ช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 1


สนใจอํะปล่าววิจััยในชั้นเรียน สนใจแล้วต้องการข้อเสนอแนะ และติชมจ้า

                

พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทย โดบการใช้ชุดการเรียนรู้


ผู้วิจัย    

นางสาววรรณา  ไชยศรี   โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์  อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 

         จากการเรียนการสอนสาระประวัติศาสตร์  เรื่อง อาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยที่ผ่านมา  เนื้อหาจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ซึ่งมีรายละเอียดมาก  ผู้เรียนจะต้องศึกษาและใช้การอ่านอย่างมาก พร้อมทั้งต้องทำความเข้าใจในการลำดับเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง   และจากการสอนที่ผ่านมาผู้เรียนไม่ชอบอ่านอะไรที่มีเนื้อหามากและยากต่อการจดจำ  จึงทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ไม่สนใจในการเรียน  ไม่มีความสุขในการเรียน ไม่สนุกสนาน ส่งผลให้บรรยากาศในชั้นเรียนไม่มีชีวิตชีวา แต่ในปัจจุบันนี้การจัดการเรียนการสอน ต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยยึดหลักว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ การจัดการเรียนการสอนต้องมีความหลากหลายและทันสมัย โดยผู้สอนจะต้องเป็นผู้คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำเป็นอย่างดี จึงจะประสบความสำเร็จได้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายในสาระประวัติศาสตร์  มีหลายวิธี  แต่กิจกรรมหนึ่งที่ผู้วิจัยนำมาใช้คือการใช้ชุดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างด้านความรู้ของนักเรียนควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมอื่นๆ  เช่น  โต้วาที  การอภิปราย  และบทบาทสมมติ

2.  วัตถุประสงค์

1.     เพื่อศึกษาผลของการใช้ ชุดการเรียนรู้ เรื่อง อาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทย

2.     เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในการเรียนสาระประวัติศาสตร์

3.  วิธีการดำเนินการวิจัย

          ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาตามหัวข้อต่อไปนี้

3.1  กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 , 1/4 , 1/5  จำนวน 82 คน

3.2  เครื่องมือในการวิจัย

3.2.1    ชุดการเรียนรู้

3.2.2    แบบสอบถามการใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง อาณาจักรโบราณในประเทศไทยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 

          ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ห้อง 2 , 4 และ 5

3.2.3  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระประวัติศาสตร์   

3.3    การรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ดังนี้

3.3.1        นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง และทำกิจกรรมในชุดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้เป็นเรื่องๆ ดังนี้คือ

อาณาจักรโบราณทางภาคเหนือ

อาณาจักรโบราณทางภาคกลาง

อาณาจักรโบราณทางภาคใต้

อาณาจักรโบราณทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3.3.2        นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติมจากการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตตามตัวอย่าง  Web   Site    ที่กำหนดไว้ในชุดการเรียนรู้

3.3.3        ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่ศึกษาในแต่ละเรื่องในชุดการเรียนรู้    และดำเนินการสอนทบทวนให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายในสาระประวัติศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548    

3.3.4        นักเรียนทำแบบทดสอบและแบบประเมินการใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง อาณาจักรโบราณใน

            ประเทศไทยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากจบการเรียน

            สาระประวัติศาสตร์ ในภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  2548

3.4       วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

ใช้วิธีหาค่าเฉลี่ยและหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอในรูปแบบของตาราง

สรุปผลการวิจัย

            จากการวิจัย พบว่า การพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2548  โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์  อำเภอเมือง  จังหวัดราชบุรี  เรื่องอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทย               โดยการใช้ชุดการเรียนรู้   มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี   และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อจะพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี  มากที่สุดในเรื่องการทำรูปเล่มมีความเหมาะสมเนื้อหา มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหามีความเหมาะสม  นักเรียนชอบที่ได้เรียนด้วย ชุดการเรียนรู้ตามลำดับ  

ส่วนในข้อที่นักเรียนศึกษาด้วยตนเองแล้วมีความรู้และความเข้าใจ อยู่ในระดับพอใช้  อาจจะเป็นเพราะเนื้อหาน้อยไป  ขาดความน่าสนใจ และกิจกรรมที่ปฏิบัติยากเกินไป   ซึ่งจะได้นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงและนำมาใช้อีกในครั้งต่อไป

แต่อย่างไรก็ตามนักเรียนส่วนใหญ่ก็ยังมีความพึงพอใจในระดับดีและชอบที่ได้เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาจากผลการเรียนของนักเรียนพบว่า ผลการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดี  ถึงผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ   มีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์เพียง 1.07 %  แต่ผลการเรียนของนักเรียนยังไม่อยู่ในเกณฑ์ดีมากนัก ทั้งนี้จะต้องมีการพัฒนาด้านเนื้อหาความรู้ การจัดกิจกรรมที่ปฏิบัติ โดยการใช้ชุดการเรียนรู้ต่อไป

 
ข้อเสนอแนะ          

                นักเรียนให้ข้อเสนอแนะมากที่สุด  คือ ควรมีภาพประกอบในแต่ละเนื้อหาเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ  เนื้อหาน้อยเกินไป  และมีนักเรียนเสนอแนะว่าอ่านแล้วไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ก็พอทำได้    ซึ่งจะได้นำข้อเสนอแนะนี้ไปปรับปรุงต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #งานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 51263เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2006 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
สุรีรัตน์ ตลึงจิตร

เป็นตัวอย่างวิจัยที่ดี ขอให้ทำวิจัยออกมาเยอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท