อารักขา
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

โรคเหี่ยวเขียวในมะเขือเทศที่บึงกาฬ


เมื่อน้ำโขงค่อยๆลดลง จนมองเห็นพื้นที่บางส่วนเป็นหาดทราย พื้นที่ทางการเกษตรก็เริ่มผุดขึ้นให้เห็นริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขต อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ภาพที่ชาวบ้านริมฝั่งโขงจับจองพื้นที่เพื่อทำการเกษตรหลังน้ำโขงลดระดับลงจะมีให้เห็นทุกปี พืชที่นิยมปลูกเห็นจะเป็น พืชผักอายุสั้น ซึ่งก็มีหลายหลายชนิด
เช่น มะเขือเทศ คะน้า ผักบุ้ง ผักกาดหอม ข้าวโพด ฯลฯ


กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ ได้รับการประสานงานจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอำเภอเมืองบึงกาฬว่าช่วงนี้แปลงมะเขือเทศของเกษตรกรเป็นโรค จึงแจ้งมาเพื่อให้ทีมงานอารักขาพืชบึงกาฬเข้าตรวจวินิจฉัยพืชให้โดยด่วน

            ซึ่งเมื่อทีมงานอารักขาพืชเข้าตรวจสอบวินิจฉัย แล้ว พบว่า มะเขือเทศ เป็นโรคเหี่ยวเขียว ซึ่งมักจะเกิดในแหล่งปลูกพืชแหล่งเดิมๆ ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญชนิดหนึ่งของมะเขือเทศ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia
solanacearum
ลักษณะอาการ จะแสดงอาการเหี่ยวในขณะที่ใบยังเขียว ใบลู่เหี่ยวเป็นบางกิ่งในเวลากลางวัน และฟื้นเป็นปกติในเวลากลางคืน เชื้อจะลุกลามขยายไปกิ่งอื่นๆ อาการรุนแรงจะเหี่ยวถาวรทั้งต้น และยืนต้นตายในที่สุด ทำให้คุณภาพและผลผลิตที่ได้มีปริมาณลดลง

การแพร่ระบาดของโรคโดยอาศัยปัจจัยธรรมชาติเช่น ลม น้ำ น้ำฝน และส่วนขยายพันธุ์
ที่สำคัญเชื้อสาเหตุทำให้เกิดโรคสามารถอยู่ในดินได้ข้ามฤดู

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อสามารถเข้าอยู่ข้ามฤดูในดินได้นานโดยปราศจากพืชอาศัย
ทั้งยังมีพืชอาศัยกว้างและมีความหลากหลายของสายพันธุ์
ตลอดจนไม่มีสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด

๑.ใช้พันธุ์ต้านทาน เสริมความแข็งแรงให้พืช ปรับดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์

๒.หมั่นสำรวจตรวจแปลง พบต้นเป็นโรคขุดต้นและดินในหลุม รวบรวมออกเผาทำลาย
เปิดหน้าดินบริเวณหลุมที่เป็นโรคตากแดดและโรยปูนขาว งดปลูกซ่อม

๓.กีดกันโรคหรือป้องกันไม่ให้เชื้อโรคพืชเข้ามาในพื้นที่ปลูก เช่น กักน้ำหรืองดการให้น้ำแบบไหลบ่า เช็คส่วนขยายพันธุ์ก่อนปลูกว่าปราศจากเชื้อสาเหตุปนเปื้อน

๔.ปลูกพืชอื่นหมุนเวียน หรือควบคุมโรคโดยชีววิธี

๕.เพิ่มปริมาณซิลิกา ให้แก่พืช เพื่อต้านทานโรค โดยใช้ปุ๋ยหมักและแคลเซียม

๖.ฉีดพ่นสารแคลเซียมโบรอนหรือสารแคลเซียมไนเตรต (๑๕-๐-๐)เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับพืช




คำสำคัญ (Tags): #มะเขือเทศ
หมายเลขบันทึก: 512514เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2013 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท