ดินน้ำมันลอยน้ำ


กิจกรรมการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง  กิจกรรมดินน้ำมันลอยน้ำ

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

จุดประสงค์

1.  ตั้งคำถาม สังเกต และสำรวจเกี่ยวกับลักษณะของ
  ดินน้ำมันที่จมและลอย

2.  คาดคะเนลักษณะดินน้ำมันที่จมและลอย

3.  ใช้ประสาทสัมผัสในการวางแผนและทดลอง
  เปลี่ยนแปลงรูปร่างของดินน้ำมันเพื่อสังเกตการจม
  และลอย

สาระที่ควรเรียนรู้

1.  รู้จักลักษณะของดินน้ำมัน

2.  รู้จักการปั้นดินน้ำมันเป็น

3.  ทดลองการลอยตัวของดินน้ำมัน

ประสบการณ์สำคัญ

1.  การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การค้นหาคำตอบ

2.  การใช้ประสาทสัมผัสในการสำรวจสมบัติทาง
  กายภาพของสิ่งต่างๆ รอบตัว

3.  การคาดคะเน วางแผน และทดลองด้วยวิธีการ
  ทางวิทยาศาสตร์ง่ายๆ

การดำเนินกิจกรรม

ขั้นนำ

ขั้นที่  1  ขั้นกำหนดปัญหา

ครู: แนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์พร้อมใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กอยากรู้ รูปร่างของดินน้ำมันมีผลต่อการจมและลอยน้ำหรือไม่อย่างไร

ครู : ให้เด็กช่วยกันคิดว่าจะปั้นดินน้ำอย่างไรมันถึงจะลอยน้ำได้

ขั้นที่  2  ขั้นตั้งสมุมติฐาน

เด็กๆ คาดเดาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้  เช่น  ปั้นเป็นแผ่นบางๆ  ปั้นเป็นเส้นยาวๆ  หรือปั้นเป็นเรือ

 ขั้นสอน

ขั้นที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูล

1.  เด็กปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนกลม คาดคะเนว่าจมหรือลอย แล้วใส่ลง

   ในอ่างแก้วเพื่อทดสอบการจม การลอย

2.  เด็กคิดหาวิธีการทำให้ดินน้ำมันลอยน้ำ ด้วยการปั้นเป็นรูปร่าง

  ต่างๆ โดยครูให้โอกาสในการปั้นรูปร่างต่างๆ

3.  ครูกับเด็กร่วมกันสรุปและลงความเห็นเกี่ยวกับการปั้นดินน้ำมันที่เป็นรูปร่างต่างๆ ที่ส่งผลต่อการจมและการลอยจากนั้นร่วมกันบันทึกลงในแบบบันทึกข้อมูล

ขั้นที่  4  ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล

ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุผลจากกระบวนการทดลอง  ดังนี้

1.ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปอะไรถึงจะลอยน้ำได้

2.ระหว่างดินน้ำมันที่จม  กับดินน้ำมันที่ลอยแตกต่างกันอย่างไร

3.หลังจากทำการทดลองแล้ว ทำไมดินน้ำมันถึงลอยน้ำได้

ขั้นสรุป

ขั้นที่  5  ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป

เด็ก : บันทึกการทดลองโดยวาดภาพและระบายสีภาพการทดลองการลอยตัวของดินน้ำมัน โดยครูบันทึกการวาดภาพจากคำตอบของเด็กลงในแบบบันทึกข้อมูล 

ครู : อธิบายเพิ่มเติม เมื่อเรานำของที่หนัก เช่น ดิน-น้ำมันที่เป็นก้อนมาปั้นให้มีช่องกลวง ตรงกลาง ซึ่งสามารถบรรจุอากาศไว้ภายใน ทำให้มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ดินน้ำมันจึงลอยน้ำได้

สื่อและแหล่งเรียนรู้

1.  อ่างแก้วใส่น้ำ

2.  ดินน้ำมัน

การประเมินผล

1.  สังเกตความสนใจขณะทำกิจกรรม 

2.  สังเกตวิธีการที่ใช้ในการเปลี่ยน
  รูปร่างดินน้ำมัน

3.  สังเกตการร่วมกิจกรรมการทดลอง

  และสรุปผลการทดลอง

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  ครูควรให้เด็กปั้นดินน้ำมันด้วยตนเอง  ให้เวลา  โอกาส  และให้ดินน้ำมันที่เพียงพอในการทดลอง  หรืออาจจัดกลุ่มร่วมกันทดลอง  และวางแผนร่วมกันก็ได้

หมายเลขบันทึก: 512261เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 20:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท