ประสบการณ์ตรวจสอบคุณภาพเครื่่องเพทสแกน


การประกันคุณภาพเครื่องเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อตรวจสอบว่าเครื่องสามารถทำงานได้ถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำ เพราะเครื่องมือเหล่านี้นำมาใช้กับมนุษย์ในการรักษาและวินิจฉัยโรค

สวัสดีครับ


วันนี้ขอนำเสนอภาพจากการที่ผมได้เข้าร่วมสังเกตการณ์และตรวจสอบคุณภาพเครื่องเพทซีทีสแกน และ (PET CTscan) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ โตเจริญชัย จาก มหาวิทยาลัยมหิดล มาให้ความรู้ แนะนำ และสาธิต ณ หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 




การตรวจสอบนี้ใช้โปรโตคอล (protocol) ของ NEMA (National Electrical Manufacturers Association) ร่วมกับโปรแกรมที่มีอยู่ในระบบการควบคุมารทำงานของเครื่องตรวจ





บางการทดสอบต้องใช้สารไอโซโทป คือ ฟูลออรีน-18 ที่ผลิตจากเครื่องไซโคลตรอน

 

ดังนั้น ก่อนทำการตรวจสอบคุณภาพ พวกเราต้องรอสารเภสัชรังสีที่ขนส่งทางรถยนต์ 




และเมื่อได้สารเภสัชรังสีมาแล้ว 


พวกเราต้องรีบเร่งทำงานกัน เพราะว่า... ค่าครึ่งชีวิตของสารดังกล่าว จะลดลง ทำให้พลังงานรังสีที่ปลดปล่อยออกจากสารเภสัชรังสีลดน้อยลงเรื่อยๆ หากรังสีมีพลังงานต่ำ ค่าความถูกต้องแม่นยำในการนับวัดรังสีก็จะลดลงไปเรื่อยๆ

 



ดังนั้น การทำงาน ต้องมีการวางแผน ทำความเข้าใจกับทีมงาน และเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการตรวจสอบให้พร้อม 





วันนี้ทำการตรวจสอบ PET Sensitivity และ Scatter และ CT calibration scan








การตรวจสอบคุณภาพครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมประการณ์การทำงานด้านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องสร้างภาพทางการแพทย์ของผม

 


การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ตลอดเวลา การฝึกฝน การลงมือทำ การทำบ่อยๆ เป็นหนทางหนึ่งที่นำปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ครับ

หมายเลขบันทึก: 511839เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท