มติชนปล่อยช้าง อาเศียรวาท (ไม่ได้ปล่อยไก่)


การตีความกลอนอาเศียรวาทของมติชินนั้น ฝ่ายรักในหลวงและเป็นกลางยังตีความแบบอ่อนๆ (ซึ่งผมไม่เห็นด้วย) …(๑๐ บรรทัดข้างล่างนี้ผมตัดตอนมาจาก ผจก.ออนไลน์) 

วันหนึ่งฟ้าสว่างกระจ่างแจ้ง ลมแล้งในใจไห้โหยหาย

 ข้าวกล้านาไร่ได้กลิ่นอาย ยามฝนขวนขวายมุ่งหมายมา 


(แปลว่า ฟ้าก็คือพระเจ้าอยู่หัว ได้รับรู้ถึงความทุกข์ยากและปัญหาการทำเกษตรกรรม และยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ โดยมีฝนหลวงพระราชทานมาเพื่อแก้ไขปัญหา )


วันหนึ่งเมฆคลุ้มเป็นกลุ่มก้อน ลมร้อนลมเย็นเป็นปัญหา

พฤกษ์พุ่มชอุ่มช้ำท่วมน้ำตา ฝันว่าฟ้าสว่างดีอย่างไร


(แปลความว่า ฝนหลวงพระราชทานเป็นปัญหา (อาจจะมาในเวลาที่ไม่เหมาะสม) จึงทำให้ผลผลิตเสียหาย ประชาชนหมดหวัง และตั้งคำถามว่า ฟ้านั้นดีอย่างไร)


หลายท่านก็ตีความทำนองนี้ เพราะไปติดกับดักว่า ฟ้าในวรรค ๑ คือในหลวง และ ฝน ในวรรคที่ ๔ คือ ฝนหลวง แต่ผมว่าคำว่าฝนนี้ไม่ใช่ฝนหลวงหรอก แต่มันเป็นแค่คำเชิงสัญลักษณ์เพื่อสื่อไปถึง “คน” มากกว่า ดังนั้นผมว่ามันน่าแปลได้ตรงกว่านี้ดังนี้


วันหนึ่งฟ้าสว่างกระจ่างแจ้ง ลมแล้งในใจไห้โหยหาย

 ข้าวกล้านาไร่ได้กลิ่นอาย ยามฝนขวนขวายมุ่งหมายมา 

แปลว่า

วันหนึ่งในอดีตมีคนเก่งเข้ามาช่วยชาติ เปรียบดั่งแสงที่มาทำให้ฟ้าที่เคยมืดกลับพลันสว่างขึ้น ความทุกข์ยาก (ลมแล้ง) ก็หมดมลายไปสิ้น ชาวนาชาวไร่(ข้าวกล้านาไร่)ก็พลอยสุขสำราญ (ได้กลิ่นอาย) เพราะ “ฝน” (คนเก่งคนนั้น) ขวนขวายมุ่งมั่นทำงานเพื่อประชาชนจนตัวโก่ง


วันหนึ่งเมฆคลุ้มเป็นกลุ่มก้อน ลมร้อนลมเย็นเป็นปัญหา

พฤกษ์พุ่มชอุ่มช้ำท่วมน้ำตา ฝันว่าฟ้าสว่างดีอย่างไร

แปลว่า

ต่อมาอีกวันหนึ่งความทุกข์ (เมฆคลุ้ม) ก็เข้ามา (เช่นเกิดการปฏิวัติด้วยคำสั่งของ “มือที่มองไม่เห็น” ...) ปชช. (พฤกษ์พุ่ม)ชอกช้ำกันไปหมด วันนี้เลยฝันถึง “ฟ้า” (คนเก่งคนนั้น) ที่เคยนำความสว่างมาให้แต่วันก่อน 

ทั้งฟ้าและฝนในกลอนนี้คือ คนเดียวกัน นั่นแหละ กลอนนี้มันไม่ได้คลุมเครือ สองง่าม หรอกครับ มันมีง่ามเดียว ตีความได้ไม่ยากนัก แต่ถ้าตีความกันตามที่ว่ากันมานั้นมันจะเป็นสองแง่หรือหลายแง่ได้ เพราะเดาใจคนแต่งไม่ออก .......แต่ในใจคนแต่งนั้นเขามีแง่เดียว เพียงแต่เราต้องเข้าไปนั่งในใจเขาแล้วมองออกมาให้เห็นเหมือนเขาเท่านั้นเอง ก็จะตีความได้หมดความกำกวม

ทีนี้ผมจะมาจับโกหกมติชนให้ดู ในกรณีที่ออกมา แก้เขิน ด้วยการ (ทำเป็น) ตีความแบบข้างๆคูๆ (ทำผิดแล้วยังไม่กล้ารับผิด เหมือนเด็กน้อย ทั้งที่หลักฐานแดงแจ๋) .....ลองกลับไปดูบทแรกใหม่สิ

วันหนึ่งฟ้าสว่างกระจ่างแจ้ง ลมแล้งในใจไห้โหยหาย  ข้าวกล้านาไร่ได้กลิ่นอาย ยามฝนขวนขวายมุ่งหมายมา 

ถ้าฟ้าในที่นี้หมายถึงในหลวงจริง อ้าว..... วันนี้ฟ้าสว่าง ลมแล้งก็หมด ชาวนาก็สุข แล้วจู่ๆฟ้าแจ้งๆฝน (แม้เป็นฝนหลวงก็ตาม) จะขวนขวายมาตกได้อย่างไร ..นี่มันพิรุธชัด ดังนี้ “ฝน” นี้ คือ “คนเก่งคนนั้น” ที่ขวนขวายขยันทำงานเหลือกเกิน

คราวนี้มาดูบทที่ ๒

วันหนึ่งเมฆคลุ้มเป็นกลุ่มก้อน ลมร้อนลมเย็นเป็นปัญหา พฤกษ์พุ่มชอุ่มช้ำท่วมน้ำตา ฝันว่าฟ้าสว่างดีอย่างไร

จากบทที่หนึ่ง ถ้าเป็นฝนหลวงจริง อ้าว...ก็ฝนตกไปแล้วในบทแรก (แม้ในวันฟ้ากระจ่างก็ตามทีเถอะ) จนลมแล้งในใจก็หมดไปแล้ว แล้วทำไมจะมาสร้างเมฆคลึ้มเพื่อให้ฝนตกซ้ำจนท่วมน้ำตาอีกเล่า...ตรรกะมันผิดฝาผิดตัวไปหมด 


สรุปคือ ไม่ว่าจะเป็นคำต่อคำ บาทต่อบาท บทต่อบท หรือ บริบทรวม กลอนนี้มัน....


กลอนนี้มันแดงจ๋าน่าอับเฉา    ช้างตายเน่าทั้งตัวหูหัวใหญ่

เอาใบบัวใบนิดมาปิดไว้        มันจะมิดหรือไรมติชน?


ผมเลยแถมให้อีกกลอน


วันหนึ่งฟ้าสางสว่างแจ้ง             สื่อกาสื่อแร้งแห้งโหยหาย

สื่อเหลือบสื่อริ้นได้กลิ่นอาย        ฝนแดดหล่นฉายให้วิญญา

วันหนึ่งเมฆหนุนทุนเป็นก้อน       สื่อร้อนสื่อเย็นเป็นปัญหา

เงาเงินทอดทับอับปัญญา          ฝันว่าสื่อสว่างดีอย่างไร


...คนถางทาง (๑๒ ธค. ๒๕๕๕)


หมายเลขบันทึก: 511801เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 03:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

เค้าเป็นสื่อที่สี  อย่างชัดเจน เชียร์จนออกนอกหน้า --  ไม่ใช่แค่สื่อกระดาษ ชิ้นนี้อย่างเดียวหรอกค่ะ  สื่อโทรทัศน์ที่มีสัญลักษณ์ หอยเน่า (ม่วง) ถ่ายทอดสด นักโทษชาย เป็นประธานเปิดงานกีฬา มาให้คนไทยดู  มันยังไม่มีใครออกมาแสดงความรับ ผิด ชอบ เลย -- ที่นี่ประเทศไทย  เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ กันหมด   สุ่มเสี่ยงต่อการสิ้นเอกราช ให้นักการเมือง จริงๆ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท