สังวาลย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังวาลย์ ตุกพิมาย

งานวิจัย "การรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์"


บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  (1) เพื่อศึกษาระดับการรู้สารสนเทศของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  (2) เพื่อทราบข้อเสนอแนะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

    ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554  จำนวน 1,602  คน  โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ  แบบทดสอบ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87  สถิติที่ใช้ในการวิจัย  คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย 

  ผลการวิจัยพบว่า  (1)  นักศึกษามีการรู้สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 51.65%   โดยนักศึกษามีการรู้สารสนเทศด้านการประเมินสารสนเทศอยู่ในระดับที่สูงที่สุดระดับปานกลาง 58.80% รองลงมา คือ ด้านการกำหนดชนิดและขอบเขตสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน 51.37%

(2)  ข้อเสนอแนะควรมีการปลูกฝังการใช้สารสนเทศให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรมและกฎหมาย และควรสอนการรู้สารสนเทศแบบบูรณาการเข้ากับรายวิชาอื่น ๆ

คำสำคัญ  การรู้สารสนเทศ  นักศึกษาระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  

Abstract

 

The objectives of this research were (1) to study the information literacy level of the undergraduate students of the Faculty of Education at Songkhla RajabhatUniversity and (2) to compare the students information literacy level in five variables: gender, year of study, field of study, grade, and experience in the course of information retrieval.

  A sample used in this study was 786 undergraduate students of the Faculty of Education at Songkhla Rajabhat University who were studying in the first semester of academic year 2010.  This sample was drawn through a stratified random sampling procedure.  A test, which had the KR-21 reliability coefficient of 0.84, was used to measure the students’ information literacy level.  Statistics used for analyzing data included percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and Scheffe’s test.

  The research findings showed the following results: (1) The students had overall low information literacy level.  Only the students’ ability to determine the extent of information needed was at a moderate level.,  and (2) the comparison of the students’ information literacy level in five variables showed that students in year 3, 4 and 5 had a higher information literacy level than those in year 1 and 2; students in social sciences had a higher information literacy level than those in special education, mathematics and Thai language, and no significant differences were found between the level of information literacy and the following variables: gender, grade, and  experience in the course of information retrieval. 

Keywords: Information literacy, Undergraduate students, Faculty of Education

หมายเลขบันทึก: 510892เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2012 08:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท