ทฤษฎีการเรียนแบบร่วมด้วยช่วยกัน


 

     พื้นฐานทางทฤษฎีของ Collaborative learning

  แนวคิดทฤษฎีการเรียนแบบร่วมด้วยช่วยกัน  มีนักวิชาการได้รวบรวมหลายท่านได้แก่  ทิศนา แขมมณี. (2547). ได้รวบรวม สลาวิน (Slavin) เดวิด จอห์นสัน (David Johnson)และรอเจอร์ จอห์นสัน (Roger Johnson)  มีแนวคิดว่า ในการเรียนรู้ของผู้เรียนปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะแข่งขัน ลักษณะต่างคนต่างเรียน และลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ ซึ่งการจัดการศึกษาควรให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้ง 3 ลักษณะโดยรู้จักใช้ลักษณะการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ มี 5 ประการได้แก่ การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อยและการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม

   ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486)แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ3 – 6คนช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่มโดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกันต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้

   http://www.kroobannok.com/blog/35261ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือว่า  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ การเรียนรู้กลุ่มย่อย โดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ3-5คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม เป็นแนวคิดของ สลาวิน เดวิด จอห์นสัน และ รอเจอร์ จอห์นสัน มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี3ลักษณะ คือ. ลักษณะของการแข่งขัน  ลักษณะต่างคนต่างเรียน รับผิดชอบในการเรียนของตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้   ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  สพป. อุตรดิตถ์ เขต 2  (  http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=97)ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถ พัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา 

   http://www.sobkroo.com/ได้ รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญาสามารถพัฒนาได้โดยการฝึก นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
  1.  กลุ่มนี้เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิด คือ เซนต์ออกุสติน จอห์น คาลวิน และคริสเตียน โวล์ฟ นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อเรื่อง   มนุษย์เกิดพร้อมกับความชั่ว การกระทำใดๆของมนุษย์เกิดมาจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม  สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วนๆซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ การฝึกสมอง หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด  การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก
  2.  ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญ คือ พลาโต และอริสโตเติล นักคิดกลุ่มนี้เชื่อพัฒนาการเป็นเรื่องของมนุษย์  การกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง 

   http://surinx.blogspot.com/  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถ พัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยการให้บุคคลเรียนรู้เรื่อง ที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น


  สรุป การเรียนรู้Collaborative Learningป็นวิธีการ จัดการเรียนการสอนรูป ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมองหรือสติปัญญาสามารถ ฝึกมากก็ยิ่งมีประสบการณ์มาก ฉลาดและรอบรู้มากเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์  และความรู้ความสามารถต่างๆ และสามารถปรับตัวให้อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎี
หมายเลขบันทึก: 510710เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2012 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท