กิจกรรมบำบัดศึกษา


การปรับประยุกต์อุปกรณ์และสภาพแวดภายในบ้านของผู้รับริการกลุ่มภาวะสมองเสื่อม(Dementia)

ประสบการณ์การฝึกปฎิบัติงานที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมกลุ่มการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างผู้ดูแลผู้รับบริการกลุ่มโรคสมองเสื่อม(Dementia) เกี่ยวกับการปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านของผู้รับบริการ เพื่อให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ และลดปัญหาความกังวลของผู้ดูแล เป็นเวลา 40นาที โดยสรุปได้ดังนี้

-การจัดให้มีนาฬิกาเรื่อนใหญ่ มองเห็นชัดเจนติดไว้2-3แห่ง โดยเป็นบริเวณที่ผู้รับบริการอยู่ประจำ เพื่อเป็นการย้ำเตือนในเรื่องของเวลา

-การจัดให้มีปฎิทิน ตัวเลขใหญ่ชัดเจน อาจเป็นแบบที่มีตัวเลขละแผ่นและฉีกออกได้ หรือ การทำเครื่องหมายขีดเขียนเป็นสัญลักษ์ชัดเจน เช่น วัดนัดหมายต่างๆ 

-ใช้กล่องใส่ยาที่มีสีแตกต่างกัน โดยผู้ดูแลเป็นผู้จัดไว้ให้ เช่น มีข้อความและรูปติดไว้ที่กล่องยา เป็นต้น

-การจัดวางสิ่งของในบริเวณต่างๆเป็นระเบียบ เก็บเป็นหมวดหมู่ และจัดวางอุปกรณ์ต่างๆไว้ที่เดิม โดยอาจมีรูปภาพ หรือเขียนบอกว่ามีอุปกรณ์ใดบ้างอยู่ในบริเวณนั้นด้วยตัวที่ใหญ่ชัดเจนอ่านง่าย

-การวางแผ่นรองกันลื่นภายในบ้าน บริเวณที่เสี่ยงต่อการล้ม เช่น ห้องน้ำ(ควรมีการทำความสะอาดให้พื้นแห้งอยู่ตลอดเวลา)ห้องครัว เป็นต้น

 -การเพิ่มราวจับในบริเวณบ้าน เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ 

-การให้ผู้รับบริการใส่รองเท้าที่มีสายรัดส้น เดินในบ้าน ในกรณีที่ผู้รับริการมีความเสี่ยงต่อการล้มมาก โดยเลือกรองเท้าที่มีความเหมาะสม กันลื่นได้ดี ให้ใส่ได้ตลอดเวลา

-การปิดประตูบ้าน โดยจัดให้เหลือเพียงบานเดียวสำหรับกาารเข้า-ออกของผู้รับบริการ เพื่อป้องกันการสับสนเส้นทางในบ้านหรือการเดินออกนอกบ้าน โดยผู้ดูแลไม่ทราบ

-การติดกระดิ่งหรือสัญณานบริเวณประตูบานที่ผู้รับบริการเข้าออก เพื่อให้บุคคลในบ้านทราบว่ามีการเข้า-ออกของผู้รับบริการ 

-บริเวณประตูห้องนอนและห้องน้ำ ควรนำกลอนประตูออก หรือทำให้ไม่สามารถลอกได้ และอาจมีช่องว่างเล็กสำหรับมองจากด้านนอกห้องเข้าไปได้

-ภายในบ้านควรมีแสงสว่างเพียงพอต่อการมองเห็นของผู้รับบริการ เช่นบบริเวณบันได ห้องน้ำ ห้องครัว

-หากมีบ้านสองชั้น ควรย้ายห้องผู้รับบริการลงมาอยู๋ชั้นล่าง เพื่อความปลอดภัยในการขึ้น-ลงบันได

-การแต่งกาย เสื้อและกางเกงควรเป็นแบบเดิมที่ผู้รับบริการใส่เป็นประจำ แต่หากผู้รับบริการมีความยากลำบากหรือสับสนขั้นตอนเดิม อาจปรับเป็นเสื้อยืดตัวใหญ่ และกางเกงยางยืด ที่สวมใส่ได้สะดวก

-พกนามบัตรหรือเบอร์โทรของผู้ดูแลแผ่นเล็กๆ ผูกกับข้อมือของผู้รับบริการ

-มีป้ายขั้นตอนในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น อาบน้ำ ล้างน้ำ แปรงฟัน รับประทานยา โทรศัพท์ โดยเป็นภาพจริงของผู้รับบริการ ติดไว้ในบริเวณที่ต้องทำกิจกรรมนั้นๆ

-กรณีที่ผู้รับบริการพยายามจะเปิดประตูบานที่ล๊อคไว้แล้ว ให้นำผ้าม่านที่มีสีคล้ายคลึงกับผนังมาปิดไว้ เพื่อลดพฤติกรรม

จากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนั้น ดิฉันได้เห็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันของผู้ดูแลแต่ละท่าน แม้มีเวลาไม่มาก ทุกท่านแลกเปลี่ยนกันด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับตน และผู้ดูแลลท่านอื่นสามารถมีทางเลือกในการจัดการกับผู้รับบริการแต่ละท่านของตนได้ นอกจากข้อมูลและประสบการณ์ต่างๆที่ผู้ดูแลนำมาถ่ายทอดให้กันแล้ว สิ่งหนึ่งที่ดิฉันเห็นคือทุกคนได้แบ่งปันความรู้สึกที่หรือปัญหาต่างๆร่วมกัน เกิดความผ่อนคลายมากขึ้น มีการให้กำลังใจซึ่งกันและกันตลอดการทำกิจกรรมด้วย 

หมายเลขบันทึก: 510591เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2012 01:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท