การศึกษาแบบเรียนรวม


การศึกษาเเบบเรียนรวม  วันเเรกที่เข้าเรียนในรายวิชานี้ดิฉันไม่รู้มาก่อนเลยว่าการศึกษาเเบบเรียนรวมเป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับอะไร พออาจารย์ให้ดูวิดีโอ  เรื่องเกี่ยวกับเด็กพิเศษเลยทำให้เข้าใจมากขึ้น อาจารย์บอกว่าในอนาคตที่คุณจะเป็นครู ไม่สามารถที่จะปฏิเสธเด็กพิเศษได้  ปัจจุบันสังคมได้เปิดโอกาสให้เด็กพิเศษได้มาเรียนร่วมกับเด็กปกติ  ภายใต้การศึกษาที่มีคุณภาพ ทั่วถึงและ เสมอภาค....


ทีมา http://www.nep.go.th/index.php?mod=newsmedia_detail&id=171&y=2011&m=03


มุมมองการมองเด็กพิเศษ

"เด็กทุกคนมีหัวใจไม่ต่างกัน
มันไม่ใช่ความผิดของพวกเขา ในสิ่งที่เขาเป็น
ขอเพียงความเข้าใจ มอบความรัก
พวกเขาจะเติบโตขึ้นมาด้วยความเข้มแข็ง
และมีภูมิคุ้มกันอันแข็งแรงในจิตใจ
นั่นคือ แรงบัลดาลใจให้เราพยายามเพื่อพวกเขา"

สำหรับเด็กพิเศษ มีที่ว่างน้อยมากสำหรับพวกเขาในสังคม ภูศิลป์อาจจะเป็นเพียงสถาบันเล็กๆ แต่เรามีจุดมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่ในการให้ความสุข และพัฒนาศักยภาพเด็กทุกๆคน ดังนั้น เด็กน้อยทุกคนที่นี่ไม่ว่าจะพิเศษ หรือ ไม่พิเศษ ก็คือความตั้งใจของเราในการสร้างความสุขในหัวใจให้แก่พวกเขา

หลักสูตรศิลปะสำหรับเด็กพิเศษของภูศิลป์ จะ เน้นช่วยเหลือเด็กในการบำบัดอารมณ์และจิตใจ การพัฒนากล้ามเนื้อมือ การฝึกฝนทางด้านความคิด โดยคุณครูจะปรับกิจกรรมตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละคน

เด็กทุกคนตั้งแต่เกิดมาก็มีจิตใจอันบริสุทธุ์ครอบครัว สังคม สภาพแวดล้อมเป็นตัวหล่อหลอมให้เขาเป็น ดังนั้นต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการสร้างสรรค์เด็กคนหนึ่งให้ เป็นเด็กที่ดีงาม มีคุณค่าและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 ขอบคุณข้อมูล http://www.phusilp.com/childrenspecial.html

หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 

หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในประเทศไทย   จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ หลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียนเฉพาะ และหลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียนร่วม

หลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียนเฉพาะ เช่น โรงเรียนโสตศึกษา  โรงเรียนศึกษาพิเศษ  โรงเรียนสอนคนตาบอด ฯลฯ เป็นหลักสูตรเดียวกับที่ใช้กับเด็กปกติ  แต่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเช่นเดียวกัน  แต่ส่วนใหญ่แล้ว  การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจะมีไม่มากเท่ากับการปรับปรุงหลักสูตรสำหรับเด็กในโรงเรียนพิเศษ

การจัดการหลักสูตรสอดคล้องกับหลักวิชาการ กล่าวคือ เด็กที่มีความบกพร่องน้อย  สามารถเรียนกับเด็กปกติได้  หากมีความบกพร่องมากขึ้น จะมีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของเด็ก  และโรงเรียนจัดบริการเสริมในด้านที่เด็กจำเป็นต้องได้รับบริการ  ส่วนเด็กที่มีความบกพร่องในระดับรุนแรงนั้น  ไม่สามารถเรียนหลักสูตรเดียวกันกับเด็กปกติได้  หรือแม้แตปรับปรุงแล้ว ก็ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้  ทางโรงเรียนจึงจำเป็นต้องกำหนดหลักสูตรขึ้นมาเองให้สอดคล้องกับเด็กแต่ละคน

ขอบคุณข้อมูล  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/27163

หลักสูตรต้องคำนึงถึงความต้องการพิเศษของเด็ก
 สิ่งที่ครูต้องตระหนักก็คือ นักเรียนบางคนมีลักษณะเฉพาะซึ่งมีผลต่อการใช้หลักสูตรในแง่ต่าง ๆ เช่น นักเรียนที่มีความบกพร่องได้ยิน จะต้องการความเอาใจใส่ของครูเพื่อช่วยในเรื่องการพูดและการฟังอย่างมาก
 เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะต้องการความเอาใจใส่ ช่วยเหลือจากครูเรื่องทักษะในการช่วยเหลือตนเอง ทักษะในการดำรงชีวิตประจำวัน ทักษะทางสังคมและทักษะทางการสื่อความหมาย
 นักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งมีข้อจำดัดเรื่องการเคลื่อนไหว และปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นต้องได้รับเนื้อหาหลักสูตรที่ชดเชยความขาดแคลนด้านประสบการณ์
 นักเรียนที่มีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรม ต้องได้รับเนื้อหาหลักสูตรที่มีสถานการณ์ในการเรียนนซึ่งจะช่วยให้รู้สึกว่าตนประสบความสำเร็จ เพื่อจะได้ช่วยสร้างความมั่นใจ และเห็นคุณค่าในตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการกับตนเอง และช่วยพัฒนาทักษะในด้านสังคมและการสื่อความหมายกับผู้อื่น นอกจากนี้แล้วเด็กกลุ่มนี้ยังจำเป็นอย่างมากที่ต้องเรียนรู้ทักษาในการพึ่งพาตนเองด้วย

   เนื้อหาจะต้องเหมาะสมและใช้ประโยชน์ได้จริง
 นอกจากนี้ครูต้องไม่ลืมว่า การเรียนบางอย่างสำคัญมากที่เป็นเนื้อหาซึ่งเด็กทุกคนต้องรู้ เรียกว่าเนื้อหาแกน
 นอกเหนือจากเนื้อหาแกนก็เป็นความรู้ ทักษะ เจตคติ และสาระประโยชน์ทั่วไปที่เด็กน่าจะได้รู้แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ เรียกว่า เนื้อหาเดิม
 การสอนโนโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการควรเป็นการจัดหลักสูตรแบบ "เนื้อหาแกนบวกเนื้อหาเดิม" แต่การนำเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกตินั้นมีความยากอยู่ที่ว่าจะปรับเนื้อหาอย่างไรเพื่อจะให้เด็กเรียนได้ ซึ่งจะเป็นความท้าทายที่ขอฝากไว้ให้กับครูยุคใหม่ทุกท่าน
 เพื่อช่วยครูยุคก้าวหน้าเลือกเนื้อหาที่จะสอนให้เหมาะสมกับชั้นเรียนที่มีการเรียนรวม เนื้อหาที่เราจะนำมาให้เรียนควรอยู่ในกลุ่มต่อไปนี้
 1. มีให้เห็น กล่าวคือ เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ในชีวิตของเด็ก
 2. มีความสำคัญ จะต้องมีคุณค่าและความจำเป็นที่เด็กจะเรียนรู้ หรือจะต้องทำได้
 3. เป็นจริงได้ในการเรียน ซึ่งจะต้องมีเป้าหมายที่เด็กทำได้สำเร็จ
 4. สมเหตุสมผล ความมุ่งหมายของการเรียนสามารถแสดงได้ชัดเจน
 การทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Plan หรือ IEP) เป็นวิธีการหนึ่งของการปรับหลักสูตรทุกขั้นตอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ขอบคุณข้อมูล  http://www.nrru.ac.th/web/special_edu/3-4.html

หมายเลขบันทึก: 510563เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2012 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2013 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท