lhin
ณัชชารีย์ ไกรวัฒนภิรมย์

ความรู้้จากการศึกษาเพิ่มเติม


ความรู้ที่ได้รับจากงานวิจัย Effectiveness of Sensory Integration Interventions in Children With Autism Spectrum Disorders: A Pilot Study และ A Pilot Study Comparison of Sensory Integration Treatment and Integrated Preschool Activities for Children with Autism

  งานวิจัยแรก Effectiveness of Sensory Integration Interventions in Children With Autism Spectrum Disorders: A Pilot Study เป็นงานวิจัยที่ทำขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการนำทฤษฎีการบูรณาการประสาทความรู้สึกมาใช้ในเด็กออทิสติก ต่อผลของการประมวลผลจากการรับความรู้สึก ทักษะการแสดงออกทางอารมณ์ต่อสังคม ความสามารถในการปรับตัวด้านต่างๆ และลักษณะที่พบในเด็กออทิสติก ซึ่งการให้การรักษานั้นได้เน้น 3 ประการหลัก อันดับแรกคือ การปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดโอกาสในการรับความรู้สึก อันดับที่สองคือ การสร้างความท้าทายในการทำกิจกรรมอย่างเหมาะสม และสุดท้ายคือ การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัดและเด็ก ผลของงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ทฤษฎีการบูรณาการประสาทความรู้สึกโดยนักกิจกรรมบำบัดได้มีส่วนในการช่วยเปลี่ยนแปลงลักษณะที่พบในเด็กออทิสติกอย่างเห็นได้ชัด เช่น พฤติกรรมการกระตุ้นตัวเอง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแสดงออกทางอารมณ์เพื่อการเข้าสังคม แต่ว่าในงานวิจัยนี้ได้เน้นในเรื่องของการรักษาในคลินิก แต่ว่าแบบประเมินที่ใช้วัดนั้นมักให้ข้อมูลโดยผู้ดูแล ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่กับเด็กที่บ้านมากกว่า และบางครั้งอาจไม่ได้เข้าดูในระหว่างเด็กฝึกกิจกรรมบำบัด

  งานวิจัยที่สอง ชื่อว่า A Pilot Study Comparison of Sensory Integration Treatment and Integrated Preschool Activities for Children with Autism ซึ่งเป็นงานวิจัยที่นำทฤษฎีการบูรณาการประสาทความรู้สึกมาใช้ในกิจกรรมของโรงเรียน ได้ยืนยันแล้วว่า กิจกรรมที่เด็กทำในห้องเรียนตามบริบทจริงๆนั้นจะสามารถช่วยเพิ่มทักษะความสามารถได้มากกว่า การฝึกในห้องบำบัดเพียงอย่างเดียว ซึ่งตรงกับหลักการทางกิจกรรมบำบัดที่มองมนุษย์อย่างเป็นองค์รวม

  เหตุผลที่ดิฉันยกงานวิจัยตรงนี้ขึ้นมา เนื่องจากว่า อยากชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของบุคลากรทุกๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล นักกิจกรรมบำบัด พ่อแม่ผู้ปกครอง/ ผู้ดูแล คุณครูที่โรงเรียนต่างก็ล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาความสามารถของเด็กทั้งสิ้น ถ้าเด็กเหล่านั้นได้เข้าร่วมกิจกรรมตามทฤษฎีการบูรณาการประสาทความรู้สึกนั้นก็เป็นเรื่องที่ดี แต่หากว่าได้เข้าร่วมด้วยรูปแบบกิจกรรมที่เป็นกิจกรรมในสถานที่จริง ไม่ใช่เพียงแต่การจำลองสถานที่หรือสถานการณ์ จะทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้ค่อนข้างมาก จึงอยากขอฝากบุคลากรทุกๆฝ่ายว่าเราทุกคนมีส่วนร่วม และเป็นกำลังที่สำคัญในการช่วยพัฒนาเด็กออทิสติกให้เป็นเด็กที่มีความสามารถ และเป็นพลเมืองดีของสังคมต่อไป.......

หมายเลขบันทึก: 510479เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2012 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท