คามสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม


ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

   ในธรรมชาติเราพบว่ามีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็น  กลุ่มสิ่งมีชีวิตและมีความสัมพันธ์กันกับสิ่งแวดล้อม

ระบบนิเวศ  หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง  ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต  และมีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต

ระบบนิเวศ  มีหลายแบบทั้งที่เป็นระบบนิเวศทางธรรมชาติ  และระบบนิเวศ  ที่มนุษย์สร้างขึ้น  มีทั้งขนาดเล็ก  และขนาดใหญ่  หรืออาจแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่

1.  ระบบนิเวศบนบก  เช่น  ระบบนิเวศในโรงเรียน  ระบบนิเวศป่าไม้ 

  ระบบนิเวศทะเลทราย   ระบบนิเวศทุ่งหญ้า 

2.  ระบบนิเวศในน้ำ  เช่น  ระบบนิเวศหนองน้ำ  ระบบนิเวศแม่น้ำ

   ระบบนิเวศทะเล  ระบบนิเวศป่าชายเลน

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  โดยพึ่งพาสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตจำแนกความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเป็น  2 ประเภท  ได้แก่

1.  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต 

2.  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต  สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต  ได้แก่

1.  แสง ปริมาณแสงในธรรมชาติแต่ละแห่งแตกต่างกันทำให้แต่ละบริเวณ  มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ต่างกัน มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิต เช่น

  -  เป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

  -  มีอิทธิพลต่อการหุบหรือบานของใบและดอกของพืชหลายชนิด เช่น ใบกระถิน ใบไมยราบเป็นต้น

2. น้ำ  มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตดังนี้

  -  เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชและยังเป็นตัวทำละลายที่สำคัญที่ทำให้แร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในดินละลายและซึมสู่พื้นดินให้พืชสามารถนำไปใช้ได้

  -  เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด

3.  อุณหภูมิ มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตดังนี้

-  มีผลต่อการหุบหรือบานของดอกไม้บางชนิด เช่นดอกบัวจะบาน  ในตอนกลางวันแต่จะหุบในตอนกลางคืน เป็นต้น

-  มีผลต่อการกระจายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเนื่องจากพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเมืองหนาว  เช่น  สตรอเบอรี่  สาลี่แอปเปิล  เป็นต้น  แต่พืชบางชนิด  จะเจริญเติบโตได้ดีในเมืองร้อน เช่น ทุเรียน มะละกอเป็นต้น

-  มีผลต่อลักษณะและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต เช่นสัตว์ในเขตหนาวจะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าสัตว์ที่อยู่ในเขตร้อนหรือสัตว์บางชนิดที่อยู่ในเขตหนาวจะมีขนหนามากกว่าสัตว์ในเขตร้อน

-  มีผลต่อพฤติกรรมบางประการของสัตว์ เช่น การจำศีลในฤดูหนาว  ของหมีขั้วโลกเป็นต้น

- มีอิทธิพลต่อการอพยพย้ายถิ่นชั่วคราวของสัตว์หลายชนิด เช่น   การอพยพของของนกนางแอ่นจากประเทศจีนมายังประเทศไทย  การอพยพของ  นกนางนวล
หมายเลขบันทึก: 510428เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2012 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท