Tablet: Changing, improving, or destroying?


Tablet: Changing, improving, or destroying?

แท็บเลท.... ถ้าคุณลองสมมติว่าตัวเองเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถม คุณมีความรู้สึกอย่างไรเมื่อได้เห็นแท็บเลท อยากได้ใช่หรือไม่ และขอถามต่อว่าอยากได้เพราะอะไร เพราะมันมีเกมให้เล่นใช่ไหม เพราะมันดูแล้วน่าจะมีอะไรสนุกๆให้เล่นใช่ไหม และนี่คือสิ่งที่ผมได้ลองไปถามเด็กนักเรียนชั้นประถมดูแล้วว่าส่วนใหญ่เค้าจะมองในเรื่องของความสนุกเมื่อได้ใช้มันมากกว่าสิ่งอื่นใด โจทย์ที่ตามมาก็อยู๋ที่ว่า เราจะทำอย่างไรให้เด็กได้สนุกไปพร้อมๆกับการเรียนรู้ แต่เมื่อสิ่งนี้เพิ่มขึ้นมา แน่นอนหล่ะ สิ่งที่ต้องเกิดขึ้นมาถ้าเด็กได้ใช้มัน ก็คือ ภาระ ของผู้ที่ต้องการให้ความรู็กับเด็ก การควบคุมไม่ให้เด็กเอาไปใช้นอกลู่นอกทาง สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เด็กสามารถใช้มันได้ เพราะแต่ละสถานที่ ก็มีข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน คือง่ายๆ แต่ละที่ บริบทก็ต่างกัน เทียบกันง่ายๆคือ เด็กบนดอย กับเด็กในเมือง เป็นต้น เพราะฉะนั้นก็ต้องดูว่า อย่างน้อยๆก็ต้องดูว่า แท็บเลท จะให้ประโยชน์อะไรที่เหมือนๆกันได้บ้างกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันทั้งสองที่ ก็อย่างเช่นว่าใส่ E-bookที่ให้เด็กสามารถเปิดอ่านได้ไม่ว่าอยู่ที่ไหน อะไรประมาณนี้ แล้วก็ต้องให้ชัดเจนว่า ควรจะให้เด็กใช้ตอนไหนบ้าง ทีไม่ให้เกิดผลเสียกับการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก ซึ่งผมมองว่า ถ้าเด็กติดมันจริงๆแล้ว จะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับมัน และไม่ยอมทำอย่างอื่นเลย ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการของครูบาอาจารย์และผู้ปกครองแล้วหล่ะครับว่าจะควบคุมยังไง เพราะฉะนั้น ถ้าเลือกที่จะให้เด็กใช้แท๊บเลทในการศึกษาแล้ว ก็เหมือนว่า ทั้งเด็กและครูบาอารย์รวมทั้งผู้ปกครอง ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการที่เหมือนกับว่าต้อง ยกเครื่องใหม่หมด ในการปฏิบัติต่อกัน เช่นจากเดิม เด็กพลิกหนังสืออ่านก็ต้องเปลี่ยนเป็นกดปุ่มเปิดปิด ปุ่มพลิกหน้าเป็นต้น ยิ่งมีให้ทำไฮไลท์ประโยคสำคัญได้ด้วยยิ่งดี เพื่อช่วยให้เด็กจำ เป็นต้น ส่วนอาจารย์ก็ต้องเปลี่ยนแผนการสอนจากวิธีเดิมๆให้เข้ากับแท็บเลท และยังต้องศึกษาการใช้แท็บเลทเพิ่มขึ้นมาอีก ส่วนพ่อแม่ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการควบคุมการแบ่งเวลาการใช้ชีวิตของลูกที่บ้าน อย่างเช่น ลูกมัวเล่นแท๊บเลทก่อนนอน ทำให้นอนดึก ไรแบบนี้เป็นต้น และอื่นๆอีกที่ต้องมานั่งคิดกันยกใหญ่เลยทีเดียว ซึ่งสุดท้ายแล้ว ต้องมาดูที่ผลลัพธ์ว่า ลูกเรียนดีขึ้นหรือป่าว แล้วก็ควรจะมาวัดกันอีกทีว่า แท็บเลทเหมาะกับเอาไปใช้ในห้องเรียนหรือป่าว หรือเอาไว้ใช้เฉพาะตอนยามว่างของเด็กเท่านั้นพอ ในส่วนนี้ ผมขอพูดเพียงเท่านี้ มาในเรื่องของข้อดีข้อเสียเท่าที่ผมพอจะคิดได้กันต่อนะครับ

ถ้ามองในแง่ของเด็กนักเรียนชั้นประถม เราต้องแยกออกมาเป็นสองด้าน ด้านแรกคือ เด็กจะได้ประโยชน์อะไรจากมันจริงๆ ด้านที่สองคือ ถ้าเด็กใช้มันไปแล้ว มีข้อเสียอะไรบ้างที่น่าจะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งถ้ามาวิเคราะห์กันตรงนี้ออกมาแล้ว ผู้ผลิตและผู้ป้อนข้อมูลลงใน แท็บเลท ควรให้ความสนใจและคำนึงถึงให้มาก ว่าควรจะใส่ฟังก์ชั่น สื่่อการสอน และตั้งข้อจำกัดอะไรลงไปบ้าง เพื่อที่จะให้เด็กใช้แล้วเกิดแต่ข้อดีและพัฒนาการเรียนรู้ได้ดีกว่าวิถีการเรียนแบบเดิมๆได้จริงๆ ในข้อดีที่เห็นๆกันอยู่ ก็จะเป็น... -เด็กในสัมผัสกับเทคโนโลยีที่ช่วยในการศึกษา -แท็บเลทเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เด็กมีความรู้สึกอยากใช้ -ช่วยทำให้การเรียนสนุกขึ้น -อาจมีเกมของวิชาต่างๆใส่ลงไปให้เด็กเล่นเพื่อฝึกฝนการเรียนรู้และการตอบสนองของเด็ก- ถ้าเป็นหนังสืออีบุ๊ก ก็อาจจะสะดวกมากขึ้นในการพกพาไปอ่าน แทนที่จะหิ้วหนังสือหนักๆหลายๆเล่มหลายๆวิชา -สามารถนำความรู้ด้านการศึกษาเข้าไปแทรกซึมกับสิ่งที่เด็กกำลังให้ความสนใจได้ง่าย นอกจากนี้แล้ว ผมก็เชื่อว่ายังมีข้อดีอื่นๆอีกมากมายถ้าใช้อย่างมีขอบเขตและถูกวิธี ที่คนนอกเหนือจากผมยังคิดได้ แต่ผมขอแค่เพียงเท่านี้ก็พอ

ทีนี้มาในส่วนของข้อที่อาจบอกได้ว่าทำให้เกิดข้อเสียต่อเด็กนักเรียน ก็จะเป็น... - ทักษะการ เขียน จดบันทึก ของเด็กอาจลดลง เนื่องจากเด็กจะเริ่มคุ้นเคยกับการพิมพ์บนแท๊บเลทมากขึ้น -เด็กอาจจะมั่วแต่เล่นแบบไม่รู้จักเวล่ำเวลา -เด็กอาจจะลดความสนใจในสิ่งที่อาจารย์กำลังสอน คือ ช่วงที่อาจารย์สอนเรื่องนี้ในแท๊บเลท เด็กอาจจะแอบเล่นอย่างอื่นนอกเหนือที่อาจารย์สอนก็ได้ โดยเฉพาะแอบเล่นเกมในเครื่องในขณะเวลาเรียน เป็นต้น -ช่วงทำการบ้านของเด็กที่บ้าน อาจไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เนื่องจากว่า แท๊บเลทไปกวนสมาธิ ในกรณีที่เด็กติดมันแล้วจริงๆ - ถ้ามอง แท๊บเลท ให้คล้ายกับเฟสบุ๊ก ก็คือ เฟสบุ๊ก คนจะมัวแต่แชท ดูรูป ไปเม้นท์ แทนที่จะนั่งหาความรู้อื่นๆในอินเตอร์เนต เป็นต้น ถ้าแท็บเลท เด็กก็จะหาแต่เกมไว้เล่น แทนทีจะเปิดอีบุ๊กมาอ่าน หาความรู้ เป็นต้น

ก็ขอเพียงเท่านี้สำหรับข้อที่อาจทำให้เกิดข้อเสีย แต่อย่างไรก็ตาม ในทั้งหมดนี้ ถ้ามองให้เด็กคือ ผลิตภัณฑ์ ว่าจะได้คุณภาพหรือไม่ ก็ต้อง อยู๋ที่ การตั้งเป้าหมายของผลลัพธ์ที่อยากได้ การวางแผนและออกแบบ การดำเนินการ การควบคุม การประเมิน และการปรับปรุงพัฒนาต่อไปเรี่อยๆ ของครูบาอาจารย์ ผู้ปกครองเด็ก และผู้พัฒนาซอฟแวร์ของของแท๊บเลทซึ่งถือว่าเป็นผู้ผลิตที่สำคัญ เพื่อให้เด็กได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ และสุดท้ายเด็กได้ทำประโยชน์ให้ทั้งตัวเองและสังคมได้ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ในความคิดของผมแล้ว ก่อนที่จะให้เด็กได้ใช้แท๊บเลทกันจริงๆจังๆ ทางผู้ผลิตจะต้องพร้อม ไม่ว่าจะเป็นส่วนของอาจารย์ ผู้ปกครอง และผู้พัฒนาซอฟแวร์ และส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจารย์ที่ต้องทำแผนการสอนรวมถึงสื่อการเรียนรู้ให้เด็กนักเรียนและวิธีการควบคุมให้เด็กอยู๋ในขอบเขตการเรียนรู้ ซึ่งไม่รู้ว่า จะเป็นภาระมากน้อยเพียงใดให้กับอาจารย์ผู้สอน และผู้ปกครองเองที่ต้องดูและการใช้ชีวิตของลูกหลังเลิกเรียน ให้ถูกต้องไม่ให้ลูกเอาแท๊บเลทไปเล่นจนทำตัวเหลวไหล และสุดท้ายผู้พัฒนาแท๊บเลท ที่ต้องเลือกผลิตและพัฒนาสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ให้กับเด็กจริงๆ เพื่อให้ไช่วยการเรียนรู็ของเด็กเป็นไปอย่างเต็มที่และสะดวกมากขึ้นในการหาความรู้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะกลายเป็นการสร้างกฏเกณฑ์และกติกาขึ้นมาใหม่ให้กับทุกฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายก็จะต้องมาดูกันอีกว่า รับได้หรือไม่ได้ในกฏเกณฑ์และกติกาที่ถูกสร้างขึ้นมานี้

นอกจากที่กล่าวมานั้น ยังมีอีกเยอะแยะที่ต้องมาคิดกันเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง Tabletว่าสุดท้ายแล้วจะคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ แต่ที่กล่าวมานั้น อย่างน้อยๆขอให้ได้สร้างประโยชน์หรือกระตุ้นความคิดแด่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยที่จะเอาไปคิดต่อยอดต่อไป ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเรานะครับ

สุดท้ายแล้ว ผมอยากจะบอกว่า การใช้แท็บเลทมันจะคุ้มค่าหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ราคาเครื่อง แต่อยู่ที่คุณภาพของเด็กที่เติบโตมาพร้อมกับTablet ...

                                                                                                             ...รอน 


คำสำคัญ (Tags): #tablet
หมายเลขบันทึก: 510263เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2012 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

...."แท็บเล็ต"เฉกสรรพสิ่งให้.............โทษคุณ

สติ"ตระหนักใช้"เป็นบุญ....................แก่หล้า

แหล่งรู้ เทียบต้นทุน..............................แสนถูก

จงมั่น มุค้นคว้า......................................ใส่พร้อม"ธรรม"สอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท