ลองดูขึ้นทะเบียนข้าวในเวทีสัมมนาที่ชัยนาท


 

              การสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับจังหวัด(PW) เมื่อวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชัยนาท อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท การดำเนินงานถ้ารักษาการเกษตรจังหวัดชัยนาท (นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร) ไม่อาศัยความชำนาญจากเวทีการวางแผนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน (PAP) มาใช้  ด้วยการส่งประเด็นต่างๆ เป็นคำถามถึงปัญหาและวิธีการดำเนินงานในพื้นที่ให้กับผู้ร่วมสัมมนามีส่วนร่วมในการระบายความในใจและเสนอความคิดอย่างอิสระ  ถ้าประธานไม่กระตุ้นการนำเสนอให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเวทีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการกลายเป็นการประชุม อย่างแน่นอน องค์วามรู้ต่างๆ ก็จะมิได้ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันใน การสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับจังหวัด(PW)


              ประเด็นที่น่าสนใจในวันนี้ผู้เขียนขอนำ การดำเนินงานการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ 3 ชนิด ซึ่งการขึ้นทะเบียน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล ส่วนใหญ่จะขอให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนใหม่ เนื่องจากการยืนยัน มีความยุ่งยากกับการตรวจสอบ ผิดพลาดได้ง่าย และเกิดการหลงลืมแปลงนาของเกษตรกร

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล  ได้นำเสนอถึงการดำเนินงานในพื้นที่ว่า

          1.  ประชาสัมพันธ์โดยอาศัยผู้ใหญ่บ้าน เกษตรกรอาสา ปิดประกาศ กลุ่มเกษตรกรต่างๆ และหอกระจายข่าวให้เกษตรกรเตรียมหลักฐาน และเข้าร่วมประชุมเพื่อการขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามนัด

          2.  ประชุมอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านชี้แจง ทบทวนแบบฟอร์มการขึ้นทะเบียน  เพื่อเป็นผู้ช่วยในการชี้แจงช่วยเหลือการกรอกข้อมูลให้กับการเกษตร

          3.  ประชุมเกษตรกรรายหมู่บ้าน เพื่อชี้แจง และย้ำถึงความถูกต้อง ชัดเจน ของข้อมูล เพื่อไม่เกิดความผิดพลาดที่จะส่งผลให้เกิดความล่าช้า หรือความยุ่งยากต่อการเข้าร่วมโครงการจำนำข้าว โดยมี อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านช่วยเหลือ ก่อนมอบแบบฟอร์มให้กับเกษตรกรนำไปกรอกข้อมูล และให้จัดส่งพร้อมเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ตรงต่อเวลา ถ้าส่งช้าจะทำให้งานล่าช้าไปด้วย โดยขอให้เกษตรกรทบทวนและอ่านข้อมูลให้ดีก่อนเซ็นชื่อกำกับ

         4.  ตรวจสอบย้อนกลับอย่างระเอียด

         5.  จัดทำตารางแบบฟอร์มที่มีข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญ เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ ป้องกันการหลงลืม ก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลบันทึกเข้าสูระบบคอมพิวเตอร์ และพิมพ์ข้อมูลสำหรับทำประชาคม

       6.  นำเอกสารที่พิมพ์ไว้ติดประกาศก่อนการทำปะชามคมอย่างน้อย 5 วัน และอ่านข้อมูลอย่างละเอียด ต้องย้ำวันปลูกและวันเก็บเกี่ยวให้ดี เพื่อป้องกันความผิดพลาดน้อยที่สุด พร้อมให้เกษตรกรลงนามกำกับอีกครั้ง เพื่อให้เกษตรกรดู  ป้องกันการโต้แย้งของเกษตรกรด้วยคำยอดนิยมว่า ฉันไม่รู้”

      7.  นำเอกสารติดประกาศอีกครั้ง

        ข้อมูลที่ผิดพลาดประจำคือ วันเก็บเกี่ยวที่คลาดเคลื่อน มากกว่า 10 วัน เกิดจาก  เกษตรกรปลูกข้าวไม่พร้อมกัน ส่งผลให้เกษตรกรผู้มีแปลงนาอยู่ปลายทางต้องเก็บเกี่ยวข้าวพร้อมแปลงนาต้นทาง  หรือเก็บเกี่ยวข้าวพร้อมๆ กับแปลงนาอื่น เนื่องจากรถเกี่ยวจะเป็นผู้เสนอให้ปฏิบัติตามความต้องการของรถเกี่ยว

      ขอเป็นกำลังใจกับนักส่งเสริมการเกษตรทุกท่าน ถึงแม้จะตรวจสอบ ป้องกันอย่างไร เมื่อมีเวลาที่จำกัด จำนวนเกษตรกรที่มีมาก งานการต่างๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคหลังไหลเข้ามา ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้น อีกทั้งปัจจุบันความเห็นอกเห็นใจฉันญาติมิตรจะมีน้อยลงทุกวัน  ซึ่งบางครั้งงานที่ต้องการความถูกต้อง ต้องใช้เวลาที่เพียงพอ แต่เมื่อออกใบรับรองช้าไม่ทันใจเกษตรกรใบร้องเรียนจะไปสู่ส่วนกลางทันที งานก็มากแล้วยังต้องมาชี้แจงด้วยหัวใจที่เจ็บปวด ทำไมไม่เห็นใจกันบ้างนะ มิตรไมตรีที่ดี สำหรับเกษตรกรกับนักส่งเสริมอยู่ไหน” ถึงงานจะหนัก และจะได้รับความเจ็บปวดเท่าใดก็ตาม นักส่งเสริมไม่เคยลืม และทึ้งภาระของเขาอย่างแน่นอน เพราะ

                      “แนะนำ ส่งเสริม เพิ่มพูนผลผลิต คือ ภารกิจของ เกษตรตำบล”


หมายเลขบันทึก: 510011เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท