มือชามาก อยากผ่าตัด แต่หายทุเลาดี เพราะทดลองเชื่อแพทย์


มีผป. จำนวนหนึ่ง มาตรวจ และ ไม่ได้เชื่อ หรือ ทำตามคำแนะนำของแพทย์ หรือ บางรายเชื่อและทำตามคำแนะนำทุกอย่าง แต่ ไม่ได้ทุเลา

การเจ็บป่วย และ การรักษา จึงมีหลายแนวคิด หลายมุมมอง หลายแนวทางการรักษา

มีเรื่องเล่าผป.หลายหนึ่ง อายุ 70 ปี ทำงานการเกษตรทุกชนิด มีอาการ มือซ้าย ชา ทั้งมือ และนิ้ว ชามากทางด้านนิ้วก้อย

ชามานาน นับปี ชามาก ชาน้อย เป็นระยะ ระยะหลังมานี้ มีอาการมากตามลำดับ

ผป.มีอาการ ปวด บ่า ปวดสะบัก เป็นครั้งคราว ซีกเดียวกันกับที่ มีอาการชา คือ ข้างซ้าย

หมอทดลองแนะนำว่า อย่าเพิ่งรีบร้อนไปผ่าตัด อะไร ให้ใช้หลักการ มือแขนอุ่น ให้หมุนเวียนเลือดดี ระยะหนึ่งก่อน อาจจะ ดีกว่า รีบร้อนไปผ่าตัด

ผ่านไป2 สัปดาห์ ผป. แจ้งผลว่า อาการดีขึ้นเล็กน้อย

ผ่านไป 2 เดือน ผป. โม้เลยว่า ตอนนี้ ไม่มีอาการชาหลงเหลือเลย หายสนิท แล้วโม้ว่า มีการค้นคว้าทดลอง นอนแล้วสวมแบบต่างๆ ตั้งแต่ ใส่ถุงมือนอน ใส่แขนยาวนอน ใส่ผ้ายืดหุ้มแขนนอน ทำหลายๆอย่าง อาการก็ดีขึ้นเร็ว แล้วก็ทดลองลดการสวมหุ้มแขนมือ

ผป.หลายนี้สนิทกับผม เคยฝังเข็มให้ก็ทุเลาบรรเทา บางทีปวดชามือ บางที ปวดเท้าปวดขา เพาระนุ่งขาสั้นนอน และทำงานหนัก เดินยืนมาก

ตอนหลังผมก็แนะนำการปฏิบัติตน แล้วทำทีเหินห่าง นานๆ ไปเยี่ยมหากันสักครั้ง ปรากฏว่าได้ผลดี ผป.สามารถเรียนรู้แนวคิด และ ทดลองปฏิบัติตน พลิกแพลงการปฏิบัติตน ในสิ่งมี่หมอไม่ได้แนะนำ เช่น ใส่ถุงมือนอน

เรื่องเล่านี้ มีเรื่องน่าคิดว่า ในบทบาทการเป็นแพทย์ บางอารมณ์ เราก็แนะนำยารักษา ซึ่งทุเลาบ้าง และหมดยามีอาการอีก และบางอารมณ์ เราไม่ได้แนะนำการใช้ยาเลย แต่แนะนำการดูแลตนเองให้เข้าใจ เหตุขอลโรค และ การหายจากโรค โดยไม่ต้องใช้ยา และบางกรณีของผป. เขาหายทุเลาได้นานจากโรค โดยไม่ต้องใช้ยา

หากเราพบ ผป. แบบเดิม เราควรเริ่มจาก รักษา ด้วยคำแนะนำปฏิบัติตน โดยไม่ต้องแนะนำการใช้ยา จะผิดจรรยาบรรณแพทย์มาก หรือเปล่า หรือ เพราะ ลำพังการให้คำแนะนำในผป.บางราย ผป.จะตีความว่าแพทย์ไม่ตั้งใจรักษาอย่างที่ควรเป็น

อย่างกรณีที่ผป. ร้องขอฉีดยาแก้ปวด ทั้งที่เพิ่งไปฉีดจากคลินิคไม่ทุเลา และ อธิบายอย่างไร ก็ไม่รับฟัง ยังต้องการจะฉีดยา (ผป.ไปฉีดคลินิคเสียเงิน มาฉีด รพ ไม่ต้องเสียเงิน ) หากขืนแนะนำ ไม่ฉีดยารักษา ก็คงจะโดนฟ้องผู้อำนวยการ

ผป.รายที่เล่ามานี้ เป็นความบังเอิญ และโชคดี ทั้งสองฝ่าย ผป. และ แพทย์ คือ ผป.ปรึกษาแพทย์ ขณะที่แพทย์ไปเยี่ยมคุยที่บ้านผป. และ ผป. คุ้นเคยกับแพทย์มาก พอที่จะเชื่อและลองทำตาม เพราะไปพบกันที่บ้าน ไม่สามารถหยิบยื่น หรือสั่งจ่ายยาให้ในทันที แพทย์ก็ใช้วาทะศิลป์ ชี้แจงแสดง เหตุและ ผล ของการป่วยการหาย จากโรค

ฟลุ๊คมาก เรื่องเล่านี้ เป็นสิ่งย้อมใจแพทย์ให้สนุก และ มีกำลังใจอธิบาย ความคิด ความเชื่อของแพทย์ ที่สังเกตเอาว่า พูดไปผป.ส่วนใหญ่ ไม่สนใจฟัง ไม่เชื่อ แต่พอฟังและเชื่อ ทำแล้วได้ผล สักรายหนึ่ง ก็ชื่นใจ หายเบื่อ.....ไปหลายวัน

หมายเลขบันทึก: 509746เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2012 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ความจริงแนวคิดในการรักษาด้วยการไม่ใช้ยา แต่ให้คำแนะนำนี้เป็นสิ่งที่เริ่มจะมีการแนะนำให้ทำมากขึ้นแล้วนะคะ คุณหมอ ถ้ามีการบันทึกเล่ากันบ่อยๆอาจจะช่วยให้มีการทำสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆนะคะ นอกจากจะช่วยให้หายจากโรคอย่างฉลาดแล้วยังเป็นการรักษาแบบยั่งยืน คือช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักคิด วิเคราะห์ และดูแลรักษาตัวเอง ไม่ใช่หวังแต่พึ่งแพทย์ พึ่งยาเพียงด้านเดียว

ขอบคุณ คุณโอ๋ ที่มาให้กำลังใจ

ขอบคุณคะ ได้กำลังใจขึ้นจริง ผู้ป่วยมาด้วยมือชา ไม่รู้จะทำอย่างไร จ่าย B1-6-12 ไปก็ไม่เห็นดีขึ้น ตอนหลังมีทางออกคือให้นวดแผนไทย (เข้าหลักมืออุ่นไหมคะ)

คุณหมอปัท

อาการปวดชา หรือ ชา อย่างเดียว ส่วนใหญ่ เกี่ยวกับ เส้นเอ็นตึง จากการใช้งาน ทำมาหากิน

กล้ามเนื้อเส้นเอ็นตึง ก็ทำให้ หมุนเวียนเลือดไม่ดี ก็มีอาการปวด

เมื่อปล่อยให้ กระทบ ความเย็น เรื้อรังอีก ความเย็น ทำให้หมุนเวียนโลหิตไม่ดี ก็ปวดมากขึ้นอีก

ผป. ที่มากายภาพบำบัด มักจะได้รับ การประคบอุ่นร้อน เช่น Hot pack แช่พาราฟินบ้าง หรือแม้แต่อาการปวดเอว ที่ใช้ LS support ก็เป็นการเพิ่มความอุ่น เหมือนจับ เอว มาใส่ถุงเท้า นอกจากจะเชื่อว่า ช่วยsupport กล้ามเนื้อลดการเกร็ง

ผมคิดว่า การสวมอุ่น ประหยัดเงินกว่า ประหยัดพลังงาน กว่า ทำสิ่งอื่นให้อุ่น เพื่อมาแนบนาบประคบ แขนขาที่ปวด

ฝรั่งมีวัฒนธรรม การสวม long john ให้อุ่น หรือการสวมถุงน่องให้อุ่น

ชาวบ้านชนบทเรา ยังมองไม่ทะลุ ตัวเหตุของการปวด จึงแก้ด้วย การฉีดยาแก้ปวด แต่เส้นไม่หายตึงเกร็ง

จีน ก็สอน ว่า ปวดเพราะ (เลือดลม) อุดตันกั้นไม่ทะลุทะลวง

                เมื่อ(เลือดลม) ไม่อุดตัน ทะลวงดี  ก็หายปวด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท