SilverJrMax
นาย ภูมินทร์ SilverJrMax ใจลังก๋า

น้ำ"เมื่อโลกกระหายน้ำ"


ไม่มีทางที่

ดาวเคราะห์

สีน้ำเงินดวงนี้

จะขาดแคลนน้ำ

แต่ถ้าเป็นน้ำจืด

ละก็ไม่แน่

เทคโนโลยีใหม่ๆ

อาจช่วยหาวิธีที่

ดีขึ้นในการ...



เปลี่ยนทะเลให้เป็นน้ำจืด

       ทุกวันนี้ ผู้คนราว 300 ล้านคนทั่วโลกใช้น้ำอุปโภค

บริโภคจากน้ำทะเลหรือน้ำบาดาลรสกร่อยเพิ่มขึ้น

จากเมื่อสิบปีก่อนถึงหนึ่งเท่าตัว เทคโนโลยีแยก

เกลือออกจากน้ำ (desalination) เริ่มมีการนำมาใช้

เมื่อทศวรรษ 1970 ในภูมิภาคตะวันออกกลาง

จากนั้นจึงแพร์ขยายไปยัง 150 ประเทศ ภายใน

อีกหกปีข้างหน้า โรงแยกเกลือออกจากน้ำหรือโรง

กลั่นน้ำทะเลแห่งใหม่ๆอาจช่วยเพิ่มปริมาณน้ำจืด

ให้ชาวโลกได้วันละเกือบ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร

เหตุผลที่ทำให้เทคโนโลยีนี้ได้รับความนิยมก็คือ

เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ภาคการเกษตรและ

อุตสาหกรรมขยายตัว น้ำจืดโดยเฉพาะน้ำสะอาดก็

ยิ่งหายากขึ้น แม้วิธีนี้จะไม่ใช่ทางเลือกราคาถูกใน

การผลิตน้ำจืด แต่บางครั้งก็อาจเป็นวิธีการเดี่ยวที่มี

กระนั้น เทคโนโลยีนี้มีราคาถูกลงกว่าเมื่อ 20

ปี ก่อนมาก วิธีการแยกเกลือออกจากน้ำวิธีแรกสุด

และยังคงแพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะ

ในประเทศผู้ค้าน้ำมันแถบอ่าวเปอร์เซีย คือ

การกลั่น (distillation) ที่อาศัยความร้อนต้มน้ำทะเล

จนกลายเป็นไอ จากนั้นจำนำไปผ่านกระบวนการ

ควบแน่น แต่เทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าซึ่งใช้กันตาม

โรงงานที่เพิ่งเปิดดำเนินการแถบอ่าวแทมปาใน

สามเทคโนโลยี ที่น่าจะช่วยลดความต้องการใช้พลังงานในการขจัดเกลือได้ถึงร้อยละ 30 การแข่งขันในการพัฒนายังคงดำเนินต่อไป


      รัฐฟลอริดา และประเทศออสเตรเลีย คือกระบวนการ รีเวิร์สออสโมซิส (reverse osmosis) ซึ่งน้ำจะถูกดันผ่านเยื่อที่คอยดักจับเกลือ แม้วิธีเพิ่มแรงดันให้น้ำทะเลนี้จะใช้พลังงานน้อยกว่าการต้ม แต่ก็ยังมีราคาสูงอยู่ดี

      ปัจจุบัน นักจิจัยกำลังศึกษาเทคโนโลยีใหม่อย่าง น้อยสามวิธีที่สามารถลดการใช้พลังงานลงได้อีกเทคโนโลยีที่พัฒนาจนใกล้จะออกวางแผงได้มากที่สุดมีชื่อว่า กระบวนการฟอร์เวิร์ดออสโมซิส (forward osmosis) ซึ่งจะสูบน้ำผ่านเยื่อที่เต็มไปด้วยรูพรุนไปยังสารละลายที่มีความเข้มข้นของเกลือมากกว่าน้ำทะเลเสียอีก แต่เกลือชนิดนี้ระเหยได้ง่าย อีกสองวิธีที่เหลือเป็นการออกแบบตัวเยื่อใหม่ วิธีหนึ่งใช้ท่อนาโนคาร์บอน (carbon nanotube) ทำหน้าที่เป็นเหมือนรูขุมขน ส่วนอีกวิธีใช้โปรตีนชนิดเดียวกับที่ช่วยลำเลียงน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ในสิ่งมีชีวิต
    แต่ทั้งสามวิธีก็ไม่น่าจะเป็นทางออกของความเดือดร้อนเรื่องน้ำทั้งหมดในโลกได้ กระบวนการแยกเกลือออกจากน้ำจะทิ้งน้ำเกลือเข้มข้นไว้อย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจทำลายสภาพแวดล้อมหรือแม้แต่ตัวแหล่งน้ำเองยิ่งไปกว่านั่น ไม่มีเทคโนโลยีใหม่วิธีไหนที่เรียบง่ายและราคาถูกพอจะเป็นความหวังให้กับคนยากคนจนได้เลย ฟารุก เอล-บัซ นักธรณีวิทยาจากมหาลัยบอสตันกล่าวและเล่าว่า เขาเพิ่งกลับจากเข้าร่วมประชุม อุตสาหกรรมการขจัดเกลือเพื่อหาหนทางนำน้ำจืดไปยังดินแดนที่บอบช้ำจากสงครามอย่างดาร์ฟูร์ในซูดาน "ผมถามพวกวิศวกรว่า 'คุณจะทำอย่างไรถ้าคุณอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆที่มีประชากร 3000 คน และน้ำบาดาลอยู่ลึกลงไปตั้ง 30 เมตร แถมยังเป็นน้ำเค็ม ซ้ำร้ายยังไม่มีไฟฟ้าใช้อีกด้วย' " เอล-บัซทิ้งท้ายว่า "พวกเขาอึ้งไปตามๆกันเลยครับ" __คาเรน อี.แลงจ์


คำสำคัญ (Tags): #น้ำ
หมายเลขบันทึก: 509485เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2012 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 08:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท