แท็บเล็ต สร้างปัญญาหรือสร้างปัญหาให้เด็กไทย


การใช้แท็บเล็ต (Tablet) จะสร้างปัญญาหรือสร้างปัญหาอยู่ที่วิธีดำเนินการทั้งในส่วนภาครัฐ โรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง

          ครูนกสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  จึงยังห่างไกลจากการสัมผัส  การเรียนรู้และใช้  "แท็บเล็ต (Tablet)" หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาอย่างเป็นระบบจากหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง  เนื่องจากรัฐบาลแจกให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑  ตามโครงการ One Tablet PC per Child 
           ดังนั้นในห้องเรียนจึงมีนักเรียนเคยพูดกับครูนกว่า "ทำไมเขาไม่แจกรุ่นผมละครับ"   นั่นสินะครูเองก็สงสัยว่าทำไมต้องเริ่มจากน้องตัวเล็กที่วัยของพวกเขาต้องพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กๆ พัฒนาทักษะทางสังคม และพัฒนาทักษะชีวิตโดยการเรียนรู้จากการลงมือทำ หรือจากสื่อของจริงจะชัดเจนที่สุด   ทำให้คำว่า "สังคมก้มหน้า" เริ่มตั้งแต่เด็กตัวน้อยๆ อย่างเป็นรูปธรรม  เด็กจะมีมุมมองเพียงแค่สิ่งในมือตรงหน้า  ความสามารถในการมองหรือสังเกตสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวจะลดลงหรือไม่  เรากำลังปลูกฝังสิ่งใดให้กับเด็กในวัยซึมซับและเรียนรู้เป็นคำถามที่ยังไม่สรุปคำตอบที่ชัดเจน  สำหรับครูนกเองไม่อยากให้ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กไทยต้องลดลงเพราะการสำรวจ IQ พบว่า ตัวเลข IQ ของเด็กไทยลดลงเรื่อยๆ ทั้งที่แรกเกิดมีไอคิวเฉลี่ย ๑๓๐  (ที่มา http://www.manager.co.th/family/
viewnews.aspx?NewsID=9550000111248)
  
           หากแต่เมื่อต้องดำเนินการจึงต้องพยายามปรับเปลี่ยนเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ที่ชื่อ Tablet ให้เกิดประโยชน์ ในมุมมองของครูที่มีประสบการณ์การสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ขอเสนอดังนี้
            ๑.  อบรมให้ความรู้ครู  บุคลาการทางการศึกษา  ผู้นำชุมชน และผู้ปกครองอย่างคู่ขนานในช่วงเวลาเดียวกัน  เพื่อการนำ Tablet สู่ห้องเรียนจะเป็นไปในลักษณะที่ส่งเสริมการเรียนรู้  เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กที่เหมาะสมกับวัย
            ๒.  ครอบครัว และโรงเรียนต้องมีกติกาที่ชัดเจนในการใช้ Tablet เพื่อการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ  มีหลักสูตรที่สนับสนุนให้มีความพอเหมาะในการใช้ tablet  เพื่อป้องกันการใช้เวลาที่มากเกินไปกับการใช้ Tablet จนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาวะทางกายและทางจิตใจกับเด็ก
            ๓.  ส่งเสริมการสร้างสื่อสร้างสรรค์  เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กๆ
            สรุปสิ่งใดๆ เป็นโลกนี้ต้องมีสองด้านที่สำคัญคือ ความพอดี  ไม่มากและไม่น้อยเกินไปน่าจะทำให้การใช้ Tablet ส่งผลเชิงบวกในการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยสามารถตอบโจทย์ได้ว่า สร้างปัญญามากกว่าปัญหาให้กับเด็กไทย   นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ครูคนแรกคือพ่อแม่  และครูจริงๆ (ที่พร่ำสอนและบ่นหรือมี application แบบ infinity) ในห้องเรียนยังเป็นสิ่งจำเป็นต้องในการทำให้เด็กเป็น คนดี คนเก่ง และอยู่ได้อย่างมีความสุขในสังคมไทย
            


คำสำคัญ (Tags): #tablet#แท็บเลต
หมายเลขบันทึก: 509456เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2012 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

      แทบเล็ต ป.๑   ฟังเสียงคุณครูหลายๆ ท่าน "บ่น" กันเข้ามามากมายครับ

      ผมมองในแง่ดี  มองในเชิงบวก  เป็นสื่อการสอนรายบุคคล ทีดีมากเลยครับ

      เพียงแต่ว่า  ต้องรู้จักใช้ ให้พอเหมาะ  พอดี   พอควร

      ที่ผมไปเยี่ยมห้องเรียนมา ก็โอเคนะครับ   แต่ก็ไปเยี่ยมในช่วงสั้นๆ  ก็คงเจอแต่เรื่องดีๆ ๕๕

 

 

คนใช้ไม่ได้รับการอบรมเรื่องคุณธรรมการใช้งาน

เหมือนคนป่าได้อาวุธ ลิงได้แก้วเชียวนะครับ

เรื่อง คุณธรรมการใช้งานนี่ สำคัญมากเลยครับ

  นักวิชาการบางท่าน เสนอว่่าในการอบรม ผู้รับผิดชอบ เรื่องคอมพิวเตอร์  ควรปลูกฝังเรื่องคุณธรรมในการใช้งานด้วย   แต่ที่ผ่านมา  มักจะไม่ค่อยได้ทำ ได้ปลูกฝังัน

  ก็เหมือนคนป่าได้อาวุธ  หรือ ลิงได้แก้วละครับ

การใช้ TABLET มีผลทั้งทางบวกและทางลบ อยู่ที่การใช้ครับ อย่างไรก็ตามผมคิดว่าTABLET มีประโยชน์ไม่น้อย

สวัสดีค่ะ ท่าน small man

         -  ครูประถมเล่าให้ฟังถึงภาระหน้าที่ในการชาร์จแบตเตอรี่  ซึ่งแก้ปัญหาโดยให้นักเรียนดูแลที่บ้าน
         -  เรื่องคุณธรรมและกติกาในการใช้ Tablet คงต้องให้ชัดเจนและเผยแพร่ความรู้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
         -  ขอบคุณค่ะที่แวะมาเติมเต็ม และให้คำแนะนำที่มีประโยชน์

สวัสดค่ะ อาจารย์โสภณ

         Tablet เองเป็นเครื่องมือที่มากความสามารถและประโยชน์หลากหลาย  คนใช้จะเท่าทันหรือไม่เป็นสิ่งที่เราต้องช่วยกันสร้างประโยชน์จาก Tablet ให้มากที่สุด

สวัสดีค่ะ ท่านศน.เฉลิมชัย

         เห็นด่วยกับแนวคิด.......Tablet จัดเป็นเครื่องมือที่เอื้ออำนวยประโยชน์มากมายในการเรียนรู้  แต่จะมีประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพของ Tablet หรือไม่  ขึ้นกับเจตนาของผู้ใช้นะค่ะ

Tabet อุปกรณ์ในการเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็ก แม้กระทั่ง ทีวี ที่เปิดใหเดุอย่างเสรีมีทั้ง ดีและไม่ดี ต้องอยู่ที่ว่าเมื่อเด็กเล่นหรือใข้ประโยชน์จากมันจะต้องมีผู้ปกครองที่คอยดุอยู่ข้างๆด้วยเพื่อแนะนำว่าไหนดีไม่ดี และนำแนะสิ่งทีถูกต้องไม่ใช่ให้เค้าดูลำพัง เด็กเล็กยังแยกแยะไม่ออก แต่สำหรับตัวฉันว่า tabet ช่วยเสริมสร้างพัฒนาด้านสมอง ของลูก แต่เราต้องเลือกโหลดแอพพิเคชั่นที่ มีประโยชน์ ไม่ใช่โหลดเกมส์ที่สร้างความรุนแรง คะ

สวัสดีค่ะ คุณ tima

          ขอบคุณค่ะที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ชื่นชมในความเอาใจใส่ต่อลูกอย่างเข้าใจและมีเหตุผลค่ะ

...."แท็บเล็ต"เฉกสรรพสิ่งให้.............โทษคุณ

สติ"ตระหนักใช้"เป็นบุญ....................แก่หล้า

แหล่งรู้ เทียบต้นทุน..............................แสนถูก

จงมั่น มุค้นคว้า......................................ใส่พร้อม"ธรรม"สอน

ไม่ปฏิเสธสำหรับเทคโนโลยีสมัยใหม่  แต่กับนักเรียน ป.1  ซึ่งสมองน่าจะได้รับการพัฒนาที่ดี  ทราบไหมว่า การเปิดบทเรียนจากหนังสือ  กับเปิดจาก Tablet  ต่างกันมาก  ปัญหาสารพัดทั้งแบตเตอรี  ทั้งระบบ  การจะนำเครื่องไปแก้ไขปัญหา  ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย  เสียเวลาในการแก้ปัญหาเครื่อง  เสียเวลาการสอน  รับรองได้เลยว่า  ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านจะไม่ได้รับทราบปัญหานี่แน่นอน  ถ้าเดินหน้าเต็มระบบ ไม่ต้องคิดว่า งบประมาณจะสูญไปเท่าไร กับผลได้ที่จะเกิดกับนักเรียน ขอบคุณ คุณ noktalay  ที่ตั้งประเด็นได้น่าสนใจและให้ข้อคิดที่น่าติดตามมากนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท