เดือนเจียง (เดือนอ้าย) : บุญเข้ากรรม (ฮีตสิบสอง ประเพณี 12 เดือนของชาวอีสาน)


บุญเข้ากรรมเป็นกิจกรรมของสงฆ์ เมื่อถึงเดือนเจียงพระสงฆ์จะต้องเข้ากรรม ซึ่งเป็นพิธีที่เรียกว่า "เข้าปริวาสกรรม"โดยให้พระภิกษุที่ต้องอาบัติ (กระทำผิด) ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์เพื่อเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนเอง และมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระวินัย พิธีเข้าปริวาสกรรมจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ โดยกำหนดไว้ 9 ราตรี พระภิกษุสงฆ์ที่ต้องการเข้าปริวาสกรรม ต้องไปพักอยู่ในสถานที่สงบไม่มีผู้คนพลุกพล่าน (อาจเป็นบริเวณวัดก็ได้) โดยมีกุฏิชั่วคราวเป็นหลังๆ พระภิกษุสงฆ์ที่เข้าปริวาสกรรมคราวหนึ่งๆ จะมีจำนวนเท่าใดก็ได้ แต่ต้องบอกพระภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูปไว้ก่อนว่าตนเองจะเข้ากรรม และเมื่อถึงเวลาออกกรรมจะมีพระสงฆ์ 20 รูป มารับออกกรรม พิธีทำบุญเข้ากรรมหรือปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์นี้ไม่ถือว่าเป็นการล้างบาป แต่จะถือว่าเป็นการปวารณาตนว่าจะไม่กระทำผิดอีก ส่วนกิจของชาวพุทธศาสนิกชนในบุญเข้ากรรมนี้ คือ การหาข้าวของเครื่องอุปโภคบริโภคถวายพระซึ่งถือว่าจะได้บุญมากกว่าการทำบุญตักบาตรทั่วไป


หมายเหตุ  ฮีตสิบสอง มาจากคำ 2 คำ คือ ฮีต กับ  สิบสอง
ฮีต  มาจากคำว่าจารีต ซึ่งหมายถึง สิ่งปฏิบัติสืบต่อกันมา จนกลายเป็นประเพณีที่ดีงามของชาวอีสาน เรียกว่า จารีต หรือ ฮิต

สิบสอง หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือน ในหนึ่งปี

ฮิต สิบสอง จึงหมายถึง ประเพณีที่ประชาชนชาวอีสานได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ ทั้งสิบสองเดือนในแต่ละปี

ฮีตสิบสอง ประเพณีอีสานสิบสองเดือน
เดือนเจียง - บุญเข้ากรรม
เดือนยี่  - บุญคูณลาน
เดือนสาม - บุญข้าวจี่
เดือนสี่ - บุญผะเหวด
เดือนห้า - บุญสงกรานต์
เดือนหก - บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ
เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา
เดือนสิบสอง - บุญกฐิน


ประเพณีทั้งสิบสองเดือนที่ชาวอีสานถือปฏิบัติกันมานั้นล้วนเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนได้ออกมาร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์เพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อความสมานสามัคคีมีความรักใคร่กันของคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการสืบทอดสิ่งที่ดีงามมาจวบจนปัจจุบัน

"บันทึกนี้ เป็นการรวมประเพณีขอภาคอีสานสิบสองเดือน ต้องการที่จะให้ผู้สนใจแลเห็นคุณค่าของประเพณีงานบุญ ของภูมิปัญญาอีสาน นอกจากฮิตสิบสองหรือประเพณี 12 เดือนของชาวอีสานแล้ว ยังมีงานบุญอีกมากมายที่น่าศึกษา  ทำไมชาวอีสานจึงมีนิสัยอ่อนโยน รักสงบ เกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน ไม่ชอบการเอารัดเอาเปรียบ มีความเป็นเครือญาติกันสูงมาก พิธีบุญ ความเชื่อ และประเพณีต่างๆ คือ เป้าหลอมกรอบคิดให้ชาวอีสาน มีอัตลักษณ์ดังกล่าว"


ประสาน กำจรเมนุกูล
รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์
ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
(ผู้เรียบเรียงข้อมูล)



หมายเลขบันทึก: 50927เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2006 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

บุญซำฮะคืออะไรไม่เข้าใจ

บุญข้าวประดับดินและบุญกฐินคืออะไร

ชอบประเพณีนีมาก

เช่นบุญช้าวปะดับดิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท