ซื้อบ้าน


มีเรื่องเล่าสู่กันฟัง เรื่องมีอยู่ว่าหลังจากไปปรึกษาแบงค์เรื่องกู้ซื้อบ้านอยู่หลายแบงค์ และมาพบทางออกที่สหกรณ์ที่เป็นสมาชิกอยู่ จึงอยากจะแนะนำให้ทุกคนที่ยังไม่เป็นสมาชิกสหกรณ์ใด ๆ ควรจะไปสมัคร เพราะช่วงชีวิตหนึ่ง ถ้าคุณไม่รวยแบบพ่อแม่มีเงินเตรียมไว้ให้เพียบพร้อมแล้ว ช่วงชีวิตนี้คุณต้องกู้เงินสถาบันทางการเงินในการสร้างชีวิตแน่นอน และสหกรณ์ขณะนี้กลายเป็นทางออกที่ดี (แทบจะที่สุดทางหนึ่ง) ทีเดียว 

เลือกสหกรณ์ใกล้บ้านเกิด เพราะข้อดีหนึ่งของสหกรณ์ คือการถือกำเนิดมาจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่รู้จักมักคุ้นกัน ดังนั้นจึงง่ายต่อการทำธุรกรรมทางการเงินของสมาชิก ในขณะที่การทำธุรกรรมกับแบงค์นั้น โดยพื้นฐานเกิดจากคนไม่รู้จักัน ทำให้การพิจารณาธุรกรรมใด ๆ จะอยู่บนพื้นฐานของคนไม่รู้จัก (ซึ่งแน่นอน ว่าต้องยากขึ้น เป็นสองเท่า)

หากมีพ่อแม่เป็นเกษตรกร ทำไร่ ทำนา สวนยาง ฯลฯ แน่นอนว่าพ่อแม่คุณต้องมีเอี่ยวไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งกับสหกรณ์เล็ก ๆ แถวบ้านแน่ แต่ถ้าต้องการความมั่นคงก็ลองเลือกที่ดูมีหลักประกันที่มั่นคง โดยดูจากระยะเวลาการดำเนินงาน คณะกรรมการบริหาร ทุนสำรองประเภทต่าง ๆ 

ข้อดีที่สนับสนุนสหกรณ์นั้นได้แก่

1. เงินฝาก มีให้เลือกหลายประเภท พร้อมดอกเบี้ยที่ล้วนแล้วแต่สูงกว่าแบงค์ และที่สำคัญไม่ต้องจ่ายภาษี หากเทียบแบบฝากประจำกับแบงค์

2. เงินปันผล ก่อนที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสหกรณ์ได้ ต้องเป็นสมาชิกเสียก่อน ซึ่งสมาชิกจะได้รับเงินปันผลในอัตราร้อยละประมาณ 6-8 ต่อปี

3. เงินกู้ อัตราดอกเบี้ยอาจจะแตกต่างกับแบงค์ในระยะ 3-9 เดือนแรก หากแบงค์มีเรื่อง promotion ในระยะแรก แต่เมื่อเทียบเรื่องระยะเวลาการผ่อนที่เร็วกว่า บวกกับเงินปันผลคืนตามอัตราที่เรากู้ไป ซึ่งประมาณร้อยละ 6-8 ต่อปี หากผ่อนคืนอย่างต่อเนื่องตามเวลา เราจ่ายดอกเยี้ยให้สหกรณ์น้อยกว่าครึ่งต่อครึ่ง เพราะในช่วง 10 - 20 ปีหลัง แบงค์ก็คิดดิกเบี้ยมหาโหด แถมบางแบงค์ไม่ให้ปิดสัญญาก่อน แม้เราจะถูกหวยก้อนโต เพราะต้องการดอกเบี้ยจากเรานั่นเอง

หลังจากทำเรื่องซื้อบ้านหลังนี้เป็นหลังที่สอง ประสบการณ์วิเคราะห์แบงค์คร่าว หากใครอยากจะกู้เงินกับแบงค์มีดังนี้

- ธนาคารรัฐ ช้ามาก แต่ดอกต่ำ (กว่าแบงค์เอกชนไม่มาก) 

- TMB มีนโยบายปล่อยกู้ ทีรัดกุม เพราะไม่อยากให้ตัวเองเจ็บตัว เพราะขี้เกียจบริหารเรื่องทรัพย์สินขายทอดตลาด ต่อให้มีเงินเก็บเยอะ เขาก็ไม่ให้กู้ ถ้าเดิน statement ไม่สวย หรือไม่อยู่ในระบบทุนนิยม

- K bank ตรงไปตรงมา เน้นลูกค้า เงินเดือน อยู่ในระบบทุนนิยม*

- ไทยพาณิชย์ เก็บลูกค้าที่แบงค์อื่นไม่ให้ผ่าน เปิดกว้าง เพราะต้องการลูกค้ามากกว่า และไม่ย่อท้อ ต่อการบริหารทรัพย์สินขายทอดตลาด

*ระบบทุนนิยม หมายถึง มนุษย์เงินเดือน, ผุ้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, เดิน statement เข้าออกเป็นระบบ

**ส่วนบุคคลที่ไม่อยู่ในระบบ เช่น เกษตรกร, พวกอาชีพอิสระ, ค้าขาย รายเล็กถึงกลาง 

เล่าเคสตัวเองให้ฟัง

ต้องการกู้ 7 ล้าน หากไปกู้แบงค์ ข้อมูลพื้นฐานที่ต้องมีคือ

- เงินเดือน หรือเงินเข้าออกบัญชี อย่างต่ำ เดือนละ แสนห้า

- หลักทรัพย์อื่น ๆ  (เผื่อไว้)

- หลักฐานการเสียภาษีต่อปี 

- ลักษณะของธุรกิจ (ที่ส่วนใหญ่ พนักงานแบงค์จะเข้าใจยากมาก หากคุณไม่ทำงานแบบมนุษย์เงินเดือนทั่วไป หรือเป็นเจ้าของกิจการขายของแบบหวังผลกำไร)

- บางแบงค์ กู้เต็มร้อยเปอร์เซนต์ไม่ได้ สูงสุด 80-90% 

- บางแบงค์ให้กู้ค่าตกแต่งเพิ่ม ซึ่งต้องมาทำเรื่องภายหลัง

เมื่ออนุมัติแล้ว

- ผ่อนประมาณเดือนละ 50,000 ระยะเวลา 30 ปี

- ห้ามปิดก่อน ห้ามผ่อนเกินสองเท่าในช่วง 1-3 ปีแรก

แต่เมื่อไปสหกรณ์

- เป็นสมาชิกมา 4 ปี กู้ได้ 3,000,000 

- แฟนเป็นสมาชิกด้วยก็กู้สองคน ได้ 6,000,000

อยากได้เจ็ดล้าน รอระยะเวลาการเป็นสมาชิกเพิ่ม ปีละ 1,000,000 

- คนค้ำประกัน มีคู่สมรส คู่สมรสค้ำ หรือหากไม่มี สมาชิกคนอื่นมาค้ำ

เมื่ออนุมัติแล้ว

- ผ่อนประมาณเดือนละ 52,000 ระบะเวลา 18 ปี

- ได้เงินปันผลคืนอย่างต่ำร้อย 6 ทุกปี หากผ่อนดีทุกเดือน

หมายเลขบันทึก: 509241เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2012 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กะลังยื่นกู้เหมือนกันค่ะ แต่เงียบเลยดู ออมสินอยู่ค่ะ อยู่ซัก 3ปี ค่อยรีไฟแนนท์กะ สหกรณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท