กฐิน-ธงจระเข้-นางมัจฉา-ธงตะขาบ ทำไมต้องมาด้วยกัน


ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน กับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ.

หลังจากที่ ฮ่วมกิ๋น ฮ่วมตาน ผ้าตันใจ๋ กับคุณเพชรน้ำหนึ่งไปกันแล้วนะคะ คราวนี้ก็มารู้จักกับสัญลักษณ์ของงานกฐินกันบ้างค่ะ  ว่าเกี่ยวข้องกันได้ยังไง  นั่นก็คือ  ธงจระเข้  ธงตะขาบ  กับ นางมัจฉาค่ะ


กฐิน  เป็นภาษาบาลี  แปลว่า  กรอบไม้  หรือ  ไม้แบบ  ใช้สำหรับขึงผ้าที่ใช้เย็บจีวร  ผ้าที่เย็บจากกรอบไม้จึงเรียกว่าผ้ากฐิน  (ผ้าที่เย็บจากไม้แบบ)

กฐิน  มีกำหนดระยะเวลาถวาย  ระยะเวลาเพียง 1 เดือนเท่านั้น  คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11  ไปจนถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เรียกว่า กฐินกาล

ที่ใดมีกฐิน ก็มักจะมีธงจระเข้ ธงตะขาบ นางมัจฉา อยู่ด้วย เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าทำไมต้องมี

สาเหตุก็คือ ในสมัยโบราณการแห่กฐินไปตามวัดต่าง ๆ นิยมไปทางเรือ มีจระเข้มาหนุนเรือให้ล่ม กัดผู้คนบ้าง จึงคิดอุบายทำธงจระเข้ปักหน้าเรือ  เพื่อประกาศให้สัตว์ร้ายในน้ำรับทราบการบุญกุศลและได้อนุโมทนาบุญ ไม่ทำร้ายผู้คน

หรืออีกตำนานหนึ่ง เล่าว่า มีการแห่กฐินไปตามลำน้ำ มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากร่วมบุญ จึงว่ายตามเรือนั้นไปด้วย แต่ว่ายไปได้ซักพักก็อ่อนแรง ไปด้วยไม่ได้  จึงขอให้อุบาสกจ้างช่างเขียนภาพตนที่ธง  แล้วยกไปทอดกฐินด้วย

หรือในแง่ของพระพุทธศาสนา  คือแสดงภัยที่จะเกิดกับพระ 4 อย่าง คือ

1. ภัยเกิดแต่ความอดทนต่อโอวาทคำสอนมิได้ เปรียบเสมือน รูปคลื่น

2. ภัยเกิดแต่การเห็นแก่ปากท้อง ทนความอยากมิได้ เปรียบเสมือน จระเข้

3. ภัยเกิดแต่ความยินดีในกามคุณ เปรียบเสมือน วังน้ำวน

4. ภัยเกิดแต่การรักผู้หญิง เปรียบเสมือน ปลาร้ายหรือนางมัจฉา

ธงรูปจระเข้ นางมัจฉา ตะขาบ คลื่น น้ำวน ปักไว้หน้าวัดเพื่อแสดงให้ทราบว่าที่วัดนี้มีการทอดกฐิน ผู้ที่ผ่านไปมาจะได้อนุโมทนาด้วย

อนุโมทนาบุญด้วยกันนะคะ  ด้วยการกล่าวคำว่า สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ค่ะ


สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ
MoTtAnOi  19/11/2555

หมายเลขบันทึก: 509223เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2012 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 09:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท