พลาสติก..............."ใช้ซ้ำนำโรค"


ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก เสี่ยง! "มะเร็ง"

คนที่ชอบใช้ขวดพลาสติกเเบบซ้ำๆโปรดฟังทางนี้ค่ะ  พอดีไปอ่านเจอในเว็ปไซต์เกี่ยวกับสุขภาพมา พบว่าการใช้ขวดพลาสติกซ้ำๆนั้นทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูง เลยเก็บเอาเนื้อหาดีๆมาฝากค่ะ
ปัจจุบันเห็นหลายครอบครัวนำขวดน้ำอัดลมหรือขวดน้ำเปล่าที่ทำจากพลาสติกมากรอกน้ำแช่ตู้เย็นเอาไว้ดื่มซ้ำแล้วซ้ำอีก จากข้อมูลที่ส่งต่อกันทางอินเทอร์เน็ตบ้างก็ว่าเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง บ้างก็ว่าไม่เป็นอันตรายอะไรหรอก เพราะหลายสถาบันในต่างประเทศก็ออกมาการันตีว่ามีความปลอดภัย ก็ไม่รู้ว่าจะเชื่อใครดี 

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติอธิบายว่า ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้ว ใช้อีก อันตรายจริง โดยเฉพาะขวดน้ำพลาสติกแบบโพลีคาร์บอเนต เมื่อโดนความเย็นจัดหรือร้อนจี๋ หรือ การขบกัดขูดขีดกระแทก จะทำให้มีสารก่อมะเร็งกลุ่ม BPA (Bis-phenol A) ซึ่งเป็นสารเคมีที่พบในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ทำมาจากพลาสติกออกมา ซึ่งจากงานวิจัยของฮาร์วาร์ดพบว่าเพียง3-4 ส่วนในล้านส่วนก็ก่อมะเร็งในหนูทดลองได้ ที่ซุปเปอร์มาร์เกตในแคนาดาจึงออกกฎเตือนว่า เจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องปิดฉลากเตือนไว้และถ้าเป็นเครื่องบริโภคบางอย่างถึงขนาดห้ามใช้พลาสติกเลยทีเดียว

แต่ที่ทางการบ้านเรายังไม่ตื่นเต้นก็เพราะว่า ยังเป็นผลการวิจัยว่าเกิดมะเร็งในระดับสัตว์ทดลองและมีปริมาณสารพิษไม่มาก แต่อย่าลืมว่าถ้าเลี่ยงๆไว้ก่อนได้ก็จะดีกว่ารออีก 10 ปี มีงานวิจัยออกมาบอกว่าคนก็เป็นมะเร็งได้ซึ่งไม่มีประโยชน์เสียแล้ว

และอย่าลืมอีกข้อที่สำคัญคือถึงแม้มี BPA ปริมาณน้อยจากขวดพลาสติกแต่อย่าลืมว่าวันหนึ่งเราดื่มน้ำจากขวดพลาสติกกันหลายรอบทีเดียว เวลาเบรกจากประชุมหรือสัมมนาแต่ละทีก็ดื่มกันอึกอัก ไปแวะกินข้าว ก่อนกลับบ้านก็ดื่มอีกขวดหนึ่ง วันหนึ่ง 3-4 รอบบ่อยๆ เข้าก็มี BPA สะสมได้นะค่ะ

ทั้งนี้ไม่ได้ตั้งใจว่าจะให้ตื่นตระหนกจนห้ามใช้พลาสติกเพียงแต่ให้ตระหนักไว้ก่อนและพยายามลดการใช้ไว้ก่อนจะดีกว่า



ลักษณะการใช้ขวดน้ำพลาสติกที่เสี่ยงต่อโรคมีดังนี้

1. ขวดพลาสติกหรือแก้วพลาสติกเอามาใช้แล้วใช้อีก
2. ขวดพลาสติกที่กระทบกระแทกขูดขีดไปมาจากการทิ้งไว้ในรถยนต์ 
3. ขวดพลาสติกที่โดนความเย็นจัดต่ำกว่าศูนย์หรือร้อนจัดมาก เช่น ใส่น้ำต้มกาแฟ หรือใส่เข้าไปในไมโครเวฟ 
4. กล่องโฟมพลาสติกและพลาสติกใส (Wrapper) ห่ออาหารเข้าไมโครเวฟก็ต้องระวัง 
5. ขวดนมเด็กพลาสติกเพราะมีโอกาสที่สารนี้หลุดปนออกมาจากการที่เด็กอมขบกัดพลาสติก
6. ของเล่นตุ๊กตุ่น ตุ๊กตาพลาสติกราคาถูกและเครื่องใช้พลาสติกตามตลาดนัดมักทำจากพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพต่ำ ทำให้ต้องเติมสารพิเศษให้พลาสติกเสถียรซึ่งสารนี้ก่อมะเร็งได้
7. อาหารที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง เช่น ในนมวัวที่มาจากวัวกินหญ้าปนเปื้อนยาฆ่าแมลง จะมีสารซีโนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนมรณะทำให้เด็กสาวโตวัยมีนมแตกพานได้ตั้งแต่อายุไม่ถึง 3 ขวบ 

อาการและโรคที่เกิดขึ้น/และอาจเกิดขึ้นจากการได้รับสารพิษ Bisphenol A


1. อาการไฮเปอร์ Hyperactivity  (สมาธิสั้น)
2. พฤติกรรมก้าวร้าว
3. มีปัญหาเรื่องความจำ และสมาธิ
4. พัฒนาการสมองช้า และอาจเป็นสาเหตุของโรคดาวน์ซินโดม(เอ๋อ)
5. โรคอ้วน
6. โรคเบาหวาน
7. กระตุ้นเซลล์มะเร็ง ทำให้เป็นโรคมะเร็ง โดยเฉพาะ มะเร็งเต้านม
8.ผลจากสารพิษช่วยเร่งให้เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นเร็วขึ้น
(early puberty) แต่กลับกระทบต่อการสืบพันธุ์ เช่นทำให้เสปิร์มของเพศชายอ่อนแอและน้อยลง เกิด ภาวะตั้งครรภ์
ยากและแท้งลูกง่ายในหญิง ฯลฯ
9. ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานบกพร่อง(impaired immune function)
10. elimination of sex differences in behavior - มีพฤติกรรมที่แยกเพศไม่ออก 
หรือมีพฤติกรรมที่ไม่รู้ว่าเป็นเพศอะไร 
11. Reversal of normal sex differences in the brain structure - การจำแนกเพศกลับกันในโครงสร้างของสมอง

สารพิษเข้าสู่ร่างกายเราได้อย่างไร


1. สารพิษ Bisphenol A เป็นส่วนผสมอยู่ในภาชนะพลาสติก และกระป๋อง "Can" ที่ถูกผนึก, บุ, ซับ ด้วย epoxy resin 
ซึมเปื้อนลงในอาหาร
2. เมื่อภาชนะพลาสติกประเภท PET รวมถึง PVC โดนความร้อน  แล้วซึมเปื้อนลงอาหาร
3. การนำภาชนะ PET มาใช้ซ้ำๆ การล้างทำให้สารพิษซึมเปื้อนออกมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้สารเคมีแรงๆ ล้าง
4. สาร Bisphenol A อาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำใช้ (ประปา) (เชื่อว่ามาจากสารพิษจากพลาสติก ฯลฯ ซึมลงดิน ลงน้ำ แล้ว
วนกลับมา) อันนี้ยากหลีกเลี่ยงถ้ายังต้องใช้พลาสติกกันอยู่
อย่างไรก็ตามสำหรับขวดน้ำดื่มพลาสติกที่ทำมาจากพลาสติกโพลิเอทีลีนเทอเรพทาเลท หรือ PET ที่มีความปลอดภัยสูงความโปร่งใสแข็งแรงทนทาน เหนียว ไม่แตกง่าย แต่เพื่อความปลอดภัยก็ไม่ควรที่จะนำมาใช้ซ้ำๆ นานๆ ควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเช่นกัน

วิธีหนีให้ไกลมัจจุราชเงียบในพลาสติก คือ

1. ใช้ขวดแก้วแทนขวดพลาสติก

2. ใช้จานชามกระเบื้องหรือหม้อกระเบื้องเคลือบแทน

3. รณรงค์ให้ใช้วัสดุอินทรีย์แทนพลาสติก เช่น ใบตอง ห่อผัดไทยใช้เชือกกล้วยผูกหิ้ว

4. ขวดน้ำพลาสติกอย่าทิ้งไว้ในรถหรืออย่านำกลับมาใช้ใหม่

5. อย่าใช้ความร้อนสูงหรือใช้ความเย็นจัดกับภาชนะพลาสติก เช่น เอาไปใส่ในไมโครเวฟหรือใส่ไว้ในช่องแช่แข็ง

6. อย่าให้ภาชนะกระทบกระแทกหรือขูดขีดมาก ระวังไม่ให้เด็กอมขวดหรือกัดพลาสติกเล่น

7. ในแต่ละวันจำกัดการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกไว้ไม่ให้มากเกินไป ไม่ใช่ประชุมกัน 4 รอบ ก็กินเบรกแกล้มกับดื่มน้ำขวดพลาสติกทุกครั้ง อาจใช้แก้วกาแฟรองน้ำเปล่าดื่มบ้างก็ได้ 


            เห็นเเบบนี้เเล้วก็น่ากลัวเหมือนกันนะคะเพราะชีวิตเราผูกพันธ์กับขวดน้ำมานานเเสนนาน  เมื่อเราหลีกเลี่ยงมันไม่ได้ เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันอย่างสันติ  ก่อนใช้พลาสติกบรรจุอาหารหรือน้ำควรที่จะสังเกตฉลากบอกคุณภาพของพลาสติกด้วย  เมื่อใช้ไปนานๆควรเปลี่ยนใหม่บ้างอย่างขวดน้ำที่เเช่ตู้เย็น ถึงเเม้จะป้องกันอันตรายของสารเคมีไม่ได้ทั้งหมดเเต่เราก็จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคน้อยลงเเน่นอนค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.n3k.in.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7
http://www.klangplaza.com/w2/index.php?option=com_content&view=article&id=410:2011-10-18-02-36-34&catid=39:2010-10-07-08-21-54&Itemid=45
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0b7829bd564da332
ภาพจากhttp://www.google.co.th/imgres?q=%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3&num=10&hl=th&biw=1366&bih=667&tbm=isch&tbnid=RiocRaNVXT2lBM:&imgrefurl=http://www.klangplaza.com/w2/index.php%3Foption%3Dcom_content%26view%3Darticle%26id%3D410:2011-10-18-02-36-34%26catid%3D39:2010-10-07-08-21-54%26Itemid%3D45&docid=nvwUxIoUw9TC-M&imgurl=http://www.klangplaza.com/w2/images/18021054.jpg&w=300&h=237&ei=bZuiUJgkyemtB--KgOgM&zoom=1&iact=hc&vpx=194&vpy=153&dur=383&hovh=141&hovw=178&tx=167&ty=90&sig=117495427102696508655&page=1&tbnh=135&tbnw=171&start=0&ndsp=20&ved=1t:429,r:7,s:0,i:89
http://www.klangplaza.com/w2/index.php?option=com_content&view=article&id=410:2011-10-18-02-36-34&catid=39:2010-10-07-08-21-54&Itemid=45

หมายเลขบันทึก: 508701เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2012 02:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2013 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท