ข้อคิดในเรื่อง บทบาทของสภาวิชาชีพต่อหลักสูตรระดับอุดมศึกษา


วันที่ 12-13 พ.ย. 2555 มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมวิชาการครบรอบ 40 ปีของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย มีข้อคิดจากปาฐกถาพิเศษของท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ถึงบทบาทของสภาวิชาชีพต่อหลักสูตรที่สร้างบัณฑิตเข้าสู่วิชาชีพของตน  

เดิมทีหน้าที่ของการบริหารหลักสูตรระดับอุดมศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันการศึกษา ผลผลิตได้แก่ บัณฑิตเมื่อประกอบวิชาชีพ (ในที่นี้เน้นที่วิชาชีพที่มีสภาวิชาชีพควบคุมตรวจสอบตามกฎหมาย) จะอยู่ในความดูแลของสภาวิชาชีพ   ต่อมาสังคมเปลี่ยนแปลง สิทธิของประชาชนโดยเฉพาะในมุมมองของผู้บริโภค/ผู้รับบริการได้รับการพิจารณาและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เห็นได้จากหลักฐานในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ  สภาวิชาชีพบางวิชาชีพจึงเข้ามามีบทบาทตั้งแต่กระบวนการจัดการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาเมื่อให้มั่นใจว่า คุณภาพของบัณฑิตซึ่งจะเข้าสู่วิชาชีพในอนาคตจะมีคุณภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม  ซึ่งบางความคิดเห็นแสดงออกมาว่า เป็นการก้าวล่วงหน้าที่ของสถาบันการศึกษาหรือไม่  ประเด็นอยู่ที่ว่า "ทั้งสถาบันการศึกษาและสภาวิชาชีพมีความร่วมมือกันดีแค่ไหน  เปิดใจยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกันหรือไม่อย่างไร เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีเกิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ทั้งบัณฑิต  ประชาชน และสังคม"    เรื่องนี้บางวิชาชีพสามารถสร้างความร่วมมือได้ดีภายใต้กลไกของตนเอง แต่บางวิชาชีพควรเริ่มหันมามองกันและหาระบบและกลไกที่เหมาะสมและยอมรับกันได้ทั้ง 2 ฝ่าย

จิโรจน์  สูรพันธุ์

หมายเลขบันทึก: 508553เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2012 06:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท