ห้องเรียนกลับทาง?


เห็นบันทึกเชิญชวนของบล็อก ให้ร่วมเขียนเกี่ยวกับห้องเรียนกลับทาง  

อ่านแล้ว สะดุด  และทำให้อยากรู้ว่า ห้องเรียนกลับทางเป็นอย่างไร

ค้นหาคำสำคัญนี้ จนพบ จากบล็อกของท่านอาจารย์วิจารณ์ พานิช

อ่านแล้วรู้สึกประทับใจจังค่ะ

จนอยากนำไปสอนลองดูบ้าง 

สรุปได้ว่า

-ลักษณะสำคัญที่สุดของห้องเรียนกลับทาง คือกลับทางจุดสนใจจากตัวครูและการสอนของครู ไปที่ตัวเด็กและการเรียนของเด็ก

-หัวใจของการกลับทางคือ กลับทางจากเน้นที่การสอน มาเน้นที่การเรียน

-เด็กเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล  

-ครููเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ คอยกระตุ้น เตรียมสื่อ การวัดเน้นการประเมินตามสภาพจริง

จำได้ว่า มองเผินๆ เหมือนตัวเองเคยใช้สอนเหมือนกันค่ะ

แต่ตอนนั้นสอนวิชาคอมพิวเตอร์นักเรียนชั้นม.1-3  โดยใช้ระบบสั่งงานผ่านอีเมล์ มอบหมายงานจากอีเมล์ พร้อมลิงค์ไปหาแหล่งความรู้ให้เสร็จสรรพ  เพียงแต่นักเรียนต้องเข้าไปอ่าน และเช็คใบงานทางอีเมล์และส่งงานทางเมล์ 

ครูต้องคอยเช็คงานของเด็กทางเมล์บ่อยมากพร้อมข้อคอมเมนต์ของงานแต่ละคนส่งกลับคืนให้

ผลปรากฏว่าเด็กชอบนะคะ   แต่ก็มีปัญหาอยู่บ้างที่บ้านบางคนไม่มีคอมพิวเตอร์ ทำให้ส่งงานช้า

ไม่รู้เลยค่ะ ว่าวิธีที่ทำนี้เป็นห้องเรียนกลับทาง รึเปล่า 

แต่สรุปว่าสนุกดีค่ะ

หมายเลขบันทึก: 507997เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2012 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทำแบบเดิมๆ เด็กอาจไม่สนใจก็เปลี่ยนบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท