การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีInnovative Thinking (สร้างนวัตกร) 1


จากแผนภาพพบว่าการจัดการนวัตกรรมจะมีความเกี่ยวข้องกับองค์กรใน 5 ส่วน
หลักๆ ดังต่อไปนี้

1. Structure  โครงสร้างขององค์กรจะมีความเกี่ยวข้องกับการทำนวัตกรรม เนื่องจากในการจัดการจะต้องอาศัยความร่วมมือกันในองค์กร  ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนกระทั่งถึงพนักงานระดับล่าง ต้องมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างแผนกต่างๆ  มีการแบ่งอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบกัน  ซึ่งถ้าโครงสร้างขององค์กรที่มีอยู่นั้น มีความสอดคล้องและเหมาะสมก็เป็นส่วนที่จะเสริมให้นวัตกรรมเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แต่ถ้าหากโครงสร้างขององค์กรไม่มีความเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้การทำงานเป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก  อาจเกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ
ทำให้ไม่สามารถสนองต่อโอกาสที่มีอยู่ได้

2. People  จากคำจำกัดความของนวัตกรรมที่กล่าวว่า“ Innovation is the use of new knowledge to offer a new product or service that customer want ” จะเห็นว่าการจัดนวัตกรรมต้องอาศัยองค์ความรู้ (knoeledge) ใหม่ๆตามที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งองค์ความรู้นี้จะมาจากความรู้ ความคิดของคน  ซึ่งองค์กรใดมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอยู่มากแล้ว  ก็จะได้เปรียบองค์กรอื่นๆ  โดยบุคลากรแต่ละคนจะมีความรู้  ความสามารถในเรื่องที่แตกต่างกัน ถ้าองค์กรใดนำความรู้ของบุคลากรแต่ละคนมาประกอบกัน  ก็ยิ่งจะทำให้เกิดกรอบแนวความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)ได้รวดเร็ว  สามารถนำไปแข่งขันได้

3. Process  ในเรื่องของกระบวนการ(Process) หรือขั้นตอนต่างๆไม่ว่าจะเป็นกระบวนการขั้นตอนในการผลิต 
การตลาดหรือการเงินนั้น จะมีการเกี่ยวข้องกับการทำนวัตกรรม เพราะถ้าขั้นตอนมีความยุ่งยากซับซ้อนเกินไปก็อาจจะทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้ทันกับที่เกิดขึ้นได้ทันเวลาดัง
Process ต่างๆ  ความมีระบบการจัดการที่แตกต่างกัน  สภาพการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม

4. Strategy   การจัดการนวัตกรรมจำเป็นต้องมีกลยุทธ์และยุทธวิธีในการจัดการ ความได้เปรียบทางการแข่งขันเกิดขึ้นได้เสมอ  เมือมีกลยุทธการจัดการอย่างต่อเนื่อง

5. Tool / Information  Technology  การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีส่วนในการจัดการนวัตกรรม  ช่วยในการบูรณาการโครงสร้าง (Structure)  กำลังคน(People) กระบวนการ(Process) และเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง  อันเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จทางธุรกิจ

เอกสารอ้างอิง

[1] http://www.chiraacademy.com/chiratheory.html
[2] http://www.positioningmag.com/magazine/Details.aspx?id=31594

[3] http://www.re-know.com

[4]ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ, “การบริหารนวัตกรรมอย่างยั่งยืน และพอเพียง ” ,สำนักพิมพ์อริยชน , พ.ศ. 2550

[5]น.ท.บดินทร์ วิจารณ์,“มุ่งสู่อนาคตด้วยนวัตกรรม ” ,วารสารการบริหารคน,พ.ศ. 2550

[6]ภานุ ลิมมานนท์,“กลยุทธการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ ” ,บริษัทภาริณาส จำกัด, พ.ศ. 2549

[7]รัตนรรท์ ทองทั่ว(นันทน์) 5078308738

[8]http://www.gotoknow.org/blogs/posts/115866  7 พ.ย.55



 

หมายเลขบันทึก: 507968เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2012 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท