คณะเกษตรฯ มข. สัมมนา ใช้กล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม ตรวจและวิเคราะห์เซลล์


เครื่องมือใหม่ๆ จะช่วยพัฒนางานวิจัยของเราที่ทำอยู่ ให้ทันสมัยขึ้นด้วย หากมีคณะหรือบริษัทต่างๆได้จัดสัมมนาขึ้นมาบ่อยๆ แล้วมีการประชาสัมพันธ์เชิญชวน อาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษา เข้ามาร่วมก็จะดีมาก

         

          เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 เวลา 09.15 – 09.30 นาฬิกา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ วงศ์แก้ว กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอเซนซิ่งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท LMF Instruments Co., Ltd., บริษัท JPK Instruments(Germany ) และบริษัท Carl Zeiss (Thailand)เปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Advanced Materials Characterization by AFM and Fluorescence Techniques” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ภัทรจินดา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะเกษตรศาสตร์ เป็นประธานเปิด มีวิทยากรทั้งไทยและต่างประเทศจากบริษัทผู้ร่วมจัด ให้ความรู้ทั้งภาคบรรยายและปฏิบัติการ จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 และวันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องประชุมภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร ชั้น 2 อาคาร AG07 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น หลายคณะ อาทิ คณะเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ รวมทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น กว่า 100 คน เข้าร่วมสัมมนา
           การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง  “Advanced Materials Characterization by AFM and Fluorescence Techniques” จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน โดยในวันแรก มีวิทยากรบรรยายโดย Dr.Heiko Haschke, the Head ofAFMapplication scientist from Germany และ Dr.Philip Liu, The AFM application scientist fromSingapore เป็นการบรรยายและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับ ชนิดตัวอย่างสำหรับการตรวจ From basic to advance samples หลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์ แรงอะตอม และการประยุกต์ใช้งานร่วม (AFM Combination with other techniques simultaneously such as Fluorescent, Laser Confocal, Raman, etc.) การตรวจและวิเคราะห์เซลล์มีชีวิตด้วยกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม (From high resolution to living cell imaging - the challenge of imaging biological samples with AFM) การตรวจวัดในระดับนาโน (Sensing forces with Nano scale instruments), Introduction of AI products and Advantage Technology และปฏิบัติการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม
          สำหรับวันที่สอง มีวิทยากรบรรยายโดย Ms.Sunisa Poonpipatgul, Application Specialist และคุณวีระชัย ผลศิริ Sale Manager บริษัท คาร์ล ไซส์ส จำกัด (Carl Zeiss Co., Ltd.) เป็นการบรรยายและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับ หลักการของกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนซ์ (Fluorescence Microscope) การเตรียมชิ้นงานตัวอย่างและการประยุกต์ (Optical sectioning by Apotome2 & Applications) ปฏิบัติการเตรียมและตรวจชิ้นงาน และการวิเคราะห์ผลของตัวอย่างและตอบข้อซักถาม
          ในความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนา เรื่อง  “Advanced Materials Characterization by AFM and Fluorescence Techniques” ในครั้งนี้ ได้มีอาจารย์กล่าวถึงเครื่องมือใหม่ที่มีประสิทธิภาพและเทคนิคการใช้สูง ที่นำมาเป็นหัวข้อเรื่องของการสัมมนาในครั้งนี้ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธาสินี ทัพพสารพงศ์ จากคณะเภสัชศาสตร์ กล่าวว่า “ทำงานเกี่ยวกับด้านเตรียมอานุภาคนาโนของโปรตีน จึงสนใจเครื่อง AFM เพราะว่าเป็นเครื่องมือใหม่ที่ใช้ตรวจสอบขนาดของอานุภาคระดับนาโนได้ หากได้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้มาก็จะสามารถตรวจวัดขนาดของอานุภาคที่เตรียมอยู่ได้ และสำหรับเรื่องความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ใหม่ เราควรติดตามอยู่เสมอเพราะเครื่องมือใหม่ๆ จะช่วยพัฒนางานวิจัยของเราที่ทำอยู่ ให้ทันสมัยขึ้นด้วย หากมีคณะหรือบริษัทต่างๆได้จัดสัมมนาขึ้นมาบ่อยๆ แล้วมีการประชาสัมพันธ์เชิญชวน อาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษา เข้ามาร่วมก็จะดีมาก”
          และในส่วนของนักศึกษาที่เข้าร่วมสัมมนา ก็มีความคิดเห็นสอดคล้องกับอาจารย์ด้วย โดยนายพร้อมภักดิ์ ชัยอมรนุกูล นักศึกษาระดับปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือใหม่ๆ เพราะถ้าเครื่องมือเหมาะสม มีคุณสมบัติการทำงานสอดคล้องกับงานวิจัยของเรา ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา แม้ว่ายังไม่มีเครื่องก็น่าจะมาศึกษาเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือไว้ก่อน เพราะว่าหากกำลังศึกษาเกี่ยวกับการหาขนาดของอานุภาคระดับนาโน ก็ควรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือไว้เช่นกัน”

            กิตติศักดิ์ สิงหา วิเคราะห์ สังเคราะห์และเผยแพร่

หมายเลขบันทึก: 507810เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2012 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท