บทเริ่มต้น ของ Project based learning


Project based learning in science

วันนี้มีข่าวที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้มาเล่าให้ฟัง คือ ข่าวของการอ่านหนังสือของคนไทย ที่เพิ่มขึ้น เป็น ห้าเล่ม  ( http://unigang.com/Article/12651 ) อ้างอิง ซึ่งถือเป็นเรืองที่น่ายินใจ เพราะในอดีตต่างเคยมีการสำรวจพบว่า เราอ่านหนังสือ กันไม่กี่บรรทัดในแต่ละปี พร้อมทั้งยังมีคนไทยที่อ่านหนังสือไม่ออก อีกด้วย แต่ในวันนี้ คือ เราอ่านกัน ปีละ ห้าเล่ม แต่สิ่งที่ผมสนใจมากกว่านั้นคือ ในห้าเล่มที่กล่าวมานั้น มีหนังสือ ที่เป็นสาระความรู้วิชาการทั้งหมดกี่เล่ม หรือกี่บรรทัด แต่ ผมก็มองว่าไม่ว่าจะอ่านอะไร ก็ขอให้อ่าน เพราะการอ่านถือเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาประเทศชาติ ในความฝันลึกๆ ผมอยากในผู้ใหญ่ในบ้านเรา มองเห็นความสำคัญในด้านนี้ โดยการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นหอสมุด หรือ พิพิธภัณฑ์ ดังจะเห็นได้จาก ภาพยนตร์ ต่างประเทศว่า มีแต่สถานที่ที่น่่สนใจ และเปิดกว้างต่อการเรียนรู้ทั้งนั้น จะรู้สึกอย่างไร ถ้าวันนี้ ลูกหลานของท่่านชวนท่านไปพิพิธภัณฑ์ มากกว่าการชวนไป ห้างสรรพสินค้า .............


Project based learning คืออะไร

จากที่มีนักวิชาการหรือผู้รู้ได้ได้ความหมายไว้มากมาย ผู้เขียนสามารถสรุปได้ดังนี้. Project based learning (PBL) หรือ กระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน คือ การใช้องค์ความรู้ ประสบการณ์เดิม ของผู้เรียนมาใช้ในกิจกรรม เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่ง จะนำไปสู่องค์ความรู้ใหม่ ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติจริง และทั้งหมดนี้จะก่อให้เกิดทักษะต่างๆในการจัดการปัญหา ผนวกกับการเกิดความรู้ใหม่ๆ จากความสนใจของผู้เรียนเอง ซึ่ง ก็เป็นไปตามหลักกาีที่ว่า. "การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ"


แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนแบบ PBL

รูปแบบที่เน้นการดึงเอาศักยภาพของผู้เรียนให้นำออกมาใช้ให้มากที่สุด ฝึกฝนทักษะกระบวนการศึกษาและหาข้อมูลสารสนเทศประกอบกับการตัดสินใจ ค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ศึกษาเรื่องที่สนใจโดยอิงความรู้เดิมที่มีเป็นหลักส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าาู่กระบวนกาีเรียนรู้แบบสืบสอบ (Process of inquiry) ซึ่งเป็นกระบวนการคิดขั้นสูง และเป็นไปตามหลักการที่ว่า "การเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ"

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1.สำรวจความสนใจ

2.วางแผนการทำงาน

3.ลงมือปฏิบัติ

4.เขียนรายงาน

 5.นำเสนอผลงาน

6.กำหนดทิศทางการศึกษาครั้งต่อไป (ผู้เขียนกำหนดขึ้นมาเอง)


ประโยชน์ของการนำไปใช้

 ด้านผู้เรียน. :: ผู้เรียนจะมีความกระตืนรือร้นในการเรียนมากขึ้น เพราะเป็นการเรียนรู้ที่สามารถเลือกได้ตามความสนใจของผู้เรียนเอง และฝึกกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ มีรูปแบบการคิด ที่เป็นระเบียบและสมบูรณ์มากขึ้น และผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดความอยากรู้อยากเรียนมากขึ้น 

ด้านผู้สอน. :: สามารถจัดกิจกรรมการสอนได้ง่ายมากขึ้น โดยผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำ ชี้แนะในส่วนที่ยังขาดในการทำงานของผู้เรียน และผู้สอนสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆกับผู้เรียน ทำให้เกิดการต่อยอดทางความคิดต่อไป


Project based learning (PBL). 
>>. คำถามไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว >>ครูไม่ใช่ศูนย์กลางของการเรียนรู้>>หลักความคิดที่ดี มักมีการลองผิดลองถูก

หมายเลขบันทึก: 507300เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2012 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท