บันทึกประจำเดือนตุลาคม


บันทึกประจำเดือนตุลาคม

บันทึกประจำเดือนตุลาคม  ขอนำเสนอเรื่อง.......

เทคนิคการปรับพฤติกรรม

เทคคนิคการสร้างเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์

  1. เทคนิคการแตกงาน (Discrete trial training) หรือการวิเคราะห์งาน (Task analysis)

เป็นการแตกงานที่จะสอนออกเป็นย่อย ๆ  เป็นขั้นตอนง่าย ๆ  แล้วสอนแยกแต่ละขั้นตอน

  1. การชี้แนะ (Prompting) และการถอดถอนการชี้แนะ (Fading)

การชี้แนะ คือ การที่ให้สัญญาณ การบอก การแสดงท่าทาง หรือการใช้สายตา/การออกคำสั่ง เพื่อช่วยให้เด็กตอบสนองหรือทำได้ถูก

การถอดถอนการชี้แนะ คือ  การลดการชี้แนะลงเมื่อเด็กทำได้ดีแล้ว

  1. เทคนิคการเสริมแรง (Reinforcement)

การให้แรงเสริม คือ การทำให้ความถี่ของพฤติกรรมนั้นเพิ่มขึ้น  โดยให้ตัวเสริมแรง  ซึ่งมี 5 ประเภท  คือ  แรงเสริมทางสังคม (การชม การยิ้ม การลูบหัว) สิ่งของ (ขนม ของเล่น เสื้อผ้า) กิจกรรม (กิจกรรมที่เด็กชอบ แต่เป็นกิจกรรมที่เหมาะสม) เบี้ยอรรถกร (สามารถนำไปแลกเป็นของอย่างอื่นได้) แรงเสริมภายใน (ความรุ้สึก ความคิด ความสุข)

  1. เทคนิคการเกลาพฤติกรรมหรือทักษะ (Shaping)

เป็นการสอนทักษะที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน โดยที่เด็กไม่จำเป็นต้องทำได้ถูกต้อง แค่เกือบถูกต้องหรือใกล้เครียง ก็ให้ผ่านและตอบสนองเรื่อย ๆ  จนเด็กสามารถทำได้สมบูรณ์

  1. เทคนิคการสานต่อพฤติกรรม (Chaning)

เป็นการนำทักษะที่แตกย่อยมาสานต่อให้ต่อเนื่องสมบูรณ์

  1. เทคนิคการแผ่ขยาย (Generalization)

เป็นเทคนิคที่นำทักษะที่เคยเรียนมาแล้วไปใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างจากที่เคยฝึก  รวมถึงผู้ปกครองสามารถนำทักษะที่เด็กเรียนรู้แล้วไปปฏิบัติที่บ้านได้ด้วย

  1. เทคนิคการคงไว้ซึ่งทักษะที่ทำได้แล้ว

เป็นการทบทวนทักษะเก่าสลับกับทักษะใหม่ หรือนำมาผสมผสานกันถ้าเป็นไปได้

เทคนิคการจัดการพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

  1. การหยุดยั้ง (Extinction)

การหยุดให้แรงเสริมที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ  เป็นผลทำให้พฤติกรรมนั้นลดลงและหายไปในที่สุด

  1. การลงโทษ (Punishment)

เป็นการทำให้พฤติกรรมลดลงหรือยุติ  เนื่องจากได้รับการลงโทษ  แต่มักไม่ค่อยนำมาใช้เพราะการลงโทษเป็นเพียงการระงับพฤติกรรมเท่านั้น พอการลงโทษหายไป พฤติกรรมนั้นอาจกลับคืนมาอีก

  1. การใช้เวลานอก (Time out)

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท  คือ  แบบแยกออกไป (การแยกออกไปจากกลุ่มหรือการทำกิจกรรมโดยให้ไปอยู่อีกที่)  แบบไม่ให้เข้าร่วม (การแยกออกจากพื้นที่ที่ทำกิจกรรมเพียงเท่านั้น)  และแบบเข้าร่วม (อยู่ร่วมในกลุ่ม  แต่ไม่มีโอกาสทำกิจกรรม)

  1. การปรับสินไหม (Response Cost)

เป็นการนำตัวเสริมแรงทางบวกออกไป  หลังจากที่บุคคลทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม  เช่น ตัดคะแนน หักดาว  เป็นต้น

  1. การแก้ไขให้ถูกต้องเกินกว่าที่ทำผิด (Overcorrection)

เป็นการแก้ไขพฤติกรรมที่ทำผิด  โดยแก้ไขให้ปรับปรุงสภาพที่ทำผิดให้มากกว่าที่เคยเป็นอยู่ก่อนที่เขาจะทำผิด

 

หมายเลขบันทึก: 506923เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2012 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท