คณะเกษตรฯ มข. เสริมความรู้นักศึกษาใช้ Real Time PCR เพิ่มชิ้นส่วนยีน


คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จับมือ บริษัท กิบไทย จำกัด ฝึกอบรมนักศึกษา ใช้เทคนิคการศึกษา protein electrophoresis และ detection แบบรวดเร็ว และการเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนยีนที่น่าสนใจด้วย Real Time PCR

        ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน (Tropical Feed Resources Research and Development Center,TROFREC) ภาควิชาสัตวศาสตร์ และศูนย์ศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ บริษัท กิบไทย จำกัด จัดการสัมมนาและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพิเศษ 2 เรื่อง ให้แก่นักศึกษาและบุคลากรในภาควิชาต่างๆ ของคณะเกษตรศาสตร์ ในเวลา 2 วัน โดยวันแรก เป็นการสัมมนาพิเศษเรื่อง เทคนิคและวิธีการศึกษา protein electrophoresis และ detection แบบรวดเร็ว (Rapid Tools for Protein Electrophoresis and Detection System) และวันที่ 2 เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพิเศษเรื่อง การเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนยีนที่น่าสนใจด้วยเทคนิค เรียล ไทม์ โพลิเมอร์เรส เชน รีแอคชัน (เรียล ไทม์ พีซีอาร์) (Target gene amplification using Real Time Polymerase Chain Reaction technique (Real Time PCR)) วิทยากรบรรยายและการสาธิตโดย คุณวรพงษ์ วงษ์ปัญญา Gibthai Training Center Manager และ คุณสาวิตรี สุขเหลือ Technical Support (Molecular Biology Product) บริษัท กิบไทย จำกัด โดยศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร.เมธา วรรณพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ TROFREC เป็นผู้ดำเนินการจัดขึ้น เมื่อวันที่ 16-17 ตุลาคม 2555 ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์ศึกษาค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
        คุณวรพงษ์ วงษ์ปัญญา วิทยากรจาก บ.กิบไทย ได้กล่าวถึงการจัดการสัมมนาและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพิเศษทั้ง 2 เรื่องให้แก่นักศึกษาและบุคลากรของคณะเกษตรศาสตร์ ว่า “เป็นการแบ่งปันเทคโนโลยีใหม่ๆและความรู้ด้านวิชาการ กับอาจารย์ นักวิชาการและนักศึกษา ในการศึกษา การวิเคราะห์วิจัยข้อมูลที่มีความสำคัญ ที่ต้องใช้ความละเอียดมากๆ ว่าต้องใช้เครื่องมืออะไรมารองรับงานแต่ละประเภทที่จะทำการศึกษา หากเกิดปัญหาขึ้นจะแก้ไขได้อย่างไร และในอนาคตหากมีผู้สนใจที่จะทำงานในด้านที่มีเทคโนโลยีก้าวไกลแล้ว จะต้องรู้ว่า จะใช้เครื่องมืออะไร ใช้สารอะไร การทำงานเป็นอย่างไร กลไกรการทำงานเป็นอย่างไร จึงทำบริษัทไปเปิดอมรมในเรื่องของการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เนื้อหาความรู้ใหม่ๆในหน่วยงานของภาครัฐ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมทางด้านวิชาการระหว่างบริษัทกับหน่วยงานภาครัฐขึ้นมา ส่วนเรื่องการทำ Real Time PCR และ การศึกษา protein electrophoresis และ detection แบบรวดเร็ว ของคณะเกษตร เนื่องจากว่าเกษตรศาสตร์เป็น Apply Science เพราะฉะนั้นจะต้องใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในการปรับปรุงสายพันธุ์หรือเพื่อพัฒนาคุณภาพของพืชหรือของสัตว์ให้ดียิ่งขึ้น โดยที่เกษตรศาสตร์เป็นหัวใจสำคัญของประเทศ เพราะฉะนั้น ยิ่งคณะเกษตรศาสตร์สามารถพัฒนาได้มากขึ้นเพียงใดก็จะเพิ่มศักยภาพมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น ในส่วนของ Real Time PCR เป็นเทคนิคของการศึกษายีน เนื่องจากว่าการทำปศุสัตว์หรือการทำเกษตรใดๆ ทุกอย่างต้องศึกษาเข้าไปในระดับยีนทั้งนั้น เมื่อมีเทคโนโลยีของ Real Time PCR มาช่วย ก็จะทำให้การศึกษายีนทั้งในพืชและในสัตว์เป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งในด้านเทคโนโลยีใหม่ๆที่นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกได้คิดค้นขึ้นและเกิดขึ้น บริษัทเอกชนมักได้รับรู้ก่อนและเมื่อมีองค์ความรู้เกิดขึ้นก็จะนำเผยแพร่สู่หน่วยวิชาการของภาครัฐต่อไป”
       โดยการจัดการสัมมนาและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพิเศษทั้ง 2 เรื่อง ในเวลา 2 วัน มีหัวข้อเรื่องทั้งบรรยาย สาธิตและฝึกปฏิบัติการ คือ วันอังคารที่ 16 ตุลาคม 2555 เวลา 08.45-12.00 น.เป็นการสัมมนาพิเศษเรื่อง เทคนิคและวิธีการศึกษา protein electrophoresis และ detection แบบรวดเร็ว (Rapid Tools for Protein Electrophoresis and Detection System) และการสาธิตเรื่อง 1) การวัดปริมาณโปรตีนด้วย Qubit 2.0 2)การแยกโปรตีนด้วย BoltTM Mini Gel Tank และ NuPAGE gel 3) การย้อมสีโปรตีนด้วย Simply Blue Safe Stain และ 4) การถ่ายโอนโปรตีนด้วย iBlot dry western blotting system
       และวันพุธที่ 17 ตุลาคม 2555 เวลา 09.00-15.30 น. เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพิเศษเรื่อง การเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนยีนที่น่าสนใจด้วยเทคนิค เรียล ไทม์ โพลิเมอร์เรส เชน รีแอคชัน (เรียล ไทม์ พีซีอาร์) (Target gene amplification using Real Time Polymerase Chain Reaction technique (Real Time PCR)) โดยเป็นการบรรยายเรื่อง 1) เทคนิค Real Time Polymerase Chain Reaction (Real Time PCR)และการประยุกต์ใช้ 2) เครื่องมือ ซอฟแวร์และการแปรผลใน Real Time PCR technology และ 3) เทคนิคการออกแบบ Primers / Probes ซึ่งหลังจากการบรรยายแล้วก็เป็นการปฏิบัติการของผู้เข้าร่วมอบรม ในเรื่อง การทำปฏิกิริยาและการแปรผล Real Time PCR

          คลิกชมภาพข่าว

          กิตติศักดิ์ สิงหา วิเคราะห์ สังเคราะห์และเผยแพร่

คำสำคัญ (Tags): #Real Time PCR Workshop
หมายเลขบันทึก: 506886เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2012 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2012 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท