ความรู้ และทักษะที่จำเป็น ของ งานห้องคลอด


ห้องคลอด

ความรู้ และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงาน : งานบริการพยาบาลงานห้องคลอด

  1. ประเมินสภาพแรกรับ

 

เป้าหมาย

ความรู้

ทักษะ

ระดับ

คำอธิบาย

1.สัมพันธภาพที่ดีกับผู้คลอดและญาติ / ครอบครัว

2. ประเมิน คัดกรองภาวะเสี่ยง และภาวะ แทรกซ้อนได้ถูกต้อง  ครอบคลุมปัญหา และความต้องการ 

3. ช่วยเหลือการปรับตัวระยะแรกรับ และบรรเทาอาการรบกวน

4. ข้อมูลประวัติ   สภาวะสุขภาพ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และการคลอดถูกต้อง  ชัดเจน

5. ผู้คลอด และครอบครัว พร้อมเผชิญการคลอด และการต้อนรับสมาชิกใหม่

1. ภาวะเสี่ยง และภาวะ แทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์ ทุกระยะ
- โรคและภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมและอายุร-กรรม (PIH, APH, PPH, DM, HD, Preterm, Post term)
- การดูแลรักษา และการพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะเสี่ยง

2. ธรรมชาติการตั้งครรภ์  การคลอด กายวิภาค และสรีรวิทยาของการตั้งครรภ์และการคลอด

3. การปรับตัวระยะเปลี่ยนผ่าน

4. ภาวะสุขภาพองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์

5.  การจำแนกประเภทและความรุนแรงทางสูติกรรม

7.  การบันทึก และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

1. การประเมิน และคัดกรองภาวะเสี่ยง รวมการซักประวัติ  การตรวจครรภ์  ตรวจร่างกายที่เกี่ยวข้อง  การศึกษาประวัติการตั้งครรภ์ และประวัติครอบครัว

2. การแยกแยะ ปัญหา ภาวะปกติ และผิดปกติ  อาการรบกวน

3.  การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดรักษา 

4.  การตัดสินใจ จัดการ  ให้การช่วยเหลือภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน

5. การบรรเทาอาการรบกวน

6. การสื่อสารข้อมูลสำคัญในการประสานงานกับแพทย์ และครอบครัว

7. การบันทึกข้อมูลระบุปัญหา และการเฝ้าระวังที่สำคัญ

1

สามารถปฏิบัติการพยาบาลภายใต้การดูแล และคำแนะนำของหัวหน้าทีม ในเรื่อง

- ประเมิน คัดกรองภาวะเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อนได้ ในรายที่ไม่ซับซ้อน

- ขอความช่วยเหลือ แนะนำจากหัวหน้าทีมได้อย่างเหมาะสม
- ให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ / ผู้คลอด และญาติได้ ตามแนวทางที่กำหนด

2

- มีความสามารถระดับ 1  และสามารถ

- ประเมินภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ได้ตามมาตรฐาน / แนวทางที่กำหนด

- ให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ/ผู้คลอดได้ ทั้งในรายปกติ และรายที่มีปัญหา ไม่ซับซ้อน

- ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีปกติ และในรายที่ไม่ซับซ้อนได้

3

- มีความสามารถระดับ 2  และสามารถ

- ประเมินภาวะเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อยได้อย่างแม่นยำ

- จัดการช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่พบความผิดปกติได้รวดเร็ว ทันเวลา

- ให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ / ผู้คลอด ทั้งในรายปกติ และรายที่มีปัญหาซับซ้อนที่พบบ่อยได้อย่างเจน

- สามารถประสานความร่วมมือกับทีมสหสาขา และญาติผู้ป่วย เพื่อทำความเข้าใจ  ช่วยเหลือ  แก้ไข และป้องกันภาวะฉุกเฉิน

4

-แสดงความสามารถระดับ 3 และสามารถ

- ประเมินภาวะเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อน ได้อย่างแม่นยำ

- จัดการช่วยเหลือเบื้องต้นได้รวดเร็วทันเวลาในรายที่มีปัญหา ซับซ้อน หรือยากลำบากต่อการดูแล

- เป็นที่ปรึกษา  กำกับ  ดูแล ให้ทีมการพยาบาลสามารถ ประเมิน และจัดการดูแล ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการเป็นไปได้อย่างปลอดภัย

5

-แสดงความสามารถระดับ 4   และสามารถ

- พัฒนามาตรฐาน / แนวทางปฏิบัติ การประเมิน คัดกรองภาวะเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อน  และการพยาบาล

- พัฒนาระบบปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ / ผู้คลอด และความคุ้มค่าของระบบสุขภาพ

 

 2.  การดูแลหญิงตั้งครรภ์ระยะรอคลอด

 

เป้าหมาย

ความรู้

ทักษะ

ระดับ

คำอธิบาย

 1.  ประเมินภาวะปกติ และผิดปกติ  ความก้าวหน้าของการคลอดได้ถูกต้อง

2. ส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอดได้ถูกต้อง

3. ได้รับการเฝ้าระวังที่ใกล้ชิด ได้รับ Early detection ถูกต้อง  ทันเวลา

4. ช่วยเหลือแก้ไขภาวะผิดปกติทั้งของมารดา และทารกได้อย่างเหมาะสม

5. ได้รับการวินิจฉัย และเข้าสู่การดูแลระยะคลอดในเวลาที่เหมาะสม

6. ผู้คลอดและครอบครัวได้รับข้อมูลต่อเนื่อง

การดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะรอคลอด

1. องค์ประกอบของการคลอด

2. กลไกการคลอด

3. การประเมิน และเฝ้าระวังความก้าวหน้าของการคลอด

4. ความผิดปกติ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ในระยะรอคลอด

5. การชักนำการคลอด /ใช้ยาเสริมการคลอด

6.  การบริหารยาและสารละลายที่ใช้ในระยะรอคลอด

7. การจัดการความเสี่ยงในระยะรอคลอด

8. มาตรฐานการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ ระยะเจ็บจริง

9. การยับยั้งการคลอด

 

1. การให้กำลังใจ การสื่อสาร ให้ข้อมูลผู้คลอด และญาติ / ครอบครัว

2. การตรวจครรภ์ และการวินิจฉัยความก้าวหน้าเข้าสู่การคลอด

3 .การคิดวิเคราะห์ข้อมูลการเฝ้าระวัง และการวินิจฉัยปัญหาระหว่างการเฝ้าคลอด

4. การตัดสินใจวางแผน และจัดการให้การช่วยเหลือภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน

5. การบรรเทาอาการปวด และอาการรบกวนของผู้คลอดระหว่างรอคลอด

6.  การจัดการควบคุมความเสี่ยง

7. การสื่อสารกับแพทย์ เพื่อการจัดการปัญหาเร่งด่วน ฉุกเฉิน

1

สามารถปฏิบัติการพยาบาลภายใต้การดูแล และคำแนะนำของหัวหน้าทีม ในเรื่อง

- ประเมิน เฝ้าระวังภาวะเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อนได้ ในรายที่ปกติ / ไม่ซับซ้อน

- ขอความช่วยเหลือ แนะนำจากหัวหน้าทีมได้อย่างเหมาะสม
- ให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ / ผู้คลอด และญาติได้ ตามแนวทางที่กำหนด

2

- มีความสามารถระดับ 1  และสามารถ

- ประเมิน  เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ได้ตามมาตรฐาน / แนวทางที่กำหนด

- ดูแล และบริหารยาที่ใช้ ทั่วไปตามที่ได้รับมอบหมาย

- ให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ / ผู้คลอดได้ ทั้งในรายปกติ และรายที่มีปัญหาไม่ซับซ้อน

- ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีปกติ และในรายที่ไม่ซับซ้อนได้

3

- มีความสามารถระดับ 2  และสามารถ

- ประเมิน  เฝ้าระวังภาวะเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อยได้อย่างแม่นยำ

- จัดการช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่พบความผิดปกติได้รวดเร็ว ทันเวลา

- ให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ / ผู้คลอด ทั้งในรายปกติ และรายที่มีปัญหาซับซ้อนที่พบบ่อยได้อย่างเจน

- ดูแลผู้คลอดที่ได้รับการชักนำการคลอด และ และบริหารยา และสารละลายในระยะรอคลอดได้เหมาะสม

- สามารถประสานความร่วมมือกับทีมสหสาขา และญาติผู้ป่วย เพื่อทำความเข้าใจ  ช่วยเหลือ  แก้ไข และป้องกันภาวะฉุกเฉิน

4

-แสดงความสามารถระดับ 3 และสามารถ

- ประเมินภาวะเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อน ได้อย่างแม่นยำ

- จัดการช่วยเหลือเบื้องต้นได้รวดเร็วทันเวลาในรายที่มีปัญหา ซับซ้อน หรือยากลำบากต่อการดูแล

- เป็นที่ปรึกษา  กำกับ  ดูแล ให้ทีมการพยาบาลสามารถ ประเมิน  เฝ้าระวัง และจัดการดูแล ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการเป็นไปได้อย่างปลอดภัย

5

-แสดงความสามารถระดับ 4   และสามารถ

- พัฒนามาตรฐาน / แนวทางปฏิบัติ การประเมิน คัดกรองภาวะเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อน  และการพยาบาล

- พัฒนาระบบปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ / ผู้คลอด และความคุ้มค่าของระบบสุขภาพ

 

2.1   การบรรเทาอาการเจ็บครรภ์

 

เป้าหมาย

ความรู้

ทักษะ

ระดับ

คำอธิบาย

1.  ทีมการพยาบาลประเมินความปวด และช่วยเหลือบรรเทาอาการปวดทั้งวิธีการใช้ยา และไม่ใช้ยาได้ถูกต้อง

2.  ผู้คลอดได้รับการเฝ้าระวังอาการข้างเคียง และภาวะ แทรกซ้อนจากการใช้ยาระงับปวดได้ถูกต้อง

3.  ผู้คลอดได้รับการจัดการความปวดอย่างต่อเนื่อง

1. กลไกความปวด

2. การเจ็บครรภ์ตามปกติ

3. วิธีการลดปวดโดยไม่ใช้ยา

4. วิธีการลดปวดด้วยยา และการบริหารยาลดปวด รวมเภสัชวิทยาของยาแต่ละตัว

5. วิธีการจัดการ ช่วยเหลือ  แก้ไขผลข้างเคียงของยาแต่ละชนิด

 

1. การประเมินความเจ็บปวด

2. การแยกแยะอาการเจ็บครรภ์ที่ปกติ และผิดปกติ

3. การใช้วิธีการต่างๆ เพื่อลดปวด (เช่น การนวด  การสอนการหายใจ  การทำสมาธิ  การเปลี่ยนอิริยาบท)

4. การบริหารยาแก้ปวด

5. การสื่อสาร และให้ข้อมูลผู้คลอดและครอบครัว

 

1

สามารถปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าทีมในเรื่อง

- การประเมินความเจ็บปวดในกรณีปกติ

- บรรเทาอาการปวดโดยไม่ใช้ยาด้วยวิธีการเบื้องต้น ในหญิงตั้งครรภ์ปกติ

2

- มีความสามารถในระดับ 1 และสามารถ

- ประเมินความปวด และแยกแยะอาการผิดปกติที่เห็นชัดเจน

- บรรเทาอาการปวดโดยไม่ใช้ยาด้วยวิธีการต่างๆ ตามแนวทางปฏิบัติ

- บริหารยาที่ใช้บ่อยตามแนวทางที่กำหนดได้ถูกต้อง

3

- มีความสามารถในระดับ 2 และสามารถ

- ประเมิน และแยกแยะความปวดที่ปกติ และผิดปกติได้อย่างแม่นยำ

- สามารถใช้วิธีการลดปวดโดยไม่ใช้ยา ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

- บริหารยาที่ใช้บ่อยได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย

4

- มีความสามารถในระดับ 3 และ สามารถ

- เป็นที่ปรึกษา  และช่วยเหลือการประเมินความปวดของทีมการพยาบาล

- ใช้วิธีการจัดการความปวดได้หลากหลายในรายที่ยากลำบาก  ซับซ้อน

-  เป็นที่ปรึกษา และจัดการบริหารยาในรายที่ยุ่งยากซับซ้อน ได้ปลอดภัย

5

- มีความสามารถในระดับ 4 และสามารถ

-  จัดทำ และเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาในการจัดทำมาตรฐาน / คู่มือ / หลักสูตร และเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมทีมการพยาบาลในการประเมิน   การจัดการความปวด  และการบริหารยาที่ใช้ในระยะรอคลอด

 

3. การทำคลอดปกติ

 

เป้าหมาย

ความรู้

ทักษะ

ระดับ

คำอธิบาย

1.  การดำเนินการคลอดเป็นไปตามปกติ

2.  มารดา และทารกปลอดภัย

ไม่เกิดอุบัติการณ์ ความเสี่ยง หรือภาวะแทรกซ้อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. Mechanism of Labour ที่ปกติ และผิดปกติ

2. ภาวะแทรกซ้อนและความเสี่ยง ที่เกิดขึ้นได้ในระยะคลอด

3. การพิทักษ์สิทธิมารดา และทารก

4. สรีรวิทยา และการปรับตัวของทารกแรกเกิด

5. การประเมินสภาพทารกแรกเกิด

6. การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในห้องคลอด

 

1.  การเตรียมผู้คลอด

2. การเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ ช่วยคลอด

2.  การวินิจฉัยความ ก้าวหน้าของการคลอด

3.  การให้กำลังใจ  และการสื่อสาร ให้ข้อมูลการปฏิบัติแก่มารดา ระหว่างการคลอด

4.  การช่วยคลอด และการทำคลอด อย่างนุ่มนวล (การช่วยจัดท่ามารดา  การป้องกันการฉีกขาดของช่องคลอด  และอวัยวะใกล้เคียง  การตัดฝีเย็บที่เหมาะสม  การจัดท่า และประคับประคองทารกระหว่างการคลอด)

5.  การทำคลอดรก และการตรวจรก

6. การป้องกัน และแก้ไขภาวะตกเลือดหลังคลอด

7. การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่-ลูก

10.   การบันทึกการคลอด

1

สามารถปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าทีมอย่างใกล้ชิดในเรื่อง

- การประเมินการเข้าสู่ระยะคลอดกรณีปกติได้ถูกต้อง

- การทำคลอดในกรณีปกติ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

- ประเมิน และช่วยเหลือทารกได้ถูกต้อง ในกรณีปกติ

- ส่งเสริมสายสัมพันธ์ แม่-ลูก ได้ตามแนวทางที่กำหนด

- บันทึกการคลอดได้ถูกต้อง

2

- มีความสามารถในระดับ 1   ภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าทีม เป็นระยะๆ  

3

- มีความสามารถในระดับ 2   โดยอิสระ และสามารถ

- ประเมินความเสี่ยง และแยกแยะปัญหาที่ผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว  แม่นยำ

- ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีที่ผิดปกติได้ถูกต้อง

- ปรึกษา และขอความช่วยเหลือจากหัวหน้าทีมได้อย่างรวดเร็ว ทันการ

- สื่อสาร  ประสานงานแพทย์ เพื่อจัดการปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว

4

- มีความสามารถในระดับ 3 และ สามารถ

- เป็นที่ปรึกษา  และช่วยเหลือทีมการพยาบาล ในกรณีที่พบความผิดปกติของมารดา และทารก

- ช่วยเหลือดูแล และจัดการการคลอดที่มีปัญหา ยุ่งยาก ซับซ้อน ได้ดี

- จัดการกับภาวะแทรกซ้อนได้

5

- มีความสามารถในระดับ 4 และสามารถ

-  เป็นแบบอย่างของการปฏิบัติงาน 

- จัดทำ และเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาในการจัดทำมาตรฐาน / คู่มือ / หลักสูตร และเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมทีมการพยาบาลได้

 

 

 

 

 

 

4.  การเฝ้าระวัง  ติดตามภาวะฉุกเฉิน วิกฤต   และอาการเปลี่ยนแปลงด้วยความรอบคอบ ไม่ประมาท

 

เป้าหมาย

ความรู้

ทักษะ

ระดับ

คำอธิบาย

1.  สามารถตรวจพบปัญหา อาการ เปลี่ยนแปลงของผู้คลอดได้อย่างรวดเร็ว  ทันเวลา

2.  ผู้คลอดได้รับการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา ได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ก่อนที่อาการจะเลวลง

1.  ผลกระทบของพยาธิ สรีรภาพต่อการเกิดภาวะฉุกเฉิน วิกฤต อาการรบกวน  ภาวะแทรกซ้อน ในผู้คลอด เช่น ผู้คลอดที่มีโรคประจำตัว (DM  HT  เป็นต้น)  ปัญหาHypovolumic shock, Eclampsia  เป็นต้น

2.  การช่วยเหลือภาวะฉุกเฉินในผู้คลอด

3.  การวิเคราะห์และอ่านผลทางห้องปฏิบัติการ

 

1. การคิดวิเคราะห์  แปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ การ  เชื่อมโยงภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน  อาการรบกวน  ภาวะแทรกซ้อน

2.  การคิด วิเคราะห์  ตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย  แผนการเฝ้าระวัง  การจัดการภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน  ภาวะแทรกซ้อนอย่างรวดเร็ว  ทันเหตุการณ์ 

3.  การเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และทีมช่วยเหลือ จัดการภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน4.  การสื่อสารในภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน

4.  การจัดการภาวะ ช้อค  ชัก  และ การช่วยฟื้นคืนชีพ

1

- สามารถสังเกต สอบถาม ติดตามเฝ้าระวังตาม อาการ อาการแสดง ที่ได้รับมอบหมายภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าทีม

2

- มีความสามารถตามระดับ 1 และสามารถ

- สังเกต สอบถาม ติดตามเฝ้าระวังตาม อาการ อาการแสดง ที่ได้รับมอบหมาย

- ประมวลข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่ ที่ชัดเจน พบจากการเฝ้าระวัง เพื่อใช้ในการตัดสินใจจัดการแก้ปัญหา (Early detection) ตามแนวทางที่กำหนด

- สามารถจัดเตรียมอุปกรณ์  เครื่องมือ ช่วยชีวิตได้ ตามแนวทางที่กำหนด

3

- มีความสามารถตามระดับ 2 และ

- มีความรู้ เข้าใจ ผลกระทบของพยาธิ สรีรวิทยา ต่ออาการ อาการแสดง  อาการรบกวน  การเกิดภาวะวิกฤต  ฉุกเฉิน  เชื่อมโยงการเฝ้าระวังที่กำหนด

- สามารถประมวลข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่ ที่ชัดเจน พบจากการเฝ้าระวัง เพื่อใช้ในการตัดสินใจจัดการแก้ปัญหา (Early detection) ด้วยตนเอง

- ขอการปรึกษา  ตัดสินใจรายงาน และจัดการเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสม

- สามารถเตรียม และปรับใช้อุปกรณ์  เครื่องมือการจัดการภาวะเร่งด่วน ฉุกเฉิน ได้อย่างเหมาะสม

4

- มีความสามารถในระดับ 3 และ

- มีความรู้ เข้าใจ ผลกระทบของพยาธิ สรีรวิทยา ต่ออาการ อาการแสดง  อาการรบกวน  การเกิดภาวะวิกฤต  ฉุกเฉิน  และสามารถตัดสินใจเลือก / กำหนด / เปลี่ยนแปลง การเฝ้าระวัง

- สามารถประมวลข้อมูลการเปลี่ยนแปลง  ที่พบจากการเฝ้าระวัง ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถตัดสินใจจัดการแก้ปัญหา (Early detection) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5

- มีความสามารถในระดับ 4 และสามารถ

- ใช้ข้อมูลผลลัพธ์  การเปลี่ยนแปลง อาการ อาการแสดงของผู้ป่วย ใช้ในการวางแผนการเฝ้าระวัง และการดูแลต่อเนื่องของทีมการพยาบาล และทีมสหสาขา

- พัฒนามาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติ  การเฝ้าระวัง ติดตามภาวะฉุกเฉิน  วิกฤต  อาการรวบกวน โดยอาศัยข้อมูลผลการปฏิบัติงานในหน่วยงาน

- เป็นที่ปรึกษา  เป็นวิทยากร ถ่ายทอด ฝึกอบรมการดูแลภาวะฉุกเฉิน วิกฤตของผู้คลอด

 

5. การตัดฝีเย็บ และการเย็บซ่อมฝีเย็บ                           

 

 

เป้าหมาย

ความรู้

ทักษะ

ระดับ

คำอธิบาย

1.  ตัดฝีเย็บอย่างเหมาะสม (ช่วงเวลา  ตำแหน่ง และขนาดแผล)

2.  เย็บซ่อมแผลฝีเย็บได้ถูกต้องตามมาตรฐาน และเทคนิคการเย็บซ่อมแผลฝีเย็บ

3.  ให้ข้อมูลการเย็บแผล และวิธีการดูแลแผลฝีเย็บได้ถูกต้อง

1.  กายวิภาคของอวัยวะสืบพันธุ์ และอวัยวะใกล้เคียง รวมถึงชั้นของผิวหนังบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์

2.  มาตรฐาน/ แนวทางปฏิบัติการดูแลแผลฝีเย็บ

 

 

 

 

1.  การประเมินขนาดทารก และขนาดของบาดแผล

2.  การตัดฝีเย็บ

3.  การฉีดยาชาเฉพาะที่

4.  การเย็บซ่อมแผลฝีเย็บ

5.  การให้ข้อมูลการเย็บแผล และการดูแลแผลฝีเย็บ

 

 

 

 

 

 

 

1

- สามารถตัด และเย็บซ่อมแผลฝีเย็บ ในกรณีคลอดปกติได้ ภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าทีม

- สามารถให้ข้อมูลผู้คลอดได้ถูกต้อง

2

- สามารถตัด และเย็บซ่อมแผลฝีเย็บ ในกรณีคลอดปกติได้ โดยอิสระ

- สามารตัดสินใจขอคำปรึกษาหัวหน้าทีมได้อย่างเหมาะสม

- สามารถให้ข้อมูลผู้คลอดได้ถูกต้อง

3

- มีความสามารถในระดับ 2 และสามารถ

- ตัด และเย็บซ่อมแผลฝีเย็บในรายที่มีปัญหาได้

4

- มีความสามารถในระดับ 3 และสามารถ

- ทำนาย  คาดการณ์ และจัดการป้องกัน / แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการตัด และเย็บซ่อมฝีเย็บได้

5

- มีความสามารถในระดับ 4 และสามารถ

-  เป็นที่ปรึกษา  สอน  ฝึกอบรม การตัด และเย็บซ่อมแผลฝีเย็บแก่ บุคลากรพยาบาล

 

5. การดูแลทารกแรกเกิด

 

เป้าหมาย

ความรู้

ทักษะ

ระดับ

คำอธิบาย

1. ทารกแรกเกิดได้รับการดูแลตามมาตรฐาน

2. ทารกแรกเกิดปลอดภัยจากความเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อน

 

1.  สรีรวิทยา และการปรับตัวของทารกแรกเกิด

2. การประเมินสภาพทารกแรกเกิด

3.  ความเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อนของทารกแรกเกิด

4. มาตรฐาน / แนวทางปฏิบัติการดูแลทารกแรกเกิด

 

1.  การช่วยเหลือการหายใจ และการปรับตัวของทารกแรกเกิด

2. การประเมินสภาพทารกแรกเกิด และการแยกแยะความปกติ-ผิดปกติของทารกแรกเกิด

3.  การดูแลทารกตามมาตรฐาน / แนวทางปฏิบัติ (การควบคุมอุณหภูมิ, การหยอดตา/ป้ายตา  เป็นต้น)

4. การแก้ไขทารก และการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด

7.  การระบุตัวทารกแรกเกิด

8. การให้ข้อมูลมารดา และครอบครัว

 

1

สามารถปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าทีมอย่างใกล้ชิดในเรื่อง

- การดูแลช่วยเหลือการหายใจ ประเมินสภาพทารกแรกเกิดในกรณีปกติ

- การดูแลทารกตามมาตรฐาน – แนวทางปฏิบัติในกรณีปกติ

- ร่วมทีมแก้ไขทารกแรกเกิด

2

สามารถปฏิบัติงานตามระดับ 1  ภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าทีม และสามารถ

- ขอคำปรึกษาหัวหน้าทีมอย่างเหมาะสม

- ให้ข้อมูลมารดา และครอบครัวในรายปกติ

3

- มีความสามารถในระดับ 2 ได้อย่างอิสระ และสามารถ

- ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น ในกรณีทารกมีปัญหาไม่ซับซ้อ ..

</
คำสำคัญ (Tags): #ห้องคลอด
หมายเลขบันทึก: 506594เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2012 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2014 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

แอบจิ๊กไปให้น้องที่ LR ดูบ้างนะคะพี่่เอ๋

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณที่แบ่งปันกันนะคะ ขอนำมาเป็นแนวทางบ้าง 

รบกวนส่งเมลให้หน่อยได้ไหมคะ ถ้าได้จะดีมากคะเรื่อง ITพี่ไม่ค่อยถนัด

สมจิตร

          ขอเบอร์เมล์ด้วยคะ จะจัดส่งให้

ขอบคุณมากที่แชร์ competency ถ้ามีีแนวทางอื่นอยากให้แชร์อีก เพื่อให้แนวทางแก่งานห้องคลอดที่เขียนยังไม่เป็น ขอบคุณมาก

เข้ามาอ่นช้า แต่ก็ขอบคุณมากที่จะส่งขอ้มูลให้  ส่งมาตามเมล์ได้นะค่ะ ยังต้องการอยู่ค่ะ

ฐานิญา มโนสัมฤทธิ์

รบกวนข้อมูลดีๆด้วยคนนะคะ E-mail [email protected] ขอบคุณคะ

ขอบคุณนะคะ....อ่านได้แต่ไม่เก่งไอทีอยากได้มาพัฒนางานห้องคลอดต่อค่ะรบกวนอาจารย์ส่งให้ทางเมล์นี้ได้ไหมคะ

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท