สุขภาพมิติปฐมภูมิสู่การเรียนรู้เชื่อมโยง


นี่คือปรากฏการณ์ที่ข้าพเจ้าเริ่มต้นก้าวไปสู่การเรียนรู้...บางครั้งเราอาจเข้าใจมิติสุขภาพระดับปฐมภูมิในด้านที่เรา(ข้าพเจ้าเอง)ยืนอยู่ ... ซึ่งอาจไม่ใช่ด้านที่คนหน้างานกำลังเผชิญอย่างแท้จริง การเรียนรู้อย่างละวางอัตตาจะเป็นประตูที่นำไปสู่การทำความเข้าใจ

เมื่อหลายวันก่อนข้าพเจ้ามีโอกาสได้ร่วมเรียนรู้ กระบวนการที่ถ่ายโยงความรู้อันเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างงานประจำไปสู่การเกิดการพัฒนาคุณภาพ

ข้าพเจ้ามอง R2R ในมิติที่ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อม พัฒนาหน้างาน <===> คุณภาพ

กระบวนการทางการเรียนรู้ที่นำไปสู่การแก้ปัญหาหน้างานอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการ และที่สำคัญต้องเป็นการลงมือเรียนรู้ที่จะแก้ไขด้วยหัวใจอย่างใคร่ครวญ

คำถามหนึ่ง...ที่ผุดขึ้นในใจคือ

"การนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติ"...เป็นเรื่องที่ท้าทาย ที่ข้าพเจ้าควรเร่งฝึกฝนตนเองเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการได้เกิดการเรียนรู้ด้วยปัญหาและหัวใจ (เปี่ยมสุข)

(ภาพจาก Anuwat Supachutikul)

มีหลักการ...และมุมมองมากมายที่ข้าพเจ้าได้เก็บ Data เข้ามาไว้ในคลังความรู้ที่รอวันตกผลึกผ่านการปฏิบัติ

ในมิติการทำงาน...

ประเด็นหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้ตั้งข้อสังเกตในตนเอง คือ คล้ายมันมีช่องว่างซึ่งไม่แน่ใจว่ากว้างมากน้อยเพียงใด ระหว่างผู้รู้มากมายที่มานั่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและนำสิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นไปใช้ในหน้างาน ในกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่ง

และแล้ววันนี้...

ข้าพเจ้าก็ได้เผชิญกับสถานการณ์จริงที่น่าสนใจมาก เมื่อได้ไปร่วมชวนคนหน้างานในระดับปฐมภูมิหันกลับมามองหน้างานและใคร่ครวญนำไปสู่การแปรเปลี่ยนจากปัญหาหน้างานมาเป็น "คำถามการวิจัย"

ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย

บุคลากรสาธารณสุขมากมายที่ฝังตัวอยู่ในพื้นที่ บริบทของหน้างานที่ปรากฏมีมากมาย และดูเหมือนเป็นปัญหาที่ห่างไกลออกไปจากความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเชิงระบบได้จริง

ดังนั้น...คนหน้างานเหล่านี้จึงทำงานเพื่อที่ว่างานในแต่ละวันจะเคลียร์ออกไปได้มากมายน้อยอย่างไร

วันนี้ข้าพเจ้าได้คิดกับตนเองว่า...

กระบวนการที่เกิดขึ้นในการนำ R2R มาใช้แก้ไขและพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่ จะต้องเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องยาวนาน จนเกิดเป็นนวัฒนธรรมนั่นแหละ ถึงจะได้เรียกว่าเกิดทักษะและจิตวิญญาณแห่งความเป็นนักพัฒนางานประจำด้วยการทำวิจัย (R2R)

...

๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕

(ภาพจาก  Akarin Toey )

คำสำคัญ (Tags): #ha#km#r2r
หมายเลขบันทึก: 505771เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2012 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในความคิดของคนหน้างาน ก็จะคิดว่า
ทำงานไปแต่ละวันก็เหนื่อยเกือบตายอยู่แล้ว ทำงานไม่ทัน ปริมาณงานมากมาย จะให้ทำอะไรอีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท