Mae
ข้อผิดพลาดในการออกแบบเว็บไซต์ Mae ข้อผิดพลาดในการออกแบบเว็บไซต์

การพัฒนาปัญญา


พัฒนาปัญญา..พัฒนาองค์กร

ผมเองหลงเข้าใจผิดมาโดยตลอด คิดไปว่าผู้ที่มีความรู้สูงก็คือผู้ที่มีปัญญา แต่ดูไปดูมาก็ได้พบว่าผู้ที่มีความรู้สูงจำนวนมากกลับไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต มีการตัดสินใจที่ผิดพลาด ครอบครัวแตกแยก ขาดความอบอุ่น ชีวิตเต็มไปด้วยความทุกข์

แม้ว่าโลกยุคสหัสวรรษจะเต็มไปด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ให้ความสะดวกสบายกับชีวิตมากมายก็ตาม แต่ชีวิตของคนก็ยังไร้ซึ่งความสุข เข้าทำนอง “High Tech, High ทุกข์นั่นเองคำถามที่ตามมาก็คือการศึกษาจะช่วยให้เราเข้าหาความสุขได้หรือไม่?” “ความสุขที่แท้จริงนั้นเป็นเช่นไร?” ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ ผมจะขอแบ่งประเภทของการเรียนรู้ ออกเป็น 3 ระดับ อย่างกว้างๆ คือ 1. รู้จำ 2.รู้จริง และ 3. รู้แจ้ง ระบบการศึกษาที่ผ่านมาในอดีตมักจะเป็นการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้ในระดับแรก คือเป็นการรู้จำ อันได้แก่การเรียนรู้ตามตัวบท ตามตัวหนังสือ หรือตามคำสอน เป็นการเรียนแบบที่มุ่งเน้นการท่องจำให้พูดได้ เจื้อยแจ้วเป็นนกแก้วนกขุนทองครั้นเมื่อถึงเวลาสอบใครที่ตอบได้ใกล้เคียงกับที่อาจารย์สอนมากที่สุดก็จะเป็นผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด การศึกษาแบบ รู้จำนี้ ผมได้นิยามให้ครอบคลุมกิจกรรมในส่วนของการฝึกฝนอันเป็นผลมาจากการฝึกอบรม (Training) ไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากการฝึกฝนส่วนใหญ่ก็จะเน้นการจดจำขั้นตอนต่างๆ ไว้ เช่น เมื่อลูกค้าเปิดประตูร้านเข้ามาจะต้องกล่าวอะไรกับลูกค้าเป็นการต้อนรับ เรียกได้ว่าต้องฝึกฝนจนจำได้จึงจะสามารถทำได้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ได้รับการสอนมาการเรียนรู้ระดับที่สองเป็นเรื่องของการ รู้จริงซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจะถือว่าเป็นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการศึกษา เพราะเป็นการเรียนรู้ที่เน้นความเข้าใจเป็นหลัก ไม่ใช่ว่าสักแต่จำให้ได้เหมือนในระดับแรก เป็นการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยข้อมูล อาศัยการวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องเหตุและผล เป็นการศึกษาที่อิงการปฏิบัติจริง ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดความแจ่มชัดในเรื่องต่างๆเป็นอย่างดี ทำให้ได้เรียนรู้จากการกระทำหรือที่เรียกว่า Learning by doing เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือจากการศึกษาที่ได้มาจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ ทำให้เกิดความเข้าใจในปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆ จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สาม ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของปัญญาโดยตรงเป็นการเรียนรู้ในระดับที่ว่าเป็นการรู้แจ้งอันหมายถึงการเรียนรู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของสมอง สมองเป็นการเรียนรู้ใน 2 ระดับแรก แต่เรื่องปัญญาเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความรู้สึก เป็นเรื่องของสามัญสำนึก และจิตวิญญาณ เป็นเรื่องของชีวิตและการมองโลก เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทัศนคติ

การเรียนรู้ 2 ระดับแรกสอนให้คน คิดเป็น ทำเป็นส่วนการเรียนรู้ในระดับที่ 3 ถือเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้คน คิดถูก ทำถูก

หากผู้บริหารองค์กรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทั้ง 3 ระดับนี้แล้ว ผมเชื่อว่าเป้าหมายของการบริหารองค์กรเพื่อให้ได้มาซึ่ง งานที่ได้ผล และคนที่เป็นสุขก็ย่อมเป็นไปได้อย่างแน่นอน

เครดิต : ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด

 

ในความคิดของข้าพเจ้าจริงอยู่ที่มีความรู้อยู่สามชนิดคือ รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง การเรียนรู้ระดับแรกคือรู้จำคือเรียนรู้ เรียนจำตามหนังสือ หรือคำสอน เป็นการเรียนแบบมุ่งเน้นการท่องจำให้พูดได้ การเรียนรู้ระดับสองคือ รู้แจ้ง ซึ่งมีความจำเป็นมาก เพราะเป็นการเรียนรู้ที่เน้นความเข้าใจเป็นหลัก เรียนรู้ต้องอาศัยข้อมูล อาศัยการวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจในเรื่องราวต่างๆที่ศึกษา เป็นการอิงจากการปฏิบัติจริง แต่การเรียนรู้ระดับสาม ถือได้ว่าเกี่ยวกับปัญญาโดยตรง คือ รู้แจ้ง ซึ่งก็หมายถึงเป็นการเรียนรู้นอกเหนือจากขอบเขตสมอง นอกขอบเขตบทเรียน เป็นเรื่องที่ต้องใช้การมองโลกและทัศนคติเป็นสำคัญ แต่เมื่อมาปรับใช้กับการศึกษาแล้ว เป็นที่น่าเสียดายว่า นักศึกษาส่วนมากใช้ระบบการเรียนรู้แบบรู้จำ และจำสั้นๆเสียด้วย น้อยมากที่จะก้าวไปสู่การรู้จริง และแทบจะหาไม่เจอในส่วนรู้แจ้ง การปล่อยชีวิตเราดำเนินไปเรื่อยๆโดยไม่มีจุดมุ่งหมายในการมาเรียน ไม่มีความรับผิดชอบในหน้าที่เรียน การทำงานส่ง และ อนาคตตัวเอง เป็นปัญหาส่วนใหญ่ที่ทำให้การเรียนรู้ทั้งหมดที่ควรจะก้าวไปถึงจุดรู้จริงและรู้แจ้ง กลับหยุดชะงักแค่รู้จำ และ ไม่มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง กลายเป็นเห็นว่าการศึกษาความรู้ซึ่งเป็นเครื่องชี้นำอนาคตเป็นเรื่องฉาบฉวย ทำเพียงเพื่อให้ผ่านๆไป แล้วถ้าทุกคนเป็นอย่างนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับอนาคตของสังคมไทย...แค่คิดก็เกิดความเศร้าขึ้นมา ทางที่ดีเราควรจะหาทางพัฒนาตนเองให้ก้าวผ่านการรู้จำ ไปให้ถึงการรู้จริงได้แล้ว แม้จะยาก แต่คงไม่เกินความสามารถ ความพยายาม ของบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็น ปัญญาชน 

 
คำสำคัญ (Tags): #การพัฒนาปัญญา
หมายเลขบันทึก: 50531เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2006 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
      อ่านแล้วได้ความรู้เพื่มเติมมากเลยค่ะ ทำให้เข้าใจอะไรหลายๆอย่ามากขึ้น

 

เป็นบทความที่ดีนะ .. .

ปัญญาชน ต้องมี 3 อย่าง

อย่างที่บอก รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง

ยิ่งเป็นนักศึกษาด้วยแล้ว ไม่ควรจำอย่างเดียวจริงๆ

เห็นด้วยที่ว่า จำ แล้ว ก็ต้องรู้แจ้ง

เป็นบทความที่มีประโยชน์ดี

เป็นประโยชน์กับนักศึกษาอย่างเรา ^^

 

งึม รู้จำ รู้จริง รุ้แจ้ง
เห็นด้วยอย่างยิ่งคับ

 

 ชอบประโยคที่ว่า " High Tech, High ทุกข์ " มากๆเรย

อ่านแล้วได้ความรู้มากๆเลยค่ะ

;)

อ่านและเข้าใจลึกซึ้งเลยอ่ะค่ะ ว่าคนเราแค่รู้จำอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องรู้จริง รู้แจ้งด้วย ไม่งั้นแค่เรียนไปผ่านๆคงไม่ก่อประโยชน์อะไรขึ้นมาแน่นอน แล้วสังคมไทยจะพัฒนาไปได้อย่างไร? ถ้าเรายังเลือกที่จะรู้จำต่อไป...

 

อ่านแล้วได้ความรู้รอบตัวเพิ้มขึ้นมากเลยครับ ขอบคุณที่เอามาให้อ่านนะคร้าบ

ได้ความรู้และความคิดใหม่ๆดีครับ

ชอบคำว่า รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง แล้วก็ “High Tech, High ทุกข์” เพราะมันตรงกับยุคนี้มากๆครับ

อ่านแล้วได้รับความรู้เพิ่มเติมเยอะมากๆเลยค่ะ

เราต้องรู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง ^_______^

เป็นประโยชน์ต่อเยาวชนไทยมากๆ ^^

มันคงจะเป็นเรื่องจริงที่ว่าสมัยนี้เรียนแค่รู้จำ

โดยเฉพาะตรงที่ว่า "จำสั้น" เหอๆ

แต่ก็สนับสนุนตรงที่ว่า

ถ้าเราเอาใจใส่กับบทเรียน

เราก็จะสามารถรู้จริง และ รู้แจ้งได้

หรือมีใครจาเถียงอ่า?

การเกิดปัญญา น่าจะมีความเกี่ยวข้อง อย่างไกล้ชิดกับ "ระดับจิต" ของแต่ละคน ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท