NHSO-PCN
เครือข่าย Palliative Care สปสช. NHSO-PCN

เรื่องเล่าการดำเนินงานเครือข่ายการดูแลแบบประคับประคอง รพ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด


เรื่องเล่าการดำเนินงานของโรงพยาบาลเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ในงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานและการพิจารณาตัดสินรางวัลเครือข่ายบริการดีเด่น เครือข่ายการดูแลแบบประคับประคอง

....เป็นการเรียนรู้ทีละขั้นตอนจากที่ไม่รู้จัก  end of life care บ่อยครั้งที่ต้อง CPR ผู้ป่วยมะเร็ง เนื่องจากญาติยอมรับไม่ได้ก่อนส่งต่อ รพ.จังหวัด.....

  เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่เป็นรูปธรรม โดยต้องการพัฒนาคุณภาพบริการแบบองค์รวม พัฒนาบุคลาการที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบการบริการทีเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน และสุดท้ายความเชื่อของคนอิสาน คือการได้อยู่ที่บ้าน และตายที่บ้าน

   เริ่มต้นเติมเต็มความรู้จากการดูงาน โดยไปทั้งทีมที่เป็นสหสาขาวิชาชีพ เพื่อเป็นการผูกหัวใจ ผูกความรู้ หลังจากนั้นมีการสร้างทีม ดำเนินการแบบล้มลุกคลุกคาม เราพบว่าขาดทักษะเรื่องการสื่อสารในการบอกว่าเขาเป็นระยะสุดท้าย ขาดความรู้เรื่องจิตวิญญาณที่แท้จริง จึงต้องแสวงหาความรู้เพิ่ม

  มีการพัฒนาเป็นแนวทางปฏิบัติ เริ่มสร้างเครือข่ายในชุมชน เครือข่ายทางศาสนา พูดเรื่องเดียวกัน มีการสร้างเครือข่ายจิตอาสา ยาใจ “เพื่อนใกล้บ้าน” ซึ่งพบว่าได้ผล มีการคืนผู้ป่วยให้ชุมชน

    มีการแบ่งปันความรู้กับระดับจังหวัด และพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงสู่งานประจำ

   มีเครือข่ายจิตอาสา 174 เครือข่าย และมีเครือข่ายผู้สูงอายุด้วย

   เราพบว่า ความเป็นมิตรกับความตาย การดำเนินการที่เกิดจากพลังจากความสรัทธา จะเกิดการเรียนรู้และเห็นเสน่ห์ของมัน ซึ่งไม่สามารถวัดด้วย KPI

สามารถดาวน์โหลดไฟล์ฉบับสมบูรณ์ได้ที่นี่>>>>>การดำเนินงานเครือข่าย Pal care รพ.เกษตรวิสัย

หมายเลขบันทึก: 504377เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2012 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2012 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท