NHSO-PCN
เครือข่าย Palliative Care สปสช. NHSO-PCN

การสร้างเครือข่ายที่ยั่งยืน รพ.สุราษฎร์ธานี โดย นพ.ดิเรก เอกบวรวงศ์


เรื่องเล่าประทับใจจากการสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานPalliative care ของรพ.สุรษฎร์ธานี ในงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของเครือข่ายและการพิจารณาเครือข่ายบริการดีเด่น เครือข่ายการดูแลแบบประคับประคอง

สรุปประเด็นย่อ ๆ จากที่เราได้เรียนรู้จากเครือข่ายต้นไม้ของนายแพทย์ดิเรก เอกบวรวงศ์

เป็นเครือข่ายที่ทำให้ง่ายๆ เติบโตช้าๆ ค่อยๆโต ค่อยๆ จัดตั้งทีม

จุดเด่นของแม่ข่ายคือ เรื่องคน องค์ความรู้ แต่ลูกข่ายมีจุดเด่นเรื่องสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนเรื่องจิตวิญญาณ

ผลลัพธ์อาจจะน้อย เนื่องจากมีบางราย ที่ไม่เข้าสู่ระบบ แต่ได้นำ case เข้าประชุมเพื่อเรียนรู้ร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพ

การเรียนรู้ที่ได้ คือ pain/ symptom management (ต้องเอาให้อยู่) และ การทำความเข้าใจกับผู้ป่วยก่อนเผชิญความตาย

การเรียนรู้ของเครือข่าย ทำให้เรียนรู้ ที่จะทำให้ว่าต้องทำอะไร ทำอย่างไร

1. Pain & symtom control เป็น basic needs เป็นสิ่งทำให้ผู้ป่วยและญาติกังวล

2. การ accept death เป็นประตูแรกของการประมวลเพื่อการเตรียมตัวตาย

แนวคิดในเรื่องของการเครือข่ายมีความเข้มแข็ง รากฐานแข็งแรงโดยการหล่อเลี้ยงทีมเล็กๆ นี้ โดยทำให้ทีมเข้าใจว่าทำไมเราต้องทำ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น(ความชื่นชมจากเพื่อนร่วมงาน การจากไปอย่างสงบของผู้ป่วย ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ) จะหล่อเลี้ยงทีมเอง และเครือข่ายจะไปสร้างเครือข่ายของเค้าเอง

นี่คือแนวคิดที่เริ่มต้นได้อย่างสวยงามของคุณหมอ ผู้เขียนอาจทำได้แค่เพียงสรุป คงไม่เห็นภาพการดำเนินงานของคุณหมอซักเท่าไหร่นัก อยากให้ทุกท่านที่สนใจมาเรียนรู้ร่วมกันในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมอบรางวัลในเดือนธันวาคมนี้ ในห้องย่อยของเครือข่ายPalliative care ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 504273เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2012 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท