การโคจรของกาลิเลียนทั้ง 4


ดาวพฤหัสบดี

ข้อมูลจำเพาะ

 ระยะห่างจากดวงอาทิตย์                   

 โดยเฉลี่ย  778.34 กิโลเมตร   (5.203 a.u.)

 ใกล้ที่สุด   740.9  กิโลเมตร   (4.951 a.u.)

 ไกลที่สุด   815.7  กิโลเมตร   (5.455 a.u.)          

 Eccentricity  0.048
 คาบการหมุนรอบตัวเอง  9 ชั่วโมง 50 นาที  30 วินาที
 คาบการหมุนรอบดวงอาทิตย์  11.86 ปีบนโลก ด้วยความเร็ว 13.06 กิโลเมตรต่อวินาที
 ระนาบโคจร  1:18:15.8 องศา
 แกนเอียงกับระนาบโคจร  3:04 องศา
 มวล  317.89 เท่าของโลก

 เส้นผ่านศูนย์กลาง

 143,884 กิโลเมตร(โลก 12,756 กิโลเมตร ที่เส้นศูนย์สูตร)    
 เเรงโน้มถ่วง  2.64 เท่าของโลก
 ความเร็วหลุดพ้น  60.22 กิโลเมตรต่อวินาที
 ความหนาเเน่น  1  ต่อ 1.33 เมื่อเทียบกับน้ำ
 ความสว่างสูงสุด                         -2.9                                                     

         ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคาระห์ก๊าซยักษ์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 มีจุดเเดงยักษ์ ซึ่งคนโบราณสามารถสังเกตเห็นจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดีมาเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ปัจจุบันเราทราบว่านั่นคือ พายุหมุนยักษ์ขนาดใหญ่กว่าโลก 3 เท่า หมุนทวนเข็มนาฬิกาด้วยคาบเวลาหนึึ่งรอบกินเวลา 6 วันด้วยความเร็ว 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนับเป็นพายุที่เร็วที่สุดในระบบสุริยะ

         ดาวพฤหัสมีวงแหวนบางๆอยู่ล้อมรอบค้นพบโดย ยานวอยเอเจอร์ ซึ่งวงเเหวนประกอบด้วยอนุภาคฝุ่น สีคล้ำ แผ่ออกจากบรรยากาศชั้นบนเหนือยอดเมฆไปจนถึงระยะ 53,000 กิโลเมตร เเบ่งออกเป็น 3 ชั้นวงนอกสุกสว่างที่สุดมีความกว้างราว 800 กิโลเมตร สนามแม่เหล็กดาวพฤหัสบดี ซึ่งสนามแม่เหล็กนั้นมีความรุนเเรงกว่าสนามแม่เหล็กโลกถึง 10 เท่า และมีทิศตรงกันข้ามกับสนามแม่เหล็กโลก แนวสมมติของแกน แม่เหล็กดาวพฤหัสบดีเอียงทำมุม 11 องศา อาณาเขตของสนามแม่เหล็กกว้าง 50 เท่าของขนาดตัวดาวพฤหัสบดีเองและเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปตามกระเเสลมสุริยะจากดวงอาทิตย์

                                                      

    จุดเเดงยักษ์                                                พายุสุริยะ

ดาวพฤหัสบดีมีบริวารมากที่สุด ปัจจุบันค้นพบแล้ว 67 ดวง ถ้าใช้กล้องโทรทัศน์ส่องดูแล้วจะเห็นดวงจันทร์บริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง ซึ่งถูกค้นพบโดย กาลิเลโอ เมื่อปี ค.ศ.1610(พ.ศ.2153) เพื่อเป็นเกียรติยกย่องเเก่กาลิเลโอผู้ค้นพบ ดวงจันทร์บริวารทั้ง 4 จึงมีชื่อว่า "กาลิเลียน" ดวงจันทร์กาลิเลียนมีดังนี้

1. ไอโอ(Io) ดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่อันดับ 3 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,642 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดาวพฤหัส 421,600 กิโลเมตร โคจรอยู่รอบในสุดของกลุ่มดวงจันทร์กาลิเลียน 1 รอบกินเวลา 1 วัน 18 ชั่วโมง 27 นาที มีค่าความสว่างเมื่อมองจากโลกประมาณ mag5.0 

  เนื่องจากไอโออยู่ใกล้ดาวพฤหัสมากทำให้ถูกสนามเเรงโน้มถ่วงและสนามแม่เหล็กกระทำรุนเเรงมาก จึงทำให้ไอโอแอคทีฟตลอดเวลา ทั่วทั้งผิวของไอดอเต็มไปด้วยปล่องภูเขาไฟที่ค่อยๆระบายความร้อนภายในตัวดวงจันทร์ ระเบิดพ่นลาวาที่เป็นกำมะถันเหลวปกคลุมทั่วผิวไอโอ เมื่อยานวอยเจอร์ผ่านไอโอ ได้จับภาพภูเขาไฟกำลังพ่นลาวาสูงถึง 240 กิโลเมตร

 
                        ไอโอ (Io)

 

2.ยูโรปา(Europa) ดวงจันทร์ที่เล็กที่สุดในบรรดาดวงจันทร์ทั้งสี่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,138 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดาวพฤหัส 670,900 กิโลเมตร โคจรห่างจากดาวพฤหัสเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มดาวกาลิเลียน ใช้เวลา 1 รอบดาวพฤหัสเป็นเวลา 3 วัน 13 ชั่วโมง 13 นาที มีค่าความสว่างเมื่อมองจากโลกประมาณ mag 5.3 ผิวของยูโรปาเป็นน้ำเเข็งราบเรียบและมีริ้วขีดไปมาคล้ายลายบนเปลือกไข่ นักวิทยาศาสตร์สันนิฐานว่าใต้ผิวน้ำเเข็งนี้จะเป็นมหาสมุทรที่ยังเป็นของเหลวอยู่ ซึ่งปัจจุบันค้นพบแล้วว่าพบทะเลสาบน้ำเค็มบนยูโรปา เพิ่มเติมที่ เว็บไซต์ http://news.mthai.com/world-news/141476.html


          ยูโรปา(Europa)

3.แกนิมิต(Ganymede) ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัส และใหญ่ที่สุดในบรบรรดาบริวารทั้งหมดในระบบสุริยะ และยังมีขนาดที่ใหญ่กว่าดาวพุธด้วย มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5,262 กิโลเมตร อยู่ดาวพฤหัส 1,070,000 กิโลเมตร โคจรรอบดาวพฤหัส 1 รอบ กินเวลา 7 วัน 3 ชั่วโมง 43 นาที มีค่าความสว่างเมื่อมองจากโลกประมาณ mag 4.6  ผิวของแกนิมิตค่อนข้างประหลาดเพราะมีส่วนที่เข้มขนาดใหญ่เเละเเยกห่างจากส่วนที่สว่างอย่างเห็นได้ชัด นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากการเคลื่อนตัวของ Plate Techtonic แบบเดียวกับที่เกิดบนโลก และภายในของเเกนิมิตคงจะยังร้อนอยู่

                                                            แกมินิต(Ganymede)

4.คาลลิสโต(Callisto) โคจรอยู่วงนอกสุดของกลุ่มดวงจัทร์กาลิเลียน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,806 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดาวพฤหัส 1,880,000 กิโลเมตร โคจรรอบดาวพฤหัส 1 รอบ กินเวลา 16 วัน 16 ชั่วโมง 32 นาที มีค่าความสว่างเมื่อมองจากโลก mag 5.6 เนื่องจากคาลิสโตอยู่ไกลจากดาวพฤหัสมาก จึงไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็ก ทำให้ผิวของคาลลิสโตประกอบด้วยน้ำเเข็งและเปลือดแข็งที่เป็นหลุมอุกาบาต ลึกราวๆ 200-300 กิโลเมตร ใต้ผิวลึกลงไปสันนิฐานว่าจะเป็นน้ำหรือน้ำเเข็งหุ้มแกนที่เป็นซิลิเคท


 คาลลิสโต(Callisto)


        รูปดาวพฤหัสบดีและดวงจันทรืกาลิเลียนทั้ง 4

เหตุใด?จึงได้สมญานามว่า "ดวงจันทร์กาลิเลียน"

ปี ค.ศ.1610 กาลิเลโอเผยเเพร่ ผลงานค้นคว้าของเขาซึ่งเป็นผลงานการสังเกตดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี"ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล" เป็นการสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัส แล้วเขาก้อได้เสนอเเนวคิดที่ว่า ซึ่งขัดเเย้งเเนวคิดดั้งเดิม ของทอเลมีและอริสโตเติลที่ว่า "โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล" โดยในยุคยุคก่อน กาลิเลโอ นั้นจะมีความเชื่อที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่เมื่อกาลิเลโอ ค้นพบดวงจันทร์ทั้ง 4 คือ Io(ไอโอ), Europa(ยูโรปา), Ganymede(แกนิมิต)และ Callisto(คาลลิสโต) 

โดยกาลิเลโอมองว่า ดวงจันทร์ทั้ง 4 ดวงนี้ไม่ได้หมุนรอบโลก แต่หมุนรอบดาวพฤหัสบดี จึงนำไปสู่การพิสูจน์ และผลปรากฎว่า กาลิเลโอมีความคิดที่ถูกต้อง หลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ และนักดาราศาสตร์จึงได้ขนานนามดวงจันทร์ทั้ง 4 ว่า "ดวงจันทร์กาลิเลียน" เพื่อเป็นเกียรติแก่ กาลิเลโอ

 ดวงจันทร์ของกาลิเลโอทั้ง 4 โคจรยังไงน๊า??=="

 

 

 

รูปแสดงตำเเหน่งวงโคจรของกาลิเลียนในสุดคือ ไอโอ  ถัดมาคือ   ยูโรปา  แกนิมิต และ คาลลิสโต แต่ชั้นในสุดยังมีดวงจันทร์ขนาดเล็กที่โคจรรอบในแต่ไม่สามรถมองเห็นได้จากโลกถูกค้นพบโดยยานอวกาศวอยเอเจอร์ นอกจากนี้ยังมีบริวารรอบนอกอีกหลายดวงเช่นกันเเต่มีขนาดเล็กและโคจรอยู่คนละระนาบกับวงโคจรของดาวพฤหัสบดี อีกซ้ำบางดวงยังหมุนกลับทิศทางกับดาวบริวารดวงอื่นๆ

      เนื่องจากคาบการโคจรรอบดาวพฤหัสของดาวบริวารทั้ง 4 นั้นค่อนข้างเเน่นอน เมื่อเรานำมาพร๊อตการฟ เส้นทางโคจรของแต่ละดวงตลอด 1 เดือนจะมีลักษณะตามรูปข้างบน ซึ่งเป็นกราฟวงโคจรตลอดเดือนมกราคมนี้ เส้นและจุดแดงแทน ดวงจันทร์ไอโอ  สีส้มแทน ยูโรปา สีเขียวเเทน แกนิมิต และสีน้ำเงินเเทน คาลิสโต เส้นหนาตรงกลางแสดงตำเเหน่งของดาวพฤหัสบดี (สีขาว)

      ตำเเหน่งแนวดิ่งที่ตรงกับตัวเลขจะเเทนเวลา 0 นาฬิกา ของวันนั้นๆ ตามเวลาในประเทศไทย เช่น วันที่ 2 มกราคม เวลา 0 นาฬิกา จะเห็นไอโอและเเกนิมิตอยู่ใกล้กันด้านบนของกราฟ(ทิศตะวันออก) ส่วนคาลลิสโตและยูโรปาจะอยู่ใกล้กันด้านล่างของกราฟ(ทิศตะวันตก) เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงครึ่งทาง(ตอนเที่ยง) เส้นกราฟของไอโอ ยูโรปาและเเกนิมิต จะตัดที่ดาวพฤหัสบดีพอดี นั่นหมายความว่้า ถ้าในตอนเที่ยงเรามีโอกาสเห็นดาวพฤหัสบดีเราจะไม่เห็นดวงจันทร์ 3 ดวงนี้ แต่จะเห็น คาลลิโตทางทิศตะวันตกเพียงดวงเดียว

      ถ้าเราพิจารณาเส้นกราฟจะเห็นได้ว่า วงโคจรของดวงจันทร์ทั้ง 4 จะมีบางส่วนที่ ซิงโครไนส์กัน เช่น ทุกๆ 2 รอบของไอโอ จะเท่ากับยูโรปา 1 รอบ(ช่วงประมาณวันที่ 6 -วันที่ 10) และทุกๆ 2 รอบของยูโรปาจะเท่ากับ  1 รอบของแกนิมิต หรือ 4 รอบของไอโอ (ช่วงประมาณวันที่ 6 ถึงวันที่ 13) ส่วนคาลสิโตจะเเตกต่างคือไม่มี ซิงโครไนส์กับใคร เราจึงสามารถนำเส้นกราฟของ   ไอโอ ยูโรปา และแกนิมิตมาต่อกันเรื่อยๆ ยกเว้น คาลสิโต
       สิ่งที่น่าสนใจของดวงจันทร์กาลิเลียนไม่ได้อยู่เเค่ดวงใหญ่สุดของดาวพฤหัสบดี หรือเป็นดวงจันทร์ที่เห็นได้จากโลกเท่านั้น แต่ด้วยคาบการโคจรของดวงจันทร์ทั้ง 4 รอบดาวพฤหัสบดี นั้นใช้เวลาน้อยที่สุด มีคาบการเปลี่ยนตำเเหน่งของดวงจันทร์ได้จากโลก ในชั่วเวลาอันสั้น ไอโอดวงจันทร์วงในสุด มีคาบการเปลี่ยนแปลง 1 รอบกินเวลาเพียง 42 ชั่วโมงครึ่งนั้นหมายความว่า เราสามารถเห็นการเปลี่ยนตำเเหน่งของไอโอได้ทุกๆ 1 ชั่วโมง

ภาพ ดาวพฤหัสบดีพร้อมทั้งบริวารทั้ง 3 ได้เเก่ ไอโอ ยูโรปา และเเกนิมิต ส่วน คาลสิโตอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังดาวพฤหัสบดี

 โครงสร้างภายในของกาลิเลียนทั้ง 4

ทิ้งท้ายด้วยปรากฏการณ์น่ารักๆ ที่มองขึ้นท้องฟ้าทีไรอิ้ยยิ้มทุกที

พระจันทร์ยิ้มหรือปรากฏการณ์ดวงเคียงเดือนซึ่ง ดาวพฤหัส ดาวศุกร์ และดวงจันทร์ โคจรมาพบกัน ทำให้ปรากฏลักษณะเหมือนคนกำลังยิ้ม^^


 เหนือดวงดาว ยังมีจักรวาล การเรียนรู้ก็เปรียบเสมือนจักรวาลที่หลากหลายไม่มีที่สิ้นสุด 

 

 เรียบเรียงโดย

 นางสาวกมลลักษณ์ พิมพ์สวัสดิ์ รหัส 54010510048 

 นางสาวจันทร์เพ็ญ ยินดีรัมย์     รหัส 54010510055

 นางสาววรรณภา   แสนเมือง     รหัส 54010510064

   สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป  คณะศึกษาศาสตร์

 

 แหล่งอ้างอิงข้อมูล

http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/solar2/Jupiter.htm

http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/2/astronomy1/mars/solar-system/solar/jupiter.html

หมายเลขบันทึก: 504088เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2012 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

 

มาอ่านและให้กำลังใจ อยากให้มีการนำเสนอข้อมูลจากการศึกษาบ่อยๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท