ประสบการณ์การฝึกปฏิบัติงานทางคลีนิกกิจกรรมบำบัด ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี


กิจกรรมบำบัดศึกษา

ประสบการณ์การฝึกปฏิบัติงานทางคลีนิกกิจกรรมบำบัด ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี

การฝึกงานครั้งนี้ดิฉันได้มีโอกาสพบผู้รับบริการในกลุ่มเด็กสมองพิการ(Cerebral palsy) ที่มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหวหลายรูปแบบ ซึ่งการปฏิบัติงานครั้งนี้แสดงให้ทราบว่าในกลุ่มเด็กสมองพิการนั้น นอกจากความบกพร่องในเรื่องของการเคลื่อนไหวแล้ว ยังมีความบกพร่องในพัฒนาการด้านอื่นด้วย เช่น ด้านพฤติกรรมอารมณ์ ด้านภาษา ด้านสติปัญญา ด้านสังคม ด้านการช่วยเหลือตนเอง เช่น การ อาบน้ำ การขับถ่าย การรับประทานอาหาร เป็นต้น ด้านการเรียน การเล่น ดังนั้นบทบาทของนักกิจกรรมบำบัด จึงต้องส่งเสริม ป้องกัน และคงไว้ ซึ่งความสามารถของเด็ก การปฏบัติจึงต้องให้ความสำคัญต่อทุกๆด้าน ทั้งเรื่องของการ

-คงช่วงการเคลื่อนไหวของแต่ละข้อต่อ โดยมีการเคลื่อนไหวแต่ละข้อต่อไปในทุกทิศทาง เช่น ข้อศอก เหยียดและงอให้สุดช่วง ข้อไหล่ งอ-เหยียด กางออกหุบเข้า หมุนแขน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดข้อติด เป็นต้น

-การจัดท่าที่เหมาะสม เช่น การนำหมอนหรือผ้าที่ม้วนให้หนาพอดีมากั้นระหว่างขาสองข้างที่มีการบิดเข้าหากัน เป็นต้น

-ลดเกร็งโดยการยืดกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อนั้นค้างไว้สักครู่ มีการลงน้ำหนักที่บริเวณข้อต่อเพื่อให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เช่น การท้าวแขน เป็นต้น

-การทำอุปกรณ์ดาม ได้แก่ splint เพื่อลดความเสี่ยงต่อการผิดรูปของกระดูก ลดเกร็ง(antisppastic splint) เพิ่มการทำงานของมือ (functional hand splint)

-การกระตุ้นพัฒนาการให้เป็นไปตามลำดับขั้น เช่น การชันคอ ยกอก พลิกคว่ำหงาย นั่ง คลาน เกาะยืน ยืน เดิน วิ่ง เป็นต้น

-การฝึกใช้มือเพื่อหยิบจับเพิ่มความสามารถในการทำงานของมือ ส่งผลต่อทักษะในการเล่น การช่วยเหลือตนเอง

-การกระตุ้นดูดกลืนในเด็ก และการให้คำแนะนำกับผู้ปกครองในเรื่องของการนวดกระตุ้นกลืน การจัดท่าทางที่เหมาะสมขณะรับประทานอาหาร การเลือกลักษณะอาหาร เช่น อาหารที่มีความข้นหนืดจะลดความเสี่ยงต่อการสำลักได้ดีกว่าอาหารเหลว เป็นต้น

-การฝึกการช่วยเหลือตนเอง การให้คำแนะนำมารดาในการฝึกเด็กที่บ้านและในสถาณการณ์จริง เช่น การฝึกถอดใส่ รองเท้าด้วยตนเอง เมื่อเด็กแรกเข้าห้องฝึก เป็นต้น

-การฝึกปรับ/การวางเงื่อนไขต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการให้คำแนะนำมารดาเมื่ออยู่ที่บ้านเช่น พฤติกรรมเรียกร้องความสนใจจากผู้ปกครอง ไม่ทำกิจกรรมที่ช่วยเหลือตนเอง รอคอยให้ผู้ปกครองช่วยเหลือ โดยปรับทัศนะคติของผู้ปกครองให้เพิ่มแรงจูงใจแก่เด็กในการให้เด็กฝึกช่วยเหลือตนเอง ลดการช่วยเหลือลงและให้แรงเสริมที่เป็นบวก(คำชม,รางวัล)เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม เป็นต้น

-การให้คำแนะนำมารดาเกี่ยวกับการเล่นของเด็กร่วมกับบุคลอื่น เช่น การฝึกให้เด็กแบ่งปัน ยืดหยุนในการเล่น การเริ่มเล่นกับผู้ใหญก่อน การเล่นร่วมกับพี่น้อง และการเล่นกับเพื่อนในวัยเดียว เป็นต้น

จากข้างต้นการปฏิบัติต่างๆเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่ส่งเสริม ป้องกัน และคงไว้ซึ่งทักษะสามารถของเด็กเพื่อให้เต็มศักยภาพ การฝึกปฏิบัติงานครั้งนี้แสดงให้ทราบว่าเด็กหนึ่งคนแม้มีความบกพร่องหลักที่ชัดเจนอย่างหนึ่ง ก็อาจมีความบกพร่องอื่นร่วมได้อีก ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดที่ดีจึงความให้ความสำคัญต่อทุกปัญหาและปฏิบัติให้เหมาะสมต่อผู้รับบริการคนหนึ่งๆ อย่างเต็มความความสามารถ

หมายเลขบันทึก: 504080เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2012 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท