รูปแบบการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่


การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่

        การสอนแบบมอนเตสซอรี่ เป็นการสอนรูปแบบหนึ่งที่เหมาะกับเด็ก ทั้งเด็กพิเศษละเด็กปกติ จะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยมีแพทย์หญิงมาเรีย มอนเตสซอรี่ (Dr. Maria Montessori) เป็นผู้ริเริ่มจัดการเรียนการสอนแบบนี้ขึ้นมา สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มอนเตสซอรี่ ได้ใช้วิธีการที่คิดขึ้นเองนี้ จนประสบผลสำเร็จ และได้พัฒนาวิธีการสอนต่อมาจนสมบรูณ์ เพื่อใช้เป็นวิธีการสอนสำหรับเด็กทั่วๆ ไป

        จุดหมายหลักของการสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น คือเด็กจะเรียนได้ดีที่สุด โดยการอนุญาตให้เด็กได้ค้นพบสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง การฝึกฝนทางด้านประสาทสัมผัสด้วยการทำงานด้วยมือ เป็นสิ่งสำคัญประการแรก ครูและผู้ปกครองไม่ควรบังคับให้เด็กทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ การให้รางวัลและการลงโทษควรต้องยกเลิกไป และระเบียบวินัยควรเกิดมาจากความเป็นอิสระของเด็ก และแรงผลักดันที่เด็กทำให้เกิดขึ้นเองจากตัวของเด็กเอง

แนวคิดพื้นฐาน

        มอนเตสซอรี่เชื่อว่า เราสามารถสร้างสังคมที่ดีและก่อกำเนิดโลกขึ้นมาใหม่ได้โดยการให้การศึกษาที่ดีแก่เด็ก เพราะเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้าซึ่งจะเป็นผู้สร้างสังคมใหม่เด็กแต่ละคนเป็นผู้ริเริ่มอนาคตใหม่ ดังนั้น เด็กทุกคนจึงเป็นอนาคตของเรา มอนเตสซอรี่เชื่อว่าเราสามารถใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงสังคม และแก้ไขปัญหาปัจจุบันได้ เพราะฉะนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก เพราะการศึกษาเป็นหัวใจขงการเปลี่ยนแปลง และ มีพื้นฐานแนวคิดว่า การเรียนรู้ของเด็กต้องเกิดจากการเห็นอย่างเป็นรูปธรรม การสัมผัส การได้หยิบจับทดลองด้วยตนเองตามรูปแบบอย่างมีขั้นตอนและเป้าหมาย เด็กจะเรียนรู้อย่างเข้าใจจากการสัมผัส การใช้สมาธิและมีวินัยในตนเอง โดยมีอุปกรณ์เป็นสื่อการสอนที่สำคัญที่ทำให้เด็กพัฒนาความรู้และความคิดอย่างมีระบบ

การจัดการเรียนการสอน

       การเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอรี่ ความสำคัญจะอยู่ที่อุปกรณ์การสอนหรือการเรียนรู้ ให้เด็กได้สัมผัสด้วยมือของตนเอง อุปกรณ์เป็นองค์ประกอบหลักของกิจกรรมที่ทำให้เด็กเรียนรู้การแก้ไขให้ถูกต้องได้ด้วยตนเอง โดยเน้นการเรียนเรียนรู้เป็นลำดับขั้นที่ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก แต่ต้องการสร้างสมาธิ ความมั่นใจ และความสำเร็จในการเรียน 

      หลักสูตรมอนเตสซอรี่จะส่งเสริมพัฒนาการของเด็กโดยมุ่งให้เด็กใช้ศักยภาพของตนในการพัฒนาตนเองจากสิ่งแวดล้อมที่ครูจัดให้ ซึ่งมีการแบ่งหลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

1.การศึกษาทางด้านทักษะกลไก (Motor Education) 

2.การศึกษทางด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senes)

3.การตระเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาตร์ (Preparation for Writing and Arithmetic)

บทบาทครู

1.เป็นผู้สาธิต ครูต้องเตรียมอุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ ให้พร้อมสำหรับการเรียนของเด็ก เมื่อเปิดชั่วโมงเรียนครูต้องให้เด็กเลือกเล่นตามความสนใจ ถ้าสังเกตพบเด็กสนใจครูจะให้เด็กลองเล่นเองก่อน ถ้าครูสังเกตว่าเด็กรู้วิธีการ แต่หากครูสังเกตพบว่าเด็กไม่ทราบวิธีเล่นครูต้องสาธิตนำ ในบางกรณีถ้าครูพบว่าเด็กเลือกของเล่นสูงกว่าความสามารถ ครูต้องเปลี่ยนแปลงความสนใจเด็กแล้วจูงใจให้เด็กเลือกอุปกรณ์ท่เหมาะกับการเรียนรู้ใหม่

2.เป็นผู้วินิจฉัย ครูต้องแปลความหมายการแสดงออกของเด็กและเชื่อมโยงสู่การสอนเพื่อการเรียนรู้ในระหว่างการเล่นอุปกรณ์ ตามหลักของครูมอนเตสซอรี่ ครูต้องมีความสามารถในการสังเกตเด็กทั้งด้านการคิด การกระทำและการพัฒนาของเด็ก โดยการดูอยู่ใกล้ๆ ครูต้องใช้สายตาในการประเมินความคิดเด็ก การพูดสนทนาตอบโต้ความต้องการและการก้าวเดินทางปัญญา แล้วแปลความหมายสิ่งที่เด็กต้องการ

3.เป็นผู้สนับสนุนการคิดแก้ปัญหา ระหว่างเด็กทำกิจกรรมการเรียนรู้ ถ้ามีปัญหาครูต้องแก้ไข ด้วยการสนับสนุนให้เด็กคิดแก้ปัญหา ด้วยคำถามหรือบางครั้งสาธิตให้เด็กดูใหม่ เพื่อให้เด็กได้คิดแล้วนำไปแก้ไขการกระทำของตนที่นำไปสู่การเรียนรู้และความสำเร็จ ในการเล่นกับชุดอุปกรณ์นั้นๆ ในขณะเดียวกันครูต้องชักชวนให้เด็กชอบและสนุกกับชุดอุปกรณ์ด้วย

4.เป็นผู้ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของเด็ก ชุดอุปกรณ์แต่ละชุดขอมอนเตสซอรี่จะมีจุดประสงค์ของการเรียนรู้เฉพาะ การสังเกตของครูในขณะเด็กเรียนรู้จากอุปกรณ์ และการบันทึกความสามมารถในการเรียนรู้ของเด็กจะช่วยให้ครูทราบการเรียนรู้ของและสามารถรายงานผลความก้าวหน้าให้แก่ผู้ปกครองได้ทราบ

แหล่งอ้างอิง

คำแก้ว ไกรสรพงษ์ หงสประภาส.(2534).คู่มือการสอนแบบมอนเตสซอรี่.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จำกัด.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์.(2540).การสอนแบบมอนเตสซอรี่.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จำกัด.

กุลยา ตันติผลาชีวะ.(2551).รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา(หน้า68-81).กรุงเทพฯ:บริษัท โรงพิมพ์สัมพันธ์กราฟฟิค จำกัด.

http://education.kapook.com/view37063.html

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #มอนเตสซอรี่
หมายเลขบันทึก: 504070เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2012 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท