Carl Orff การสอนดนตรีโดยไม่สอน : กระบวนการ”เล่น”ที่นำไปสู่”การเรียนรู้” ตอนที่3 จบ (The Carl Orff Method Part3 End)


จุดมุ่งหมายในการสอนดนตรีแบบออร์ฟ คือ การพัฒนาความสามารถในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี

จากประสบการณ์ที่ข้าพเจ้าได้สอนตามรูปแบบของ ออร์ฟ ทั้งจากการสังเกตการณ์สอน การอ่านหนังสือวิธีการสอน การดูวิดีโอการอบรม อีกทั้งการสนับสนุนโดยคุณครูพี่เลี้ยงที่ได้ผ่านการอบรมการสอนดนตรีแบบ ออร์ฟโดยตรง ทำให้เห็นว่าการสอนในรูปแบบนี้ได้สร้างความคิดสร้างสรรค์ และความมีอิสระในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในตัวเด็กได้ โดยการสอนแบบนี้จะเปิดโอกาสให้มีการสร้างสรรค์แบบต่อเนื่องหลายแบบ เด็กจะสำรวจเสียงของคำพูด ทำนองเพลง และเสียงเครื่องดนตรี เด็กจะเลือกแบบแผนของจังหวะและทำนองจากตัวอย่าง (หรือแต่งขึ้นเอง) แล้วใช้มันเพื่อประดิษฐ์ดนตรีประกอบ (Accompaniment figures) บทขึ้นต้น (Introduction) และบทจบ (Coda)บนเครื่องดนตรีออร์ฟ หรือบางทีก็อาจจะแต่งทั้งเพลงได้เลย โดยครูจะต้องคอยช่วยนักเรียนในการจดโน้ตที่เด็กแต่งขึ้น วิจารณ์และช่วยปรับปรุงเพลงนั้นๆ พยายามสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและสไตล์ของเพลง (Musical form and style)ให้กับเด็กในขณะที่เด็กกำลังมีความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นสังเกตได้ว่าครูที่เชี่ยวชาญในการสอนแบบออร์ฟนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักผ่อนปรน และมีใจกว้างที่จะยอมรับความคิดใหม่ๆ ครูต้องสามารถสนับสนุนลักษณะที่มีอยู่ในระบบนี้ให้พอกพูนขึ้นในตัวเด็กได้

                ออร์ฟได้กล่าวไว้ว่า

“คนที่ติดกับรูปแบบและความเชื่อจะสามารถหาความเพลิดเพลินได้น้อยนิด แต่ผู้ที่เป็นศิลปินและเป็นนักสร้างสรรค์ (Improvisers) โดยธรรมชาติจะหาความเพลิดเพลินได้มากกว่า ทุกระยะของ Schulwerk เอื้ออำนวยสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความเป็นอิสระอยู่เสมอ ดังนั้น Schulwerk โดยตัวมันเองจึงไม่มีวันจบหรือหยุดนิ่ง แต่จะพัฒนา และเติบโต อยู่เสมอ… แต่การพัฒนาไปในทางที่ผิดก็เป็นอันตรายอย่างที่สุด ดังนั้นการพัฒนาอย่างเป็นอิสระจะเป็นไปได้โดยที่เด็กจะต้องถูกฝึกจากผู้เชี่ยวชาญที่รู้จักคุ้นเคยกับสไตล์ และเป้าหมายของ Schulwerk และรู้จักโอกาสเหมาะสมที่จะใช้มันด้วย (Orff,1966 : 386)”

  

              การสอนดนตรีแบบ ออร์ฟนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้เห็นและเข้าใจในเรื่องการเรียนรู้จากภายใน (Internal Motivation) ว่าสิ่งนี้สามารถผลักดันให้ผู้เรียนเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างดี ทำให้รู้ว่าการเรียนรู้ที่แท้จริงนั้นจะต้องขับเคลื่อนด้วยตัวตนภายในของผู้เรียนเอง ไม่ใช่ขับเคลื่อนด้วยอำนาจของครูหรือพ่อแม่ ซึ่งสังเกตได้จากผู้เรียนที่เรียนเพราะไม่อยากขัดใจครูหรือพ่อแม่จะเรียนได้ไม่ดีเท่าผู้เรียนที่เรียนเพราะสนใจหรืออยากเรียนด้วยตนเอง(Internal Motivation) ว่าสิ่งนี้สามารถผลักดันให้ผู้เรียนเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างดี ทำให้รู้ว่าการเรียนรู้ที่แท้จริงนั้นจะต้องขับเคลื่อนด้วยตัวตนภายในของผู้เรียนเอง ไม่ใช่ขับเคลื่อนด้วยอำนาจของครูหรือพ่อแม่ ซึ่งสังเกตได้จากผู้เรียนที่เรียนเพราะไม่อยากขัดใจครูหรือพ่อแม่จะเรียนได้ไม่ดีเท่าผู้เรียนที่เรียนเพราะสนใจหรืออยากเรียนด้วยตนเอง

สรุปวิธีการสอนแบบออร์ฟ

                วิธีการพื้นฐานของออร์ฟคือ การให้ผู้เรียนมีโอกาสสำรวจและทดลองสิ่งต่างๆ ทางดนตรีโดยใช้การพูด การร้อง และการเคลื่อนไหวเป็นหลักการสำคัญ (ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2541) ซึ่งประกอบไปด้วยการเรียนรู้จากการสำรวจสิ่งต่างๆในแต่ละขั้นตอนของการสอนนั้นจะเริ่มโดยเป็นไปในลักษณะของการเลียนแบบ ไปจนถึงการสร้างสรรค์ขึ้นเองจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนใหญ่ จากสิ่งง่ายๆไปสู่สิ่งที่สลับซับซ้อน จากแต่ละบุคคลไปสู่การเล่นดนตรีเป็นคณะ บทเพลงที่ใช้เป็นบันไดเสียง 5 เสียง คือ แพนตาโทนิค (Pentatonic Scale) การซ้ำทวนของจังหวะ (Rhythmic Ostinato) และสัญญาณมือ (Handsigns) เป็นสื่อการสอนของวิธีนี้ นอกเหนือไป จากเครื่องดนตรีเฉพาะที่เรียกว่า เครื่องดนตรีออร์ฟ (Orff Instruments) ประกอบไปด้วยระนาดพิเศษที่สามารถถอดลูกระนาดได้ มีทั้งที่ทำด้วยไม้และโลหะ มีขนาดตั้งแต่เล็กไปจนถึงใหญ่ ครอบคลุมช่วงเสียงตั้งแต่เสียง โซปราโนลงไปจนถึงเสียงเบส

 

 

รายการอ้างอิง

ธวัชชัย นาควงษ์. 2542. การสอนดนตรีสำหรับเด็กตามแนวของคาร์ล ออร์ฟ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณรุทธิ์  สุทธจิตต์. 2541. จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Choksy, Lois, et al. 2001. Teaching Music in the Twenty-First Century. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-

Hall.

วิจารณ์ พานิช. 2555. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

หมายเลขบันทึก: 503632เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2012 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ประยุกต์มาใช้กับการเรียนดนตรีไทยเดิมด้วยได้ ใช่มั้ยคะ

ประยุกต์ใช้ได้เลยครับ สามารถดึงเอาเนื้อหาเพลงไทยเดิมที่มี มาใส่ในกิจกรรมได้เลย เป็นการจัดประสบการณ์ที่ตัว Method ของออร์ฟต้องการให้ทำเลยครับ ใช้เพลงที่อยู่ในวัฒนธรรมนั้นๆ อย่าใช้ของดั้งเดิมซึ่งเป็น บริบทของเยอรมันเค้า แต่ก็ต้องเลือกอย่างระมัดระวังนะครับ ต้องเลือกเพลงที่ตรงกับพัฒนาการทางด้านระดับเสียงที่ ออร์ฟ กำหนดไว้ พูดง่ายๆคือไม่ใช้โน้ตที่มากเกินกว่า ความสามารถของเด็ก แล้วก็ไม่ง่ายไม่ท้าทายความสามารถเกินไปครับ :)

ไม่ใช้โน้ตที่มากเกินกว่า ความสามารถของเด็ก แล้วก็ไม่ง่ายไม่ท้าทายความสามารถเกินไปครับ :)


โน้ตที่พอเหมาะกับเด็ก ได้แก่อะไรบ้างคะ

 

เนื้อหาเดียวกันกับของ โคดาย เลยครับ ลองดูในเรื่องการสอนตามแบบโคดาย http://www.gotoknow.org/blogs/posts/501944 ในหัวข้อ "ลำดับการสอน Melody" ส่วนใหญจะเริ่มต้นช่วงเสียง Sol-me ในช่วงชั้นอนุบาลหรือก่อนหน้านั้นถ้าเด็กมีโอกาสได้เริ่มเรียนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท