การกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน


การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ก็คือ การจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้

การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ซึ่งตามที่เราควรสร้างการเรียนรู้โดยพิจารณาเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ อาจใช้แบบทดสอบ VARK ซึ่งช่วยให้ผู้ทำแบบทดสอบสามารถทราบได้ว่า ผู้ทำแบบทดสอบมีความเหมาะสมหรือเรียนรู้ได้เร็วผ่านช่องทางใด เช่น

  • V คือ Visual - เรียนรู้ผ่านสื่อการรูปภาพ
  • A คือ Aural หรือ Audio - เรียนรู้ผ่านการฟัง
  • R คือ Reading - เรียนรู้ผ่านการอ่านหรือเขียน
  • K คือ Kinesthetic - เรียนรู้ผ่านการทดลอง ทดสอบ กิจกรรม หรือ  ประสบการณ์

    การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบ AL ซึ่งไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ไปเน้นที่ความคิดสร้างสรรค์ในการประยุกต์เครื่องมือต่างๆ มาช่วยในการกระตุ้นการเรียนรู้ ดังจะเห็นว่ามีเทคนิคที่แตกต่างกันไป อาทิ เช่น

การจัดให้เกิดการวิเคราะห์เป็นกลุ่ม (Group Discussion) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงและได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้

วิธีการนำบทเพลงหรือวีดีทัศน์เข้ามาเชื่อมโยงในการเรียนรู้ เช่น เวลาที่ต้องการให้นักเรียนกล้าแสดงออก เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม หรือเข้าร่วมแข่งขันรายการต่างๆ ก็มีการนำเอาเพลง "ไม่แข่ง ยิ่งแพ้" มาร้องกัน

การนำเกมกิจกรรมต่างๆ เข้ามาประกอบในการเรียนรู้  เพื่อให้บรรดาผู้เรียนได้มีโอกาสคิด แลกเปลี่ยน และสนุก อาจเพิ่มการนำรูปภาพเข้าไป การนำเทคนิคการสื่อสารอื่นๆ เข้ามาปรับประยุกต์ด้วย

สำหรับการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ก็คือ การจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในการสร้างให้เกิดความรู้สึกร่วมของผู้เรียน เช่น การจัดบรรยากาศให้เกิดการคิดและแลกเปลี่ยน ซึ่งในห้องอาจไม่มีโต๊ะ-เก้าอี้ แต่เป็นการนั่งสบายๆ ตามเบาะลม  สนามกลางแจ้ง การบรรยายก็มีการกระตุ้นโดยการใช้บทเพลงหรือภาพ เพื่อให้เกิดความคล้อยตามในเนื้อหา เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 503572เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2012 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2012 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท