นักกิจกรรมบำบัดป้องกันอาการของโรคทางจิตเวชร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างไร


การป้องกันอาการของโรคทางจิตเวชร่วมกับสหวิชาชีพ

นักกิจกรรมบำบัดป้องกันอาการของโรคทางจิตเวชร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างไร

     ในยุคปัจจุบันมีผลกระทบมากมายที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชนในปัจจุบันดังนั้นการป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้นำไปสู่อาการของโรคทางจิตเวช คือการจัดการความเครียด การจัดการตนเองให้เหมาะสม

    การส่งเสริมและป้องกันที่ดีที่สุดต้องมีการร่วมมือกับสหวิชาชีพเพื่อเป็นการระดมความคิดจากหลายๆ มุมมองเพื่อให้ได้ประโยชน์ที่ดีที่สุดต่อผู้รับบริการ ซึ่งวิธีการแต่ละวิธีการต้องมีความสอดคล้องและมีเป้าประสงค์เดียวกันของแต่ละสหวิชาชีพ คือการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้รับบริการ นักกิจกรรมบำบัดจึงมีบทบาทในการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพเพื่อป้องกันอาการของโรคทางจิตเวช อาทิ เช่น

- การส่งเสริม และป้องกันปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกายของผู้รับบริการ (Health promotion) เนื่องจากปัญหาทางสุขภาพร่างกายส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพจิตใจ ทำร่วมกับทีมสหวิชาชีพต่างๆ เช่น นักสาธารณสุข แพทย์ พยาบาล เช่นในการลงชุมชนให้ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

- ส่งเสริมและให้ความรู้เรื่องการจัดการความเครียด (coping skill)ถือว่าเป็นวิธีการที่ช่วยแก้ปัญหาจากต้นเหตุที่จะนำไปสู่โรคทางจิตเวชได้ อาจจะทำร่วมกับทีมอาสาสมัครชุมชน หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อยู่ในชุมชนเพื่อเป็นการใกล้ชิดกับผู้บริการมากที่สุด

- ส่งเสริมทักษะและความสามารถในการจัดการตนเอง (self management)

- ส่งเสริมการทำกิจกรรมที่สามารถเพิ่มแรงจูงใจในการดำเนินชีวิต เพื่อการมีชีวิตที่มีเป้าหมาย 

- การทำ KM หรือการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้กับทีมสหวิชาชีพเพื่อหาแนวทางการป้องกันที่เหมาะสมกับผู้รับบริการ

- การปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะของอาการทางโรคจิตเวช

หมายเลขบันทึก: 503553เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2012 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท