lhin
ณัชชารีย์ ไกรวัฒนภิรมย์

ความรู้สู่ประชาชน


กิจกรรมบำบัดศึกษา

เนื่องจากในชีวิตจริงนั้น การให้การบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการทางการแพทย์อาจยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น ความไม่เพียงพอของจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ ความยากลำบากในการเดินทางของผู้รับบริการ และอีกมากมาย ทำให้การดูแลรักษาอาจไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร จากบันทึกครั้งที่แล้ว ได้กล่าวไปแล้วว่าระบบการให้บริการในประเทศไทยนั้นค่อยข้างมีจำกัดในเรื่องของเวลา เด็กออทิสติกส่วนใหญ่ต้องอยู่กับผู้ดูแล และมีเวลาส่วนน้อยในการฝึก หรือเข้ารับบริการทางด้านการแพทย์ ด้วยสาเหตุตรงนี้ดิฉันจึงเห็นความสำคัญในการนำความรู้มาถ่ายทอด เพื่อให้ผู้ดูแลนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

จากการศึกษาของงานวิจัยชื่อว่า Randomized, Controlled Trial of an Intervention for Toddlers With Autism: The Early Start Denver Model เป็นงานศึกษาเพื่อเปรียบเทียบการใช้กลยุทธ์ในการดูแลเด็กออทิสติก ซึ่งสามารถสรุปความอย่างเข้าใจง่ายได้ว่า

  • การใช้เทคนิค ABA: Applied Behavior Analysis เพื่อการปรับพฤติกรรม เพื่อการเรียนรู้ในเด็กออทิสติก โดยตัวผู้ดูแล เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาความสามารถในเด็กออทิสติกได้
  • สามารถนำเทคนิคนี้มาใช้ในขณะที่เด็กทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ทุกสถานการณ์ โดยเน้นที่สถานการณ์ความเป็นจริง ให้เด็กได้เรียนรู้การปรับตัว
  • สอนให้เกิดการเรียนรู้ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร การเรียนรู้กับกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ในบริบทจริง

กล่าวได้อย่างง่ายๆว่า เด็กออทิสติกนั้นเนื่องจากมีปัญหาในการเรียนรู้และการสื่อสาร ทำให้ปัญหาของผู้ดูแลส่วนใหญ่คือ เราจะสื่อสาร หรือสอนพวกเขาให้ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตเหล่านั้นได้เองอย่างไร ซึ่งในงานวิจัยได้กล่าวว่า การที่ผู้ดูแลจับให้เด็กทำในสถานการณ์จริง การฝึกเด็กบ่อยครั้งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถปรับตัวได้ดีกว่า การที่เอาแต่พร่ำบอก หรือทำให้ดู เช่น การที่เราจะให้เขาเรียนรู้การแต่งตัวเอง ถ้าเราพูดกับเขาจะทำให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ได้อยากกว่าที่เราใช้วิธีการจับให้เขาใส่เสื้อ จับมือเขาทำ นำมือเขาไปจับที่เสื้อ และนำเสื้อมาใส่ที่ศีรษะ โดยผ่านการเรียนรู้จับทำของเรา เมื่อบ่อยครั้งเข้า สิ่งเหล่านี้จะทำให้เขาเกิดการเรียนรู้และมีความสามารถที่เพิ่มขึ้น มากกว่าการที่เราเอาแต่พร่ำสอน หรือการทำตัวอย่างให้ดู โดยเราเน้นที่ว่าทำในบริบทจริง คือฝึกการใส่เสื้อผ้าในตำแหน่งหน้าตู้เสื้อผ้า หรือหน้าห้องน้ำจริงๆ (ในสถานที่ที่เขาควรจะทำ) ฝึกการทางอาหารบนโต๊ะทานอาหารที่อยู่ในห้องครัวจริงๆ มากกว่าการฝึกในห้องบำบัด ฝึกให้เขาอาบน้ำกับห้องน้ำจริงๆ มากกว่าการให้จำลองสถานการณ์ ฝึกให้เขาออกไปเรียนรู้การเล่นกับเพื่อนในสนามเด็กเล่นจริงๆ มากกว่าการทำกิจกรรมกลุ่มในห้องบำบัด จะช่วยเด็กให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีมากขึ้นคะ

หมายเลขบันทึก: 503540เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2012 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท