ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

วิชาชีพการโรงแรมและการท่องเที่ยวกับอาเซียน


สำหรับบุคลากรในสาขาการท่องเที่ยวของประเทศไทย ยังมีความอ่อนในด้านทักษะของการใช้ภาษาต่างประเทศ และภาษาของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน

วิชาชีพการโรงแรมและการท่องเที่ยวกับอาเซียน

ประเทศไทยมีรายรับจากธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและโรงแรมสูงเป็นอันดับต้นๆ ในกลุ่มอาเซียน   ตามเอกสารรายงานของ World Economic Forum เรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโลกปี 2008-2009 พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไทยส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการและการทำตลาด อีกทั้งสินค้าท่องเที่ยวของไทยก็มีความโดดเด่นมิใช่น้อย  ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม มาตรฐานในระดับสากลของโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ขณะเดียวกันโรงแรมที่พักของไทยก็มีหลายรูปแบบให้เลือกสรร ภายใต้ระดับราคาที่หลากหลาย อีกทั้งอาหารไทยเองก็มีความโดดเด่นด้านรสชาติและวิธีการปรุง  รวมถึงการบริการของไทยก็เป็นไปด้วยไมตรีจิตที่ดีเยี่ยม  (อ้างอิงจาก ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย )

สำหรับบุคลากรในสาขาการท่องเที่ยวของประเทศไทย ยังมีความอ่อนในด้านทักษะของการใช้ภาษาต่างประเทศ และภาษาของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน

ด้านการฝึกอบรมในวิชาชีพสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ยังไม่ครอบคลุม  จึงทำให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานและสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดทำ MOU เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาฝีมือแรงงงานในด้านนี้ให้มากขึ้น โดยมีการกำหนดระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ.2555-2557) ซึ่งทำให้มีการจัดทำและพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงาน ไม่ว่าแรงงานเก่าและแรงงานใหม่ ให้มีความสอดคล้องกับตลาดทางด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

กลุ่มอาเซียนกับการลงนามข้อตกลงด้านการเคลื่อนย้ายบุคลากรวิชาชีพการโรงแรมและการท่องเที่ยว 32 ตำแหน่งงาน  โดยมีการแบ่งเป็น 2 สาขา คือ 1.สาขาด้านโรงแรม มี 4 แผนก ได้แก่ แผนกต้อนรับ แผนกแม่บ้าน แผนกอาหาร และอาหารกับเครื่องดื่ม  2.สาขาด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ แผนกนำเที่ยวและแผนกบริหารธุรกิจนำเที่ยว ในสาขาที่พักและการเดินทาง ส่งผลให้บุคลากรด้านการท่องเที่ยวสามารถที่จะเดินทางไป ทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียน ได้อย่างเสรีดังนั้นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของไทย ให้มีสมรรถนะและศักยภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล รองรับการเคลื่อนย้ายบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวเสรีอาเซียน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกภาคส่วน  ที่เกี่ยวข้องควรมีความร่วมมือ เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยวให้มีสมรรถนะสูงสุดตามที่อาเซียนได้กำหนดไว้ร่วมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ( หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย,ประจำวันที่ 23 มีนาคม 2555) ตำแหน่งงาน 32 ตำแหน่ง

จากการสำรวจพบว่า โดยภาพรวม แรงงานไทยด้านท่องเที่ยว ใน 32 ตำแหน่งงาน ยังมีการขาดแคลนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ   แรงงานใหม่ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาโรงแรมและการท่องเที่ยวยังมีข้อจำกัดในการทำงานที่รู้แต่ทฤษฎี ซึ่งไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้ ฝึกฝนและหาประสบการณ์ในการทำงานไปอีกสักระยะ  อีกทั้งยังปฏิเสธงานในบางตำแหน่งโดยเฉพาะพนักงานระดับปฏิบัติ เช่น งานแม่บ้าน พนักงานซักรีด ซึ่งทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในส่วนนี้  รัฐบาลจึงต้องพัฒนาแรงงานระดับล่างให้ขึ้นมาทำงานส่วนนี้แทน  รวมถึงความอ่อนทักษะด้านภาษาในการสื่อสารกับลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ เป็นต้น

1 มกราคม 2558 ท่านพร้อมหรือยังในการเป็นประชาคมและประชาชนชาวอาเซียน ?

หมายเลขบันทึก: 503404เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2012 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2012 08:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท