อุปกิเลส


อุปกิเลส

หมออนามัย นายอานนท์ ภาคมาลี

อุปกิเลส (อ่านว่า อุปะกิเหลด) แปลว่า ธรรมชาติที่เข้าไปทำให้ใจเศร้าหมอง, เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง หมายถึง สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่แจ่มใส ทำให้ใจหม่นไหม้ ทำให้ใจเสื่อมทราม กล่าวโดยรวมก็คือสิ่งที่ทำให้ใจสกปรก ไม่สะอาดบริสุทธิ์นั่นเอง อุปกิเลส แสดงไว้ 16 ประการอุปกิเลส คือธรรมชาติที่ทำให้จิตใจของเราเศร้าหมองง กิเลสหรืออกุศลมูล อันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะมีอยู่ด้วยกัน16 อย่างนะครับ เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง 3 ตัวนี้จะร้ายหน่อยนะครับ
อธิบายคร่าวๆนะครับบุญรักษานะครับ
อุปกิเลส คือ อาการของกิเลสที่แตกตัวออกมาเป็นอาการต่างๆ ถึง ๑๖ อาการ (กิเลส คือสิ่งทำจิตให้เศร้าหมอง)อันได้แก่
1. ความเพ่งเล็งอยากได้ไม่เลือกที่ (อภิชฌาวิสมโลภะ) คือ ความละโมบ อยากได้ อยากมี อยากเป็นอย่างไม่รู้จักพอเห็นแก่ได้จนลืมตัว
2. พยาบาท คือ ความคิดร้าย มุ่งจะทำร้ายเขา ใครพูดไม่ถูกใจก็คิดตำหนิเขา คิดจะทำร้ายฆ่าเขาก็มี บางครั้งทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ก็หันมาตำหนิตัวเอง ทำร้ายตัวเอง ตนฆ่าตัวตายก็มี ซึ่งเป็นเพราะอำนาจพยาบาทเป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
3. ความโกรธ (โกธะ) คือ ความโกรธ มีอะไรมากระทบก็โกรธ เป็นลักษณะโกรธง่าย แต่เมื่อหายแล้วก็เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือ ไม่ผูกใจเจ็บ ไม่พยาบาท เป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
4.การผูกใจเจ็บ(อุปนาหะ)
คือ การผูกโกรธ ใครพูดอะไรทำอะไรให้เกิดความโกรธแล้วจะผูกใจเจ็บ เก็บไว้ ไม่ปล่อย ไม่ลืม เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น กระทบอารมณ์เมื่อไร ก็เอาเรื่องเก่ามาคิดรวมกัน คิดทวนเรื่องใดอดีตว่าเขาเคยทำไม่ดีกับเราขนาดไหนเป็นอาการอย่างหนึ่งของโทสะ
5. การหลบหลู่บุญคุณ (่ (มักขะ) คือ การลบหลู่คุณท่าน ปิดบังความดีของผู้อื่น ลบหลู่ความดีของผู้อื่น เช่น เขาให้ของแก่เรา แทนที่จะขอบคุณกลับนึกตำหนิเขาว่า เอาของไม่ดีมาให้ หรือ เมื่อมีใครพูดถึงความดีของเขา เราทนไม่ได้ เราไม่ชอบ จึงยกเรื่องที่ไม่ดีของเขามาพูด เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่คนดีถึงขนาดนั้นเป็นต้น
6.ความตีเสมอ(ปลาสะ)
คือ การตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน แต่ชอบยกตัวเองดีหว่าเขา มักแสดงให้เขาเห็นว่าเราคิดเก่งกว่ารู้ดีกว่าถ้าให้เราทำเราจะทำให้ดีกว่าเขาได้
7.ความริษยา(อิสสา)
คือ ความริษยา เห็นเขาได้ดี ทนไม่ได้ เมื่อเห็นเขาได้ดีมากกว่าเรา เขาได้รับความรักความเอาใจใส่มากกว่าเรา เรารู้สึกน้อยใจ อยากจะได้เหมือนอย่างเขา ความจริงเราอาจจะมีมากกว่าเขาอยู่หรือ เรากับเขาต่างก็ได้รับเท่ากันแต่เราก็ยังเกิดความรู้สึกน้อยใจทนไม่ได้ก็มี
8.ความตระหนี่(มัจฉริยะ)
คือ ความตระหนี่ ขี้เหนียว เสียดายของ ยึดในสิ่งของที่เราครอบครองอยู่อย่างเหนียวแน่น อยากแต่จะเก็บเอาไว้ไม่อยากให้ใคร
9.ความเจ้าเล่ห์(มายา)
คือ เจ้าเล่ห์ หลอกลวง ไม่จริงใจ พยายามแสดงบทบาทตัวเองเกินความจริง หรือ จริงๆ แล้วเรามีน้อยแต่พยายามแสดงออกให้คนอื่นเข้าใจว่ามั่งมี เช่น ด้วยการแต่งตัว กินอยู่อย่างหรูหรา หรือบางกรณีใจเราคิดตำหนิติเตียนเขา แต่กลับแสดงออกด้วยการพูดชื่นชมอย่างมาก หรือบางทีเราไม่ได้มีความรู้มากแต่ขอบคุยแสดงว่ารู้มากเป็นต้น
10.ความโอ้อวด(สาเถยยะ)
คือ การโอ้อวด หลอกลวงเขา ชอบอวดว่าดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา พยายามแสดงให้เขาเห็น เพื่อให้เขาเกิดอิจฉาเราเมื่อได้โอ้อวดแล้วมีความสุข
11.ความหัวดื้อหัวรั้น(ถัมภะ)
คือความดื้อความกระด้างยึดมั่นถือมั่นในตัวเองใครแนะนำอะไรให้ก็ไม่ยอมรับฟัง
12.ความแข่งดี(สารัมภะ)
คือ การแข่งดี มุ่งแต่จะเอาชนะเขาอยู่ตลอด จะพูดจะทำอะไรต้องเหนือกว่าเขาตลอด เช่นเมื่อพูดเถียงกัน ก็อ้างเหตุผลต่างๆนานา เพื่อเอาชนะให้ได้ ถึงแม้ความจริงแล้วตัวเองผิด ก็ไม่ยอมแพ้
13.ความถือตัว
(มานะ)คือความถือตัวทะนงตัว
14.ความดูหมิ่น(อติมานะ)
คือการดูหมิ่นท่านความถือตัวว่าเราดียิ่งกว่าเขาทำให้ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น
15.ความมัวเมา(มทะ)
คือ ความมัวเมา หลงว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาว ยังไม่แก่ ยังไม่ตาย หลงในอำนาจ หลงในตำแหน่ง คิดว่าเราจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปแล้วทำอะไรเกินเหตุ
16.ความประมาทเลินเล่อ(ปมาทะ)
คือความประมาทเลินเล่อไม่คิดให้รอบคอบอาการที่ขาดสติขาดปัญญา
อุปกิเลส เกิดขึ้นมาจากอนุสัย (ความเคยชิน) ของจิตใต้สำนึก ที่มันคอยผลักดันกันเกิดขึ้นมาอยู่เสมอๆเมื่อมีปัจจัยภายนอกมากระทบ
อุปกิเลสก็จัดว่ามีโทษเพราะทำให้จิตเกิดทุกข์
แต่ก็มีประโยชน์โดยอ้อมบ้างเหมือนกัน คือทำให้เรารู้จักทุกข์ เพื่อที่จะได้แสวงหาวิธีการดับทุกข์ เพระถ้าไม่รู้จักทุกข์ก็จะไม่แสวงหาวิธีการดับทุกข์






 





 

หมายเลขบันทึก: 503174เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2012 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ ผมยังมีอีกหลายตัวที่ยังไม่ลงเลย...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท